กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 เสนอยุทธศาสตร์พัฒนาทั้งโครงสร้างพื้นฐาน รถไฟทางคู่ เด่นชัย-พะยา-เชียงของ สร้างถนนเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน การท่องเที่ยว พัฒนาถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน เกษตรอินทรีย์ เมืองสมุนไพร มูลค่าลงทุนกว่า 3 หมื่นล้านบาท
          พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน เพื่อรับฟังข้อเสนอ ซึ่งมีจุดเด่นด้านการท่องเที่ยว วัฒนธรรมล้านนา ประวัติศาสตร์ ประตูการค้าสู่สากล สินค้าเกษตรอินทรีย์ แต่ยังมีรายได้ต่ำกว่ารายได้เฉลี่ยของประเทศ ภาคเหนือตอนบน 2 มีขนาดเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 11,582 ล้านบาท จากขนาด GDP 192,111 ล้านบาท มีรายได้ต่อหัวเฉลี่ย 82,899 บาทต่อปีต่อคน สถานประกอบการ 2,785 แห่ง มุ่งเน้นเกษตรแปรรูปอาหาร การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ศิลปวัฒนธรรม ภาคเหนือผลิตชา 5 หมื่นไร่ ผลผลิต 48,000 ตันต่อปี จากทั้งหมดที่ไทยผลิต
          กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนจึงเสนอที่ประชุม ด้านโครงสร้างพื้นฐาน รองรับการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่ง และการบริการสาธารณูปโภค เสนอสร้างเส้นทางเชื่อมโยงสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เชื่อมเส้นทาง R3A และ R3B เพื่อให้เส้นทางเชื่อมโยงกับโครงข่ายหลัก จำนวน 14 สายทาง และแผนเส้นทางรถไฟทางคู่ เด่นชัย-พะเยา-เชียงของ การสร้างความร่วมมือกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน GMS และ BIMSTEC การสร้างศูนย์กระจายสินค้า กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนกำนหดงบประมาณปี 61-64 วงเงิน 5,744 ล้านบาท ต้องใช้งบประมาณภาพรวมของกลุ่มภาคเหนือตอนบนกว่า 3 หมื่นล้านบาท
          ส่วนด้านการท่องเที่ยว การพัฒนาเวียงหนองหล่ม อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย มีตำนานเมืองล่ม พื้นที่กว่า 20,000 ไร่ มีความหลากหลายทางธรรมชาติ สถาปัตยกรรมโบราณล้านนา และวัฒนธรรมชาติพันธุ์ เชื่อมโยงถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน แม่สาย-เชียงแสน และการท่องเที่ยวชายแดน
          ด้านการค้าการลงทุน เสนอยกระดับจุดผ่อนปรนบ้านฮวก จังหวัดพะเยา เป็นด่านถาวร การขับเคลื่อนนโยบายเชิงพื้นที่ มุ่งพัฒนาถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จากเหตุการณ์นักฟุตบอลทีมหมูป่าอคาเดมี่ จำนวน 13 คน พลัดหลงภายในถ้ำหลวงดังไปทั่วโลก รองรับเชื่อมโยงการท่องเที่ยว เช่น ถนนทางเข้า ที่จอดรถ และห้องสุขา การพัฒนากว๊านพะเยา เปรียบเสมือนแหล่งชีวิตของชาวพะเยา เป็นแหล่งทรัพยากรประมงที่หล่อเลี้ยงชีวิต สร้างรายได้ให้กับชุมชน จึงเสนอสร้างถนน เขื่อนป้องกันตลิ่ง ไฟส่องสว่าง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และขอให้เร่งรัดดำเนินการก่อสร้างทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ทางหลวงหมายเลข 101 ช่วงน่าน- เฉลิมพระเกียรติ ปัจจุบันก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กข้ามแม่น้ำน่าน ซึ่งเสียหายจากอุทกภัย
          ด้านการเกษตร มุ่งเสริมเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เพิ่มปริมาณการค้าและการบริโภค การรับรองตามมาตรฐาน ผ่านแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทยปี 60-64 สานโครงการเมืองสมุนไพร จนสามารถพัฒนาตำรับยาสมุนไพรที่จำหน่ายและทางการตลาดได้ จึงต้องการใช้นวัตกรรมสมุนไพรให้เป็นไปตามมาตรฐานในระดับสากล ลดปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าต้นน้ำ เพิ่มมูลค่าผลผลิต ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ลดการใช้สารเคมี สร้างความปลอดภัยอาหารเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมการปลูกพืช เศรษฐกิจทดแทนพืชเชิงเดี่ยว เช่น ผักปลอดภัย อะโวคาโด ไผ่ เป็นต้น
          ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ภาคเหนือเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยมากขึ้น จึงเสนอเป็น “เมืองต้นแบบสุขภาวะในผู้สูงวัย Health Aging Smart Cities” โดยให้จังหวัดแพร่เป็นจังหวัดนำร่อง โดยตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก
          ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 เป็นต้นน้ำของประเทศ จึงเสนอก่อสร้างประตูระบายน้ำบ้านสันต้นธงพร้อมระบบส่งน้ำ เพื่อช่วยเหลือพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย ก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำบ้านวังเขียว จังหวัดเชียงราย เพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำอ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ อันเนื่องมาจากพระราชดาริ ขอให้บรรจุโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ฝาย และประตูระบายน้ำ จำนวน 6 โครงการ ไว้ในแผนงานดำเนินการ

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…