กสอ.มอบรางวัลอุตสาหกรรมต้นแบบ

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) มอบรางวัลแก่กลุ่มอุตสาหกรรมต้นแบบดีเด่นประจำปี 2561 เผยแพร่ผลงานของกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาการรวมกลุ่ม และมีการเติบโตทางธุรกิจตามโมเดลประเทศไทย 4.0

         นายเดชา จาตุธนานันท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า  เพื่อให้การพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างต่อเนื่องมุ่งเน้นพัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมเดิม (Frist S-Curve) ที่มีศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยผลิตในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-Curve) โดยอุตสาหกรรมใหม่หรืออุตสาหกรรมแห่งอนาคตนี้ถือเป็นกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) ภายใต้การส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันและการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศที่มุ่งพัฒนาการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมควบคู่กับการพัฒนาปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบการ เพื่อเป็นรากฐานในการรองรับการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมในอนาคต

“หัวใจของการพัฒนาคลัสเตอร์ คือ การสร้างความร่วมมือบนพื้นฐานของความไว้เนื้อเชื่อใจ โดยผู้ที่เกี่ยวข้องในเครือข่ายคลัสเตอร์จะต้องมีความไว้วางใจ ความเชื่อมั่นระหว่างสมาชิกในกลุ่มมีการประสานแบ่งปันผลประโยชน์ที่ยุติธรรมอันก่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ทุกฝ่าย (Win-Win) ร่วมกันวางแผน กำหนดทิศทาง เป้าหมาย และกลยุทธ์การพัฒนากลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ ตลอดจนทรัพยากรต่าง ๆ ระหว่างกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยรวมของธุรกิจในสาขาอุตสาหกรรมนั้น ๆ โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา สถาบันการเงิน ตลอดจนหน่วยงานวิจัยต่าง ๆ ให้การส่งเสริมสนับสนุนความเข้มแข็งและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ผ่านองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และดิจิทัล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ตลอดจนผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตก้าวไปสู่ประเทศที่มีศักยภาพและสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล” นายเดชา กล่าว

รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับโครงการสร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายคลัสเตอร์อุตสาหกรรมแห่งอนาคต กสอ. มุ่งหวังสร้างความเข้มแข็งและเชื่อมโยงเครือข่ายคลัสเตอร์ในการพัฒนาศักยภาพหรือการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในกระบวนการผลิตหรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ ทำให้ผลิตภาพเพิ่มขึ้นสามารถแข่งขันได้ โดยในปี 2561 ได้ดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูง จำนวน 8 กลุ่ม ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมกว่า 618 ล้านบาท ประกอบด้วย ยอดขายเพิ่มขึ้น 517 ล้านบาท ส่งออกเพิ่มขึ้น 70 ล้านบาท ลดต้นทุน17 ล้านบาท รวมถึงลดการสูญเสียและเกิดนวัตกรรมต้นแบบด้านผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการ จำนวน 12 เรื่อง จาก 8 กลุ่ม อาทิ 1.อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต ผลงานนวัตกรรมคือ Manufacturing Execution System (MES) ระบบการคำนวณที่ใช้ในการผลิต โดยทำงานในรูปแบบ Real time ทำให้สามารถควบคุมองค์ประกอบต่าง ๆ ในการผลิตได้ในเวลาเดียวกัน 2. อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ผลงานนวัตกรรมคือ วัสดุทดแทนกระดูกมนุษย์ในงานทันตกรรม 3. อุตสาหกรรมดิจิทัล จ.เชียงใหม่ ผลงานนวัตกรรมคือ Applicationจัดการระบบภายใน Chiang Mai Digital Hubเป็นต้น

 

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…