“บิ๊กฉัตร”สั่งบูรณาการแก้ปัญหาน้ำ ย้ำทุกหน่วยงานร่วมวิเคราะห์วางแผน

รองนายกรัฐมนตรีสั่งให้ทุกหน่วยงานบูรณาการข้อมูลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ และคาดการณ์สภาพอากาศร่วมกันเพื่อให้มีแม่นยำเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ย้ำให้ สทนช.เป็นศูนย์กลางบูรณาการการทำงาน เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศมีประสิทธิภาพสูงสุด แก้ปัญหาท่วม – แล้งได้ทันต่อสถานการณ์

 

นายสมเกียรติ  ประจำวงษ์  เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำครั้งที่ 5/2561 ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ กรมชลประทาน สามเสน ว่า ตามข้อสั่งการของ พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ในการประชุมคณะอนุกรรมการวิเคราะห์ติดตามสถานการณ์และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำครั้งล่าสุดที่ผ่านมา โดยเฉพาะการบูรณาการข้อมูลและวิเคราะห์สถานการณ์ร่วมกัน   เพื่อให้การคาดการณ์สภาพอากาศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน   พร้อมทั้งให้สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.)  เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยา และ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA ) ร่วมกันจัดทำแผนที่พยากรณ์อากาศให้เป็นแผนที่ฉบับเดียวกัน (One Map) เพื่อให้ข้อมูลเป็นเอกภาพ และให้หน่วยงานที่มีอ่างเก็บน้ำในความรับผิดชอบนำแผนที่พยากรณ์อากาศดังกล่าวมา ประกอบการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับตำแหน่งที่ตั้งของอ่างเก็บน้ำแต่ละแห่ง  การให้ทุกหน่วยงานสั่งการให้หน่วยงานในระดับพื้นที่ในสังกัดมีการปฏิบัติงานแบบบูรณาการในทุกๆด้าน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด   การติดตามตรวจสอบระบบการตรวจสอบระบบโทรมาตรให้ใช้งานได้ และให้ติดตั้งระบบโทรมาตรวัดน้ำฝนบริเวณพื้นที่ต้นน้ำสำคัญๆที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติโดยด่วน เช่น เขื่อนแก่งกระจาน เขื่อนขุนด่านปราการชล เป็นต้น ส่วนที่มีอยู่แล้วต้องบำรุงรักษาให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา

สำหรับในเรื่องสถานการณ์น้ำนั้นที่ประชุมได้สั่งการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ทั้ง 35 แห่ง และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ที่มีความจุมากกว่า 50 ล้าน ลบ.ม. โดยจะต้องคาดการปริมาณน้ำไหลเข้า ปริมาณน้ำไหลล้นทางระบายน้ำล้น  พร้อมให้เสนอแผนเผชิญเหตุภาวะวิกฤติ แผนระบายน้ำ ตลอดจนแผนที่แสดงผลกระทบจากการระบายน้ำกรณีระบายน้ำปริมาณต่างๆ   รวมทั้ง ให้บริหารจัดการน้ำอ่างเก็บน้ำที่มีความจุเกิน 80 % และมีระดับน้ำสูงกว่าเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำ  โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบส่งเกณฑ์การควบคุมระดับน้ำอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางให้ สทนช. เพื่อใช้สำหรับติดตามกำกับต่อไป

เลขาธิการ สทนช.กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังได้ให้ทุกหน่วยงานตรวจสอบระบบควบคุม อาคารบังคับน้ำต่างๆ ให้อยู่ในสภาพดีใช้การได้ หากพบว่าชำรุดต้องเร่ง ซ่อมแซมโดยด่วน  และขอให้หน่วยงานทหารให้การสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ทั้งด้านเครื่องกล เครื่องจักร และกำลังพล  พร้อมทั้งให้กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำลงพื้นที่ให้คำแนะนำด้านเทคนิคการดูแลบำรุงรักษา และการบริหารจัดการน้ำอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กที่อยู่ในการดูแลของหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้จัดทำคู่มือ (Check List) ในการตรวจสอบความมั่นคงของอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อให้หน่วยงานท้องถิ่นได้ใช้เป็นคู่มือมาตรฐานในการตรวจสอบ การบำรุงรักษา  และให้กรมทรัพยากรน้ำเชื่อมโยงระบบเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย-ดินถล่มในระบบออนไลน์กับ สทนช. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และจังหวัดในพื้นที่

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้แม้อ่างเก็บน้ำหลายแห่งจะมีปริมาณน้ำค่อนข้างมาก แต่ก็มีอ่างเก็บน้ำจำนวนไม่น้อยที่มีปริมาณค่อนข้างต่ำโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนใต้  พล.อ.ฉัตรชัย จึงได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมและมาตรการรับมือสถานการณ์น้ำน้อยด้วย   โดยให้เตรียมการจัดทำแผนการส่งน้ำและการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง  หากพบว่ามีพื้นที่ที่จะเกิดภัยแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง  ให้ดำเนินการช่วยเหลือโดยเร่งด่วน เช่น การทำฝนเทียม และขอให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร  ดำเนินการสำรวจ ถ้าพบว่าพื้นที่ใดแห้งแล้งก็ขอให้ทำฝนเทียมโดยไม่ต้องรอหน่วยงานร้องขอ

   “รองนายกรัฐมนตรีขอให้ทุกหน่วยงานบูรณาการการทำงานเพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศมีประสิทธิภาพ  เพราะหากการบริหารจัดการดีจะไม่เกิดความเสียหาย หรือหากเกิดความเสียหายประชาชนต้องได้รับผลกระทบน้อยที่สุด และทุกหน่วยงานต้องมีความพร้อมตลอดเวลา หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินจะสามารถร่วมกันหาวิธีการแก้ไขปัญหาได้ทันต่อสถานการณ์ และควรมีแผนการปฏิบัติงานที่ละเอียดรอบคอบ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด” เลขาธิการ สทนช.กล่าวในตอนท้าย

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…