ศูนย์จัดการน้ำในภาวะวิกฤต สร้างเอกภาพข้อมูลน้ำหนึ่งเดียว

ต้องมีใครเอะใจกันบ้างกับการจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤต

ศูนย์นี้เป็นไปตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ถึงรองนายกรัฐมนตรี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ  โดยมอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้องด้านน้ำเป็นผู้ดำเนินการ

            ศูนย์เฉพาะกิจนี้จะดำเนินการภายใต้ข้อมูลชุดเดียวกัน

เป็นเงื่อนไขกำกับที่ไม่อาจมองข้ามได้เลย

สะท้อนว่า ข้อมูลที่ดำรงอยู่มีหลายชุดและไม่ตรงกัน ไม่ว่ารายละเอียดเรื่องน้ำ เรื่องฝน เรื่องขอบเขต และ ฯลฯ จะด้วยเหตุผลใดก็ตามแต่

ว่าไปแล้ว ในประเทศไทยข้อมูลราชการเองก็ไม่ค่อยเป็นที่น่าเชื่อถือนัก โดยเฉพาะในสายตาของภาคเอกชนที่จะใช้ประมวล วิเคราะห์ และตัดสินใจในการขับเคลื่อนธุรกิจการลงทุน นอกจากสัญชาตญาณการลงทุนแล้ว ยังต้องเพิ่มสัญชาตญาณในการวิเคราะห์ข้อมูลถูกต้องอีกด้วย

ข้อมูลไม่ทันสมัยยังพอปรับปรุงได้ แต่ถ้าเป็นข้อมูลยกเมฆหรือข้อมูลลวงที่ใช้กันมายาวนาน เป็นเรื่องที่แก้ไขธรรมดาไม่ได้ คงต้องปฏิวัติกัน

ไหนๆ สทนช. เข้ามารับผิดชอบเป็น Regulator ด้านน้ำทั้งระบบ ก็ควรปฏิรูป ปฏิวัติ เรื่องนี้อย่างจริงจังเสียที

ไม่เช่นนั้น นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เองนั่นแหละจะเหนื่อย และอาจพลั้งพลาดได้ ซึ่งการบริหารจัดการน้ำในภาวะวิกฤติอย่างนี้ คำว่า “พลั้ง” ต้องไม่ให้มี เพราะหมายถึงชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งขณะนี้ยังเข็ดเขี้ยวไม่หายกับมหาอุทกภัย ปี 2554 ที่สร้างความวิบัติมหาศาล

ลำพังเวลานี้ สทนช. เรียกว่า ต้องพึ่งพาข้อมูลจากหน่วยงานอื่นเป็นหลัก  ซึ่งการขอข้อมูลว่ายากแล้ว แต่การได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงความจริงกลับเป็นเรื่องยากยิ่งกว่า

ได้ข้อมูลแล้ว หากไม่ตรวจสอบให้ดีก็จะกลายเป็นข้อมูลลวงที่อาจสร้างความเสียหายใหญ่หลวงตามมา

จะจริงไม่จริง สทนช. น่าจะมีคำตอบในใจระดับหนึ่งว่า ทำไมต้องลงพื้นที่จริงและสอบทานข้อมูลไปด้วย ตรงนั้นเอง “ข้อมูลจริง” จะปรากฏเป็นพยานหลักฐานเชิงประจักษ์โดยเบ็ดเสร็จ  ไม่ต้องโต้แย้งกับใครแต่อย่างใด

การจะมีฐานข้อมูลน้ำที่ถูกต้องชัดเจน ไม่อาจพึ่งพาใครได้ดีเท่าพึ่งตัวเอง ด้วยการเริ่มต้นสร้างศูนย์ข้อมูลน้ำและเกี่ยวกับน้ำ  ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ ทั้งงบประมาณและกำลังคน ซึ่งน่าจะเป็นข้อจำกัดของ สทนช. โดยลำพัง

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) น่าจะรับรู้ถึงสภาพปัญหาเรื่องข้อมูลน้ำได้ในระดับหนึ่ง และเป็นคนผ่าทางตันนี้

ถ้า Regulator อย่าง สทนช. ที่ต้องกำกับ Operator หน่วยงานเกี่ยวกับน้ำ 38 หน่วยงาน แล้วต้องยืมจมูกคนอื่นหายใจ สักวันหนึ่งตัว สทนช. ก็มีโอกาสเป็นฝ่ายสำลักอากาศหายใจไม่ออกเสียเอง

สถานการณ์น้ำในยามวิกฤติอย่างที่เผชิญอยู่ในเวลานี้ จะช่วยทำให้ภาพเลือนของปัญหาค่อยๆ กระจ่างชัดยิ่งขึ้น และช่วยตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่า จะปฏิรูปหรือปฏิวัติข้อมูลน้ำ

เป็นคำตอบแล้วว่า  ทำไมการบริหารศูนย์เฉพาะกิจจัดการน้ำยามวิกฤต ที่นายกรัฐมนตรีสั่งการจัดตั้งขึ้นจึงต้องบริหารด้วย “ข้อมูลชุดเดียวกัน”

 

 

 

 

 

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลบูรณาการทุกภาคส่วนจัดการทรัพยากรน้ำ 4 จว.เหนือ

กรมชลฯ จัดปัจฉิมนิเทศจัดทำแผนส่งเสริมความมั่นคงด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ มิติเศรษฐกิจ…

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลบูรณาการทุกภาคส่วนจัดการทรัพยากรน้ำ 4 จว.เหนือ

กรมชลฯ จัดปัจฉิมนิเทศจัดทำแผนส่งเสริมความมั่นคงด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ มิติเศรษฐกิจ สังคม และ…

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …