กรมชลฯเร่งเติมน้ำเขื่อนภูมิพล เพิ่มความมั่นคงลุ่มน้ำเจ้าพระยา

นับแต่เขื่อนภูมิพลเปิดใช้งานในปี 2507 และนับเป็นเขื่อนที่เก็บกักน้ำขนาดใหญ่แห่งแรกของประเทศไทย เขื่อนเอนกประสงค์นี้ก็สร้างสรรค์ประโยชน์มหาศาลตามมา จึงมีการวางแผนเขื่อนสิริกิติ์ต่อ แล้วทยอยสร้างเขื่อนป่าสักฯ และเขื่อนแควน้อยฯ จากวันเริ่มต้นจนถึงวันนี้ เป็นเวลากว่า 54 ปีแล้ว

โครงการผันน้ำเติมเขื่อนภูมิพลไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ หากคิดกันมานานและมีการศึกษาจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศ (ไจก้า) ของญี่ปุ่น แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะถูกต่อต้าน และสถานการณ์น้ำยังไม่วิกฤติเหมือนระยะหลังๆ ที่สะท้อนว่าภาวะความแห้งแล้งรุนแรงอย่างต่อเนื่องยาวนาน

การที่เขื่อนภูมิพลประสบปัญหาวิกฤติน้ำต้นทุน นอกจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาพลอยได้รับผลกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่แล้ว ยังมีประเด็นที่ต้องขบให้แตก เพราะเขื่อนภูมิพลได้รับการออกแบบให้มีความจุกว่า 13,000 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 2. 6 เท่า ของปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยปีละ 5,000 ล้านลูกบาศก์เมตร หมายความว่าออกแบบเผื่อให้มีความจุมากๆ อยู่แล้ว เพื่อเป็นแหล่งน้ำหลักสำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยา

แต่ภายหลังจากที่รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีการขยายระยะเวลาการดำเนินงานของยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ จาก 12 ปี เป็น 20 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2560-2579)  โดยได้วางแผนพัฒนาแหล่งน้ำใหม่ รวมทั้งปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพแหล่งน้ำเดิม โดยโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล เป็นอีกหนึ่งโครงการที่สร้างความมั่นคงของด้านทรัพยากรน้ำของประเทศ และหลังจากกรมชลประทานได้ทำการศึกษาผลกระทบต่างๆ ในทุกๆ ด้านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งคาดว่า โครงการดังกล่าว จะเริ่มดำเนินการได้ภายในปี 2564

ซึ่งจากการศึกษาพบว่า แนวทางที่หนึ่ง คือ การผันน้ำจากลำน้ำยวมตอนล่าง ที่ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งจะมีการสร้างเขื่อนหินถมดาดคอนกรีต เพื่อสูบน้ำไปตามท่ออุโมงค์ความยาวประมาณ 60 กิโลเมตร ไปยังอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนภูมิพล ที่ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนแนวทางที่สอง คือการผันน้ำจากแม่น้ำเมย ไปตามท่ออุโมงค์ความยาวประมาณ 16 กิโลเมตร ลงลำน้ำแม่ตื่นระยะทาง 35 กิโลเมตร เพื่อไปลงอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนภูมิพล

นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ฝ่ายวิชาการ  ระบุว่าคณะผู้เชี่ยวชาญจากทีมที่ปรึกษาได้พิจารณาแล้วเห็นว่า แนวทางการผันน้ำมาจากแม่น้ำแม่ยวมตอนล่างมาเติมในเขื่อนภูมิพล มีความเป็นไปได้มากกว่า แต่เพื่อสร้างความมั่นใจประกอบการตัดสินใจในเชิงนโยบายของรัฐบาล กรมชลประทานจึงได้ทำการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทั้ง 2 แนวทาง เพื่อคัดเลือกแนวทางที่เหมาะสมที่สุด ผลักดันให้เป็นจริง

“แม้การดำเนินโครงการดังกล่าว จะใช้เงินลงทุนที่สูง แต่ให้ผลตอบแทนด้านความมั่งคงของทรัพยากรน้ำแก่ประเทศ โดยจะเพิ่มปริมาณน้ำได้ประมาณ 1,800 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ส่งผลให้เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค ภาคการเกษตร และภาคอุตสาหกรรม ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้ในระยะยาว” รองอธิบดีกรมชลประทาน ระบุ

ทางด้านตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ อย่างนายเจแฮ พิมพ์วรรณธนา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่สวด กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการดังกล่าว หากทางพื้นที่ภาคกลางได้ใช้ประโยชน์จากน้ำคนในพื้นที่ก็ควรได้ใช้ประโยชน์จากน้ำที่ผันไปเช่นกัน โดยต้องการให้สร้างอ่างเก็บน้ำทุกหมู่บ้านเพื่อให้ได้มีน้ำใช้ทุกฤดูกาล นอกจากนี้ในส่วนของราษฏรที่ได้รับผลกระทบทั้งเรื่องที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกิน ถนนหนทาง เจ้าของโครงการควรดูแลและชดเชยให้กับราษฏรที่ได้รับผลกระทบซึ่งเป็นการเสนอแนะที่ทางชุมชนได้แจ้งให้กับเจ้าของโครงการ

โดยเฉพาะโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำแม่ยวม นอกเหนือจากประโยชน์ด้านการเกษตร การผลิตไฟฟ้า การบรรเทาน้ำท่วม ลดปัญหาความแห้งแล้งแล้ว จะผันน้ำไปเติมเขื่อนภูมิพลได้ปีละ 1,800 ล้านลูกบาศก์เมตรผ่านอุโมงค์ส่งน้ำที่เจาะภูเขาและระบบท่อ ความยาวประมาณ 60 กิโลเมตร

เท่าๆ กับยกน้ำจากเขื่อนป่าสัก 2 เขื่อน ไปเทใส่ไห้เขื่อนภูมิพล เรียกความมั่นคงด้านน้ำกลับคืนมาได้ทันที

เมื่อเขื่อนภูมิพลมั่นคง ลุ่มน้ำเจ้าพระยา รวมทั้งกรุงเทพฯ เมืองหลวงที่มีประชากรหนาแน่น 1 ใน 10 ของโลกก็พลอยมั่นคงไปด้วย

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลบูรณาการทุกภาคส่วนจัดการทรัพยากรน้ำ 4 จว.เหนือ

กรมชลฯ จัดปัจฉิมนิเทศจัดทำแผนส่งเสริมความมั่นคงด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ มิติเศรษฐกิจ…

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลบูรณาการทุกภาคส่วนจัดการทรัพยากรน้ำ 4 จว.เหนือ

กรมชลฯ จัดปัจฉิมนิเทศจัดทำแผนส่งเสริมความมั่นคงด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ มิติเศรษฐกิจ สังคม และ…

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …