พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เครื่องมือ สทนช. กำกับน้ำของประเทศ

การถือกำเนิดของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เมื่อปลายปี 2560 เป็นด้วยเหตุผลง่ายๆว่า น้ำเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติ แต่มีหน่วยงานรับผิดชอบมากถึง 38 หน่วย 7 กระทรวง

ใครเป็นผู้นำรัฐบาลย่อมปวดหัวตัวร้อนกับข้อมูลเรื่องน้ำและการบริหารจัดการน้ำของประเทศ รวมไปถึงแผนงาน โครงการต่างๆ ที่นำเสนอเข้ามาในลักษณะต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างเสนอ ต่างคนต่างของบประมาณ

ท้ายที่สุด ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าแผนงาน โครงการต่างๆ มันตอบโจทย์น้ำโดยรวมของประเทศหรือไม่

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรี ต้องการให้มีหน่วยงานเพียงหนึ่งเดียวที่ทำเรื่องนี้โดยตรง โดยบูรณาการทุกเรื่องน้ำเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถบริหารน้ำได้อย่างมั่นใจกว่าที่ผ่านๆ มา

นี่เองเป็นจุดกำเนิดของ สทนช. ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ เคยคิดทำกันตั้งแต่รัฐบาลก่อนๆ แม้กระทั่งในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ก็ทำมาแล้วภายใต้การขับเคลื่อนของกรมทรัพยากรน้ำ  แต่ไม่คืบ จนต้องเปลี่ยนแปลงมาเป็น สทนช. อย่างที่เห็น

สทนช. ถือกำเนิดเร่งด่วนจากมาตรา 44 ชนิดที่ ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ ต้องรีบลุกมารั้งตำแหน่งเลขาธิการ สทนช. ทั้งที่นั่งเก้าอี้อธิบดีกรมชลประทานได้ไม่ถึง 2 เดือนดี

เลือกได้ไม่ผิดคน เพราะเลขาธิการ สทนช. คนแรก ทำให้การควบคุมทิศทางการบริหารน้ำของประเทศเริ่มขยับเข้าที่ อยู่ในร่องในรอย ดีกว่าเดิมที่ต่างคนต่างทำ และทำถูกผิดประการใดก็ไม่มีใครคอยกำกับในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง ส่วนหนึ่งก็เป็นเรื่องเฉพาะด้านที่ต้องอาศัยคนรู้จริงๆ

แน่นอนว่า ใน 38 หน่วยงานย่อมมีม้าพยศอันเป็นความปกติตามธรรมชาติของมนุษย์ ถึงวันนี้ก็ใช่ว่าสงบราบคาบ ซึ่งจะเห็นได้จากผลลัพธ์ของการบริหารจัดการน้ำในหลายพื้นที่

วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดทำโครงการวิจัยเพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบททางความคิดและทัศนคติของหน่วยงานภาครัฐในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำห่งชาติ โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ 520 ตัวอย่าง จากหน่วยงานภาครัฐดังกล่าวได้ข้อสรุปว่า การจัดตั้ง สทนช. ของรัฐบาล เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการน้ำของประเทศทั้งระบบเป็นสิ่งที่เหมาะสม  ควรเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริม กำกับดูแล และเป็นที่ปรึกษาด้านนโยบายเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรน้ำ

ผลวิจัยยังได้กล่าวถึงยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้ง 6 ด้านของรัฐบาล โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ที่ 6 ว่าด้วยการบริหารจัดการ สทนช. ควรเข้ามามีบทบาทสำคัญในการบริหารงานที่มีเอกภาพ มีองค์กร มีกฎหมายรองรับ เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบาย รวมถึงการติดตามประเมินผลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดย สทนช. ต้องเป็นผู้กำกับดูแลและบังคับใช้กฎหมายมากที่สุด ทั้งประเด็นการบริหารจัดการ การกำหนดทิศทาง การจัดทำแผน การจัดทำระบบฐานข้อมูล และให้การสนับสนุนหน่วยงานเกี่ยวข้องมากกว่า 50 หน่วยงาน ใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านข้อมูล ด้านองค์ความรู้และเทคโนโลยี และด้านการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างหน่วยงาน

ผลวิจัยยังระบุต่อไปด้วยว่า เพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพและบรรลุผลตามภารกิจ สทนช. ต้องทำหน้าที่ผลักดันให้เกิดกฎหมาย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารและเป็นที่ยอมรับ และควรทำหน้าที่เน้นหนักด้านการดูภาพรวมของนโยบายการบริหารทรัพยากรน้ำ และบูรณาการร่วมระหว่างหน่วยงาน เพื่อก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ เป็นหนึ่งเดียวของข้อมูลข่าวสารด้านทรัพยากรน้ำของประเทศ และไม่ก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศอีกด้วย

แม้จะเป็นงานวิจัย แต่ลึกลงไปคือการบูรณาการข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ เพื่อเป็นชุดข้อมูลน้ำเดียวกัน และมีกฎหมายรองรับในการปฏิบัติงานที่มากกว่ามาตรา 44  เท่านั้น

ภายในไม่กี่เดือนนี้คาดหมายว่า ร่าง พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พ.ศ…. น่าจะคลอดออกมา เพื่อให้ สทนช. มีอำนาจหน้าที่ที่จะดำเนินการเรื่องทรัพยากรน้ำได้อย่างเต็มที่ และขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศได้อย่างเต็มพิกัดเช่นเดียวกัน

                เป็นผู้กำกับ (Regulator) ได้อย่างสมภาคภูมิ และเป็นหน่วยงานน้ำของชาติ เป็นหน้าตาของประเทศไปในตัวด้วย

 

 

 

 

 

 

 

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…