การเคหะลุยโครงการร่วมทุนเอกชนภาคเหนือ

การเคหะแห่งชาติประเดิมลุยภาคเหนือ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการร่วมทุนภาคเอกชน (PPP) 3 รูปแบบ ตอกย้ำความเข้าใจนอกเหนือจากที่เอกชนแสดงความสนใจเข้าร่วมอยู่แล้ว รองประธานหอการค้าเชียงใหม่ตอบรับเป็นสัญญาณที่ดี เติมเต็มข้อจำกัดของผู้ประกอบการ ระบุเชียงใหม่มีศักยภาพความต้องการที่อยู่อาศัยดีมาก

 

นายธัชพล กาญจนกูล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ กล่าวในงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public Private Partnership-PPP) ที่ จ.เชียงใหม่ เมื่อเร็วๆ นี้ว่า เพื่อทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยภาคเอกชน จาก 4 จังหวัดภาคเหนือ ประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง และพิษณุโลก และเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมใน 3 รูปแบบ ได้แก่ โครงการร่วมทุนภาคเอกชน (Joint Investment) มูลค่าโครงการมากกว่า  1,000 ล้านบาทขึ้นไป โครงการร่วมดำเนินกิจการระหว่างภาครัฐและเอกชน (Joint Operation) มูลค่าโครงการน้อยกว่า 1,000 ล้านบาท และโครงการร่วมสนับสนุนภาคเอกชน (Joint Support)

ทั้งนี้ รูปแบบแรกการร่วมลงทุน การเคหะแห่งชาติกำหนดโครงการเชียงใหม่ (หนองหอย) จัดสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 896 หน่วย ในพื้นที่ 52 ไร่ โดยสิ่งก่อสร้างประกอบด้วยคอมมูนิตี้มอลล์ สถานพยาบาล วงเงินลงทุน 5,500 ล้านบาท

รูปแบบที่สอง การร่วมดำเนินกิจการ เปิดให้เอกชนเข้ามาพัฒนาที่อยู่อาศัย เพื่อขายหรือเช่าระยะยาว รวมถึงเช่าจัดประโยชน์ในที่ดินของการเคหะแห่งชาติที่คัดเลือกไว้ 18 โครงการ ในพื้นที่ 767 ไร่ ใน16 จังหวัด โดยภาคเหนือมี 2 โครงการ 39 ไร่ ใน จ.เชียงใหม่ (ดอยสะเก็ด) และ จ.ลำปาง (เคหะชุมชนลำปาง)

รูปแบบที่สาม ร่วมสนับสนุนภาคเอกชน โดยการเคหะแห่งชาติทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาโครงการมุ่งผู้ประกอบการระดับ SME หรือ Start Up พร้อมทั้งวิเคราะห์การตลาด การเงินและสินเชื่อ การบริหารจัดการก่อสร้างโครงการ เป็นต้น มีเอกชนประสงค์เข้าร่วมแล้ว 14 โครงการ ในพื้นที่ 7 จังหวัด โดยในภาคเหนือมีเอกชนยื่นความประสงค์ 3 จังหวัด 9 โครงการ ได้แก่ พื้นที่เชียงใหม่ และเชียงราย จังหวัดละ 2 โครงการ และพิษณุโลก 5 โครงการ

ด้านนายวโรดม ปิฏกานนท์ รองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ภาพรวมของธุรกิจที่อยู่อาศัยในจังหวัดเชียงใหม่มีศักยภาพสดใสมาก เพราะเป็นศูนย์กลางของภาคเหนือ มีผู้คนจากหลายแหล่งโยกย้ายเข้าไปอยู่อาศัยหลายวัตถุประสงค์ ทั้งการศึกษา การท่องเที่ยว การประกอบธุรกิจ  และเพื่อการอยู่อาศัยโดยตรง

“ทุกคนที่ย้ายเข้ามาก็ต้องการที่อยู่อาศัยทั้งนั้น ที่สำคัญเชียงใหม่มีจุดเด่นที่ดึงคนเข้ามาอยู่ได้นานขึ้นกระทั่งมาอยู่อาศัยเป็นการถาวร อย่างนักท่องเที่ยวต่างชาติ เริ่มต้นจากการท่องเที่ยวธรรมดา แล้วกลับมาเที่ยวบ่อยขึ้น อยู่นานขึ้น แล้วก็มาหาซื้อที่อยู่อาศัยในเชียงใหม่ในที่สุด”

นายวโรดมกล่าวว่า การเข้ามาของการเคหะแห่งชาติถือเป็นนิมิตรหมายที่ดีในการมีโครงการลงทุนร่วมภาคเอกชนหลายรูปแบบที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการที่อยู่อาศัยของคนที่อยู่ในเชียงใหม่ได้

“โครงการร่วมทุนโดยการเคหะแห่งชาติ ลงทุนที่ดิน เอกชนลงทุนก่อสร้างก็ช่วยให้แบ่งเบาภาระเอกชนไม่ต้องใช้เงินจำนวนมากลงทุนหาซื้อที่ดิน หรือการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การเคหะแห่งชาติ ก็ได้เปรียบตรงที่มีประสบการณ์ด้านธุรกิจที่อยู่อาศัยมานาน มีข้อมูลเชิงลึก ทั้งทำเล รูปแบบที่อยู่อาศัย จะเป็นบ้าน คอนโดฯ หรือทาวน์โฮม  กำลังซื้อ และการตลาด ในขณะที่ผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภาคเอกชนส่วนใหญ่ยังเป็นรายเล็ก รายกลาง ต้องใช้ประสบการณ์ส่วนตัวในการทำธุรกิจ ซึ่งเป็นข้อจำกัด” นายวโรดม กล่าวทิ้งท้าย

 

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…