สัญจร “ราชธานีเจริญศรีโสธร” บูรณาการแก้ปัญหาน้ำท่วม-แล้ง

การประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร “ราชธานีเจริญศรีโสธร” ในกลุ่ม 4 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ซึ่งประกอบด้วย อุบลราชธาน อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และ ยโสธร ระหว่าง 23-24 กรกฎาคม 2561

ในประเด็นการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และแก้ไขปัญหาอุทกภัย ทางเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ แจงว่า มีการขอรับสนับสนุนโครงการการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร จำนวน 40 โครงการ และการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัย จำนวน 5 โครงการ โดยโครงการต่าง ๆ ที่กลุ่มจังหวัดเสนอต่างสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์น้ำ และอยู่ในกลุ่มเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ในแผนแล้ว


            สำหรับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำปี 2561-2565 มีโครงการที่จะดำเนินการรวม 538 โครงการ  โดยเฉพาะปี 2562  มีจํานวน 224 โครงการ วงเงินลงทุนกว่า 2,600 ล้านบาท ประชาชนจะได้รับประโยชน์กว่า 7,500 ครัวเรือน

เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ยังได้กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาและจัดการน้ำ ว่า รัฐบาลได้วางแผนงานที่จะพัฒนาทรัพยากรน้ำในพื้นที่ 4 จังหวัดกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2  เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ และปัญหาน้ำท่วม ตามยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำปี 2561-2565  จํานวน 538 โครงการ เมื่อดําเนินการแล้วเสร็จ สามารถเพิ่มความจุเก็บกักรวม 38.93 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) พื้นที่รับประโยชน์ 40,035 ไร่ ประชาชนรับประโยชน์ 79,556 ครัวเรือน ซึ่งมีโครงการสำคัญ คือ โครงการจิตอาสาเพื่อการพัฒนาลําน้ําบนวิถีชีวิตแห่งความพอเพียงเพื่อประโยชน์ และความสุขของประชาชน ในจังหวัดยโสธร ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ด้วย

สำหรับโครงการสำคัญๆ ที่จะดำเนินการ เป็นโครงการของกรมชลประทาน เช่น  โครงการประตูระบายน้ำลำเซบก จังหวัดอำนาจเจริญ  โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยขะยุง จังหวัดศรีสะเกษ  โครงการประตูระบายน้ำห้วยขุหลุ จังหวัดอุบลราชธานี  โครงการประตูระบายน้ำลำชีหลง  จังหวัดยโสธร  โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยบอน  จังหวัดอุบลราชธานี  โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยสังกด  จังหวัดศรีสะเกษ   โครงการประตูระบายน้ำห้วยที  จังหวัดอุบลราชธานี  โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยลำเซ จังหวัดยโสธร  เป็นต้น ส่วนโครงการที่จะดำเนินการโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง เช่น   โครงการระบบป้องกันน้ำท่วม พื้นที่ชุมชนเมืองศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ ระยะที่ 1 และระยะที่ 2   จังหวัดศรีสะเกษ  โครงการระบบป้องกันน้ำท่วม พื้นที่ชุมชนกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นต้น

“ตั้งแต่ปี 2557-2560 ในพื้นที่ 4 จังหวัดดังกล่าว มีการพัฒนาโครงการขนาดเล็ก รวม 1,131 โครงการ เพิ่มความจุเก็บกักรวม 195.69 ล้าน ลบ.ม.มีพื้นที่รับประโยชน์ 673,177 ไร่ มีประชาชนได้รับประโยชน์ทั้งหมด 245,961 ครัวเรือน”เลขาธิการ สทนช.ระบุ

            ขณะที่การประชุมคณะกรรมการกลุ่มเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 ร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ และให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) บูรณาการแผนงานบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่เป็นระบบ โดยเร่งศึกษาสำรวจเส้นทางน้ำธรรมชาติทั้งจากลำน้ำชี ลำเซบาย และลำเซบก ซึ่งสอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศจากด้านตะวันตกสู่ตะวันออก ที่ปัจจุบันอาจประสบปัญหาตื้นเขิน และขาดความต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายในการใช้เป็นทางระบายน้ำออกจากพื้นที่ ในขณะเดียวกันก็ใช้เก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ทั้งนี้ โครงการที่มีความพร้อม รัฐบาลพร้อมที่จะสนับสนุนงบประมาณดำเนินการภายในปี 61 นี้ โดยไม่ต้องรอโครงการขนาดใหญ่ ที่จะต้องศึกษาเชื่อมโยงกันอย่างรอบคอบ

  “สทนช.จะเร่งดำเนินการตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี และดำเนินการตรวจสอบสถานะของโครงการฯ ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณของกลุ่มจังหวัดไม่ให้เกิดความทับซ้อนกันระหว่างหน่วยงานปฏิบัติ ซึ่งจะเร่งสำรวจและจัดประชุมบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่และจัดทําแผนงานร่วมกันโดยเร็ว เพื่อให้สามารถพิจารณาให้การสนับสนุนงบประมาณได้ชัดเจน “ เลขาธิการ สทนช.กล่าว

สำหรับแผนหลักการแผนพัฒนาด้านทรัพยากรน้ำในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอํานาจเจริญ ประกอบด้วย  1.โครงการจัดหาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน จำนวน 40 โครงการ แบ่งเป็น โครงการแก้มลิง 25 โครงการ  โครงการอาคารบังคับน้ำ 8 โครงการ   โครงการฝาย 3 โครงการ โครงการระบบสูบน้ำด้วยโซล่าเซลล์ 3 โครงการ และโครงการระบบกระจายน้ำเขื่อนลําเซบาย จังหวัดอํานาจเจริญ  1 โครงการ

2.โครงการระบบป้องกันปัญหาอุทกภัย 5 โครงการ แบ่งเป็นประตูระบายน้ำ 4 โครงการ   และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายนํ้าและบริหารจัดการน้ำลําห้วยคล้า อีก 1 โครงการ

3.โครงการศึกษาความเหมาะสม (FS) 5 โครงการ  ได้แก่ โครงการทางผันน้ำฝั่งขวาลําน้ำมูลเพื่อบรรเทาอุทกภัย จังหวัดอุบลราชธานี  โครงการการบรรเทาอุทกภัยลําน้ำยังและลําน้ำชีตอนล่าง จังหวัดยโสธรและร้อยเอ็ด  โครงการการบรรเทาอุทกภัยและเพิ่มพื้นที่ชลประทานลําเซบาย จังหวัดอํานาจเจริญ  โครงการการบรรเทาอุทกภัยและเพิ่มพื้นที่ชลประทานลําเซบก จังหวัดอํานาจเจริญ  และโครงการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมชุมชนเมืองยโสธร

 

 

 

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลบูรณาการทุกภาคส่วนจัดการทรัพยากรน้ำ 4 จว.เหนือ

กรมชลฯ จัดปัจฉิมนิเทศจัดทำแผนส่งเสริมความมั่นคงด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ มิติเศรษฐกิจ…

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลบูรณาการทุกภาคส่วนจัดการทรัพยากรน้ำ 4 จว.เหนือ

กรมชลฯ จัดปัจฉิมนิเทศจัดทำแผนส่งเสริมความมั่นคงด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ มิติเศรษฐกิจ สังคม และ…

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …