เมืองทุเรียนแห่งอีสานใต้ ดึงท่องเที่ยวแห่ ซื้อ ชิม จอง

   ในยุคทุเรียนฟีเว่อร์ ถนนทุกสายมุ่งไปที่ศรีสะเกษ โดยเฉพาะ3 อำเภอที่กำหนดเป็นสินค้าGI สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ทุเรียนภูเขาไฟ ได้แก่ อ.ขุนหาญ อ.กันทรลักษ์ และอ.ศรีรัตนะ เท่านั้น

พันธุ์ทุเรียนภูเขาไฟGI ก็จำกัด3 สายพันธุ์คือหมอนทอง ชะนีและก้านยาว เท่านั้น พ้นจากนี้ไม่ใช่ทุเรียนภูเขาไฟGI ของแท้

ใน 3 อำเภอ พื้นที่ปลูกทุเรียนมากได้แก่ ขุนหาญกันทรลักษ์และศรีรัตน์ รวมๆกันแล้วไม่เกิน 10,000 ไร่

ปี 2561 นายสมเกียรติ ศรีขาว นายอำเภอกันทรลักษ์ เล่าว่า เฉพาะอ.กันทรลักษ์มีการขยายพื้นที่ปลูกทุเรียนจาก2,400 ไร่เป็น 4,400 ไร่ เพิ่มขึ้นเกือบ 100% เฉพาะส่วนที่แปลงจากสวนยางพารา มาเป็นสวนทุเรียนประมาณ 2,900 ไร่

หากมีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยขะยุง ต.ละลาย อ.กันทรลักษ์ ความจุ 40 ล้านลูกบาศก์เมตร เชื่อว่า จะมีส่วนทำให้เกษตรกรตัดสินใจขยายพื้นที่มากกว่านี้

   “ปกติแถบนี้ ชาวสวนใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติและขุดบ่อใช้น้ำใต้ดิน ถ้ามีแหล่งน้ำต้นทุนจากอ่างเก็บน้ำห้วยขะยุง เท่ากับมีความมั่นคงเรื่องน้ำมากขึ้น”

เป็นทิศทางเดียวกับกรมชลประทานอย่างนายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ ระบุว่า น้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยขะยุง นอกจากใช้กับพืชทั่วไปแล้ว ยังจะใช้สำหรับพืชเศรษฐกิจที่มีมูลค่าอย่างทุเรียน

สำหรับ อ.กันทรลักษ์มีพื้นที่ปลูกทุเรียน 3 ตำบล ได้แก่อ.ตระกาจ ต.ละลายและต.ภูเงิน

นายอำภอกันทรลักษ์ กล่าวด้วยว่า เรื่องตลาดสำหรับทุเรียนศรีสะเกษไม่น่าห่วง เพราะผลผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ และเป็นทุเรียนที่แจ้งเกิดในตลาดได้แล้ว แต่สิ่งที่ต้องห่วงคือคุณภาพทุเรียน ซึ่งยอมรับว่าที่ผ่านมามีการตัดทุเรียนอ่อนขายเช่นกัน เพราะราคาทุเรียนปีนี้ สูงถึง140-150 บาท/กิโลกรัม เทียบกับ 70-80 บาท/กิโลกรัม ซึ่งทางจังหวัดใช้มาตรการขึ้นทะเบียนสวนทุเรียนและใช้ฉลากQR Code เพื่อตรวจดูสอบย้อนกลับว่าเป็นสวนของเกษตรกรรายใด และคืนเงินในกรณีที่ทุเรียนมีปัญหาคุณภาพ แต่จังหวัดเองไม่สามารถไปกำหนดคนขายจากพื้นที่อื่นได้

“ทุเรียนที่นี่ขายดี หมดเร็ว จึงมีคนนำทุเรียนจากที่อื่นเข้ามาขาย ซึ่งควบคุมได้ลำบาก”

นายสมเกียรติกล่าวด้วยว่า จังหวัดศรีสะเกษยังส่งเสริมสวนทุเรียนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เท่าที่ผ่านมาเริ่มเห็นผลชัดเจน มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปในสวน ทั้งชิมทั้งซื้อหรือจองลูกทุเรียน

“อย่างบ้านตระกาจ มีรถเข้าสวนมากมายจนติดยาวถึง2 กิโล เปรียบเทียบในอดีต ชาวสวนเราต้องขนทุเรียนไปขายแข่งกับทึ่อื่น แถมขายไม่ได้ราคาด้วย ตอนนี้ราคาขายที่สวนกิโลละ 150 บาท คนยังแห่เข้ามาซื้อ จนไม่พอขาย”

ถ้าดูจากกระแสทุเรียนฟีเวอร์ ทั้งจากความต้องการบริโภคและความต้องการผลิตจากเกษตรกรแล้ว ศรีสะเกษกำลังก้าวไปสู่เมืองทุเรียนของภาคอีสานอย่างชัดเจน  โดยมีดินภูเขาไฟสีแดงสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เป็นตัวชูโรง และมีแหล่งน้ำต้นทุนที่มั่นคงอย่างอ่างเก็บน้ำห้วยขะยุงเป็นตัวหนุนหลัง เพราะทุเรียนเป็นพืชที่ต้องการน้ำสม่ำเสมอในช่วงติดผลจนเก็บเกี่ยว ไม่มีน้ำก็ไม่มีทุเรียน

ด้วยองค์ประกอบเหล่านี้เอง จึงไม่แปลกใจเลยที่รายได้ต่อหัวของประชากรชาว กันทรลักษ์ ศรีสะเกษ ถึงขยับตัวเลขอย่างก้าวกระโดด ด้วยตัวเลข 64,500 บาทต่อหัวต่อคน 

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลบูรณาการทุกภาคส่วนจัดการทรัพยากรน้ำ 4 จว.เหนือ

กรมชลฯ จัดปัจฉิมนิเทศจัดทำแผนส่งเสริมความมั่นคงด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ มิติเศรษฐกิจ…

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลบูรณาการทุกภาคส่วนจัดการทรัพยากรน้ำ 4 จว.เหนือ

กรมชลฯ จัดปัจฉิมนิเทศจัดทำแผนส่งเสริมความมั่นคงด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ มิติเศรษฐกิจ สังคม และ…

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …