สตาร์ทอัพภาคบริการยอดนิยม

 ธนาคารออมสิน สำรวจค่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ Startup พบในภาคบริการ มีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ธุรกิจอยู่สูงกว่าภาคธุรกิจอื่น เผยผู้ประกอบการ Startup ยังคงมีข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะจากปัญหาการขาดสภาพคล่อง

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า “ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจ และเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารออมสิน ได้ทำการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ Startup (SSI) เป็นครั้งแรก ภายหลังจากที่ได้มีการจัดทำการประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย (GDP) และดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจฐานราก (GSI) เนื่องด้วยธนาคารตระหนักถึงความสำคัญของผู้ประกอบการ Startup ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนอนาคตของประเทศไทย จึงมีความสนใจจะทำการศึกษาและติดตามความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการในธุรกิจ Startup และจะได้มานำเสนอผลการสำรวจอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ Startup (SSI) ประจำไตรมาส 1 ปี 2561 พบว่า ดัชนี SSI ไตรมาส 1 ปี 2561 อยู่ที่ระดับ 62.16 ซึ่งสูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50 แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการ Startup มีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ทางธุรกิจโดยรวมจากปัจจัยด้านผลประกอบการ ด้านการผลิต และด้านคำสั่งซื้อที่อยู่ในระดับดี โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจบริการ เช่น ธุรกิจการเงิน การขนส่งและ โลจิสติกส์ การศึกษา และการท่องเที่ยว เนื่องจากมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในด้านการตลาด และการให้บริการ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังมีความกังวลเกี่ยวกับต้นทุนของธุรกิจที่ปรับตัวสูงขึ้น

 

สำหรับ SSI ในอนาคตอีก 3 เดือนข้างหน้า ผู้ประกอบการ Startup มีมุมมองต่อภาวะธุรกิจ  Startup   ในภาพรวมดีขึ้นอยู่ที่ระดับ 67.75 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากปริมาณการผลิตและคำสั่งซื้อที่ผู้ประกอบการคาดว่า   จะมีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในธุรกิจการแพทย์/สาธารณสุข ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และธุรกิจการเงิน   อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังคาดการณ์ว่าต้นทุนการประกอบการยังไม่น่าจะลดลงจากปัจจุบัน

เมื่อดูในแต่ละภาคธุรกิจ ได้แก่ อุตสาหกรรม การเกษตร การค้า และบริการ  พบว่า

ผู้ประกอบการ Startup ในภาคบริการ มีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ธุรกิจอยู่ที่ระดับ 68.73 ซึ่งสูงกว่าภาคธุรกิจอื่นที่อยู่ระดับ 57.9-60.5 อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการ Startup ยังคงมีข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะจากปัญหาการขาดสภาพคล่อง การเพิ่มขึ้นของต้นทุน และคู่แข่งขัน รวมถึงการขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือและทักษะเฉพาะทาง

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…