ชป.ขยับเร็วผุดชุมชนผู้ใช้น้ำ แก้ปัญหาก่อนสร้างระบบส่งน้ำ

กรมชลประทานรุกชิงลงมือสร้างชุมชนผู้ใช้น้ำเข้มแข็งก่อนสร้างระบบส่งน้ำ แก้ปัญหาเดิมที่จัดตั้งหลังมีระบบส่งน้ำเรียบร้อยแล้ว ระบุเป็นการตอกเสาเข็มสร้างความยั่งยืนให้กลุ่มผู้ใช้น้ำตลอดไป โดยกรมชลประทานถอยออกมาทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง

 

นายสุจินต์ หลิ่มโตประเสริฐ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมชลประทาน เปิดเผยว่า  จากการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำตามพื้นที่โครงการชลประทานต่างๆ พบว่า  การจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำหลังก่อสร้างระบบส่งน้ำแล้ว ก่อให้เกิดข้อขัดแย้งมากมายระหว่างกลุ่มผู้ใช้น้ำด้วยกัน เป็นการปล่อยให้เกิดปัญหาก่อนแล้วตามไปแก้ไข  จึงปรับเปลี่ยนวิธีคิดเป็นสร้างความมั่นคงให้กลุ่มผู้ใช้น้ำก่อนมีระบบส่งน้ำแทน

“เดิมทีเดียว เราขึ้นทะเบียนจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำกลุ่มนั้นกลุ่มนี้ มีรายชื่อและที่อยู่ของสมาชิก แต่หลังจากนั้น เขาทำอะไรก็ไม่ค่อยมีโอกาสรู้ ทำให้การจัดการน้ำมีปัญหา แต่โดยหลักคิดใหม่ เราจะพัฒนากลุ่มผู้ใช้น้ำให้เข้มแข็งก่อนที่จะมีระบบส่งน้ำ โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม กรมชลประทานเองจะถอยออกมาเป็นที่ปรึกษา เป็นพี่เลี้ยงแทน การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่มีประสิทธิภาพยิ่งกว่าเดิม”

ทั้งนี้ กรมชลประทานได้บรรจุแนวคิดนี้ในโครงการวางแผนยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ระดับลุ่มน้ำ โดยมีพื้นที่นำร่องโครงการ 4 แห่ง ประกอบด้วย โครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี โครงการพัฒนาลุ่มน้ำลำเชียงไกร (ตอนล่าง) จ.นครราชสีมา โครงการพัฒนาลุ่มน้ำชี (ตอนบน)  จ.อุบลราชธานี  และโครงการชลประทานขนาดเล็ก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

นายสุจินต์กล่าวด้วยว่า กรณีโครงการอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา ขณะนี้ตัวอ่างเก็บน้ำก่อสร้างแล้วเสร็จ เหลือแต่ระบบส่งน้ำ กรมฯ ได้คัดเลือก ต.แก่งดินสอ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี ซึ่งอยู่ติดเขื่อนเป็นพื้นที่นำร่องจากพื้นที่โครงการกว่า 1 แสนไร่ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อสร้างชุมชนผู้ใช้น้ำเข้มแข็งขึ้นมา โดยมีส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ เอกชน และเกษตรกร ร่วมบรรจุแผนพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวด้วย

“มีการประชุมร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ในจังหวัดกว่า 10 หน่วย แล้วคลี่แผนพัฒนาออกมา ปรากฏว่ามีบางหน่วยงานมีแผนจะพัฒนาในพื้นที่นี้อยู่แล้ว  จึงรวบรวมจัดทำแผนบูรณาการ ซึ่งมีแผนงานด้วยกัน 13 แผน เช่น แผนท่องเที่ยวเชื่อมโยงทั้งตำบล  แผนการปลูกพืชอินทรีย์ สมุนไพร  แผนการดึงลูกหลานกลับบ้าน เป็นต้น”

จากการทำกระบวนการมีส่วนร่วม โดยการเดินสำรวจพื้นที่ทั้งหมด การเขียนแผนที่ทำมือจากสิ่งที่เห็น สร้างความประหลาดใจให้เกษตรกรว่า  เป็นครั้งแรกที่พวกเขาเห็นหมู่บ้านต่างๆ ใน ต.แก่งดินสอ เชื่อมต่อกันด้วยเส้นทางต่างๆ จุดไหนเป็นอะไรและยังมีการรวบรวมประวัติศาสตร์ชุมชน ทำให้รู้รากเหง้าความเป็นมาของชุมชน  ซึ่งมีทั้งคนในพื้นที่และคนจากภาคอีสานเข้ามาเป็นแรงงานรับจ้างและหักร้างถางพงสร้างที่ทำกิน การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ทำให้เห็นว่า การปลูกข้าวทำไปเพื่อใช้หนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) โดยที่ชาวนาต้องซื้อข้าวกิน และหันไปปลูกพืชอื่นแทนนาข้าวเกือบทั้งหมด

 

“จากการจัดทำร่างแผนพัฒนาพื้นที่ ต.แก่งดินสอ 13 แผน สุดท้ายก็จะไปจบลงที่แหล่งน้ำอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดาเป็นคำตอบสุดท้าย เพราะมันโยงถึงน้ำกันหมด  เกษตรกรจะใช้ประโยชน์จากน้ำตอบสนองแผนต่างๆ อย่างไร ปริมาณน้ำเพียงพอหรือไม่ในอนาคต 10-20 ปีข้างหน้า สรุปคือต้องบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอ กลุ่มผู้ใช้น้ำต้องพัฒนากลุ่มให้เข้มแข็งถึงจะบรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนาได้”

นายสุจินต์กล่าวทิ้งท้ายว่า เมื่อกลุ่มผู้ใช้น้ำเข้มแข็งก็จะสามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้น้ำต่อยอดการปลูกพืชเพิ่มมูลค่าดียิ่งขึ้น และเกิดความหวงแหนชุมชนจากการได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชน

 

 

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลบูรณาการทุกภาคส่วนจัดการทรัพยากรน้ำ 4 จว.เหนือ

กรมชลฯ จัดปัจฉิมนิเทศจัดทำแผนส่งเสริมความมั่นคงด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ มิติเศรษฐกิจ…

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลบูรณาการทุกภาคส่วนจัดการทรัพยากรน้ำ 4 จว.เหนือ

กรมชลฯ จัดปัจฉิมนิเทศจัดทำแผนส่งเสริมความมั่นคงด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ มิติเศรษฐกิจ สังคม และ…

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …