ธนาคารเวลา ดันคนสะสมความดี

 

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผุดธนาคารเวลา ดันคนทำความดีสะสม ช่วยผู้สูงวัยที่นอนติดเตียง หรือไปไหนมาไหนไม่ได้เป็นลำดับแรก 

รายละเอียดเรื่องนี้ ธนาภรณ์ พรมสุวรรณ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กล่าวถึงระดับของการเข้าสู่สังคมสูงอายุ(ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) ว่า เมื่อประเทศเรามีประชากรสูงอายุสูงถึงร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ นั่นคือระดับที่สมบูรณ์ แต่อีกสิบกว่าปี หรือในปี 2574 ก็จะขยับขึ้นเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด เมื่อสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 28 พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี จึงมอบให้กรมกิจการผู้สูงอายุ ศึกษารูปแบบธนาคารเวลา ที่ดำเนินการอยู่ในต่างประเทศมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย เพื่อรองรับสังคมสูงวัยโดยเฉพาะ ซึ่งธนาคารเวลานั้น เป็นการสะสมเวลาไว้ในรูปแบบบัญชีส่วนบุคคล เพื่อเบิกออกมาใช้ในยามจำเป็นตอนอายุมากขึ้น หรือช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการเตรียมความพร้อมสู่ “สังคมสูงวัย”

ธนาคารเวลา มีรูปแบบคล้ายคลึงกับงานอาสาสมัครและงานจิตอาสา ที่ทำงานเพื่อสังคมโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ซึ่งธนาคารเวลาในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีรูปแบบน่าสนใจตรงที่กำหนดให้ใครที่มาทำความดีกับผู้สูงอายุสามารถเก็บแต้มไว้ เมื่อเวลาที่ตัวเองสูงอายุจะได้รับการตอบแทนด้วยบริการต่างๆ ที่ต้องการปัจจุบันประเทศไทยได้ประยุกต์ใช้กับ ธนาคารความดี ที่ดำเนินการอยู่แล้วในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 44 แห่ง

“ธนาคารความดี ที่ทำอยู่เป็นลักษณะจิตอาสาไม่ได้มีการสะสมแต้ม แต่คราวนี้จะนำมาถอดเป็นรูปแบบและจำแนกว่ากิจกรรมความดีจิตอาสารูปแบบใดจะนับเป็นคะแนนได้กี่แต้ม เพื่อจะทำให้เป็นมาตรฐาน เหมือนเป็นการนำการให้บริการไปฝากไว้แล้วแลกกับการรับบริการในอนาคต ซึ่งขณะนี้กำลังให้ทดลองทำช่วง 2 เดือนก่อน จากนั้นในเดือนธันวาคม จะนำมาถอดบทเรียนวิเคราะห์ข้อมูลและขยายผลให้มากขึ้น ในปี 2562 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำคู่มือและนำร่องใน 44 อบต.ที่จะดำเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน”

กลุ่มเป้าหมายที่จะทำงานอาสาสมัครธนาคารเวลา เป็นใครก็ได้ไม่จำกัดอายุ ส่วนผู้รับบริการคือ ผู้สูงอายุ ที่ตอนนี้อยากให้เน้นผู้สูงอายุที่ติดเตียง กับติดบ้าน หรือคนที่ไปไหนมาไหนไม่ได้ก่อน ส่วนธนาคารเวลาในพื้นที่กรุงเทพฯนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างคิดระบบที่เหมาะสมที่สุด อาจจะเริ่มใน 2 พื้นที่นำร่อง โดยจิตอาสากลุ่มเป้าหมายอาจเริ่มจากกลุ่มคนทำงานที่มีช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ แต่เหนืออื่นใด เป้าหมายสำคัญของธนาคารเวลาคืออยากให้ทุกคนได้ทำความดี มีจิตอาสา ไม่อยากให้เน้นไปที่แต้มสะสมมากนัก จากที่ผ่านมาจะเห็นว่าคนไทยมีการช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังรับผลตอบแทนอยู่แล้ว แต่ระบบนี้น่าเป็นเพียงส่วนเสริมในการสร้างแรงจูงใจให้คนมุ่งมั่นทำความดีเพิ่มขึ้น

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…