กรมชลเดินหน้าแก้น้ำท่วมตรัง ผุด ปตร. กั้นคลองระบายน้ำ


       สืบเนื่องจากปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่ที่เกิดขึนเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2531 ในลุ่มน้ำตรัง- ปะเหลียนทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินและความเป็นอยู่ราษฎรในพื้นที่เป็นอย่างมาก
       ต่อมาพระครูปัญญาวัชราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดนาเมืองเพชร ต้าบลนาโต๊ะหมิง อ้าเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง มีลิขิตเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2554 ขอให้นำความกราบบังคมทูล พระกรุณา ขอพระราชทานโครงการก่อสร้างฝายน้ำล้นและขุดคลองสายใหม่ เพื่อช่วยเหลือราษฎรตำบลนาโต๊ะหมิง และต้าบลหนองตรุด อำเภอเมืองตรัง ซึ่งประสบความเดือดร้อนจากอุทกภัย

       สำนักงาน กปร. ได้ขอให้ กรมชลประทานพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริง ทางกรมชลประทาน จึงให้หน่วยงานในพื้นที่เข้าตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว เล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาอุทกภัย และพอมีความเป็นได้ จึงแจ้งให้สำนักบริหารโครงการพิจารณาทบทวนผลการศึกษาเดิมและพิจารณาศึกษาความเหมาะสมของโครงการใหม่อีกครั้ง จึงได้จัดทำแผนงานการศึกษาในปีงบประมาณ 2556 และจัดทำรายงานวางโครงการ “ โครงการระบบระบายน้ำแม่น้ำตรัง จังหวัดตรัง” และได้อนุมัติเปิดโครงการเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2557

       นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ระบุว่า ลุ่มน้ำตรัง มีแม่น้ำตรังเป็นแม่น้ำสายหลัก เริ่มจากบริเวณอำเภอทุ่งสง นครศรีธรรมราช ไหลลงมาตามแนวเหนือใต้ ลงสู่ทะเลอันดามัน ความยาว 130 กม. ช่วงกลางของแม่น้ำตั้งแต่อำเภอห้วยยอด ถึงจังหวัดตรัง มีที่ราบเป็นนาผืนใหญ่หลายแห่ง ซึ่งมักจะมีน้ำท่วมเป็นเวลานาน ช่วงล่างของแม่น้ำ จากจังหวัดจนถึงปากแม่น้ำ เป็นช่วงไหลลงทะเล มีความคดเคี้ยวมาก ทำให้ระบายน้ำได้ช้า จึงเกิดน้ำท่วมตามที่ราบของลำน้ำ หากฝนตกติดต่อกัน จะเกิดปัญหาน้ำท่วมบริเวณอำเภอห้วยยอดไปจนถึงปากน้ำ

       สำหรับการแก้ปัญหานั้น กรมชลประทานจึงทำโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตรัง ปะเหลียน โดยขุดลอกและขยายลำน้ำเดิม การขุดคลองผันน้ำจากหมู่ 1 ตำบลหนองตรุด ความยาว 7.55 กม. มาถึงบ้านทำเล ต.นาโต๊ะหมิง อ.เมือง โดยจะก่อสร้างประตูระบายน้ำ ขนาด 12.50×5.00 ม.และก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ข้ามสะพานคลองผันน้ำ จำนวน 6 แห่ง
       โดยวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ เพื่อบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ของตำบลหนองตรุด, ตำบลนาโต๊ะหมิงและตำบลบางรักในเขตอำเภอเมือง จ.ตรัง คิดเป็นพืนที่ 10,525 ไร่ เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตรและการอุปโภค-บริโภค ในฤดูแล้งได้ประมาณ 3.2 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับประโยชน์จากโครงการฤดูฝนประมาณ 10,000 ไร่ และฤดูแล้งประมาณ 3,000 ไร่ และในช่วงฤดูแล้งเป็นแหล่งน้ำต้นทุนในการผลักดันการรุกตัวของน้ำเค็ม เพื่อรักษาระบบนิเวศน์ ช่วยผลิตน้ำประปาปีละ 1.74 ล้านลูกบาศก์เมตร

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลบูรณาการทุกภาคส่วนจัดการทรัพยากรน้ำ 4 จว.เหนือ

กรมชลฯ จัดปัจฉิมนิเทศจัดทำแผนส่งเสริมความมั่นคงด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ มิติเศรษฐกิจ…

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลบูรณาการทุกภาคส่วนจัดการทรัพยากรน้ำ 4 จว.เหนือ

กรมชลฯ จัดปัจฉิมนิเทศจัดทำแผนส่งเสริมความมั่นคงด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ มิติเศรษฐกิจ สังคม และ…

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …