เร่งขยายคลองพลเอกอาทิตย์สกัดน้ำเค็มหนุนทะเลสาบสงขลา

(ชมคลิป คลิกคลิก)

กรมชลประทานเร่งรัดแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำขาดแคลน ในคาบสมุทรสทิงพระ จ.สงขลา ตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการเมื่อครั้งประชุม ครม.สัญจร

นายเฉลิมเกียรติ   คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ กรมชลประทาน ตรวจเยี่ยมโครงการปรับปรุงการบริหารจัดการน้ำคาบสมุทรสทิงพระ จ.สงขลา ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.ระโนด อ.กระแสสินธุ์ อ.สทิงพระ และ อ.สิงหะนคร ส่วนใหญ่ทำนาปลูกข้าว และประสบปัญหาทั้งน้ำท่วมและน้ำขาดแคลน ซึ่งในการประชุม ครม.สัญจร เมื่อปี 2560 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้เร่งแก้ปัญหาโดยเร็ว

ขณะนี้กรมชลประทานได้ขุดขยายคลองเพื่อระบายน้ำจากทะเลสาบสงลาไปสู่ทะเลโดยเร็วในหลายจุดด้วยกัน ซึ่งเป็นคลองสั้น ระบายน้ำได้เร็ว แทนอาศัยการระบายตามเส้นทางน้ำธรรมชาติ ผ่านลงไปปากรอ อ.สิงหะนคร ออกทะเลเพียงจุดเดียว ซึ่งล่าช้า ไม่ทันกับภาวะน้ำหลากท่วมที่ไหลมาจาก จ.นครศรีธรรมราช จ.พัทลุง และ จ.สงขลา มาสมทบที่เดียวกันในทะเลสาบสงขลา

นอกจากนั้น ยังสร้างแนวคันกั้นน้ำบริเวณริมทะเลสาบสงขลา อ.กระแสสินธุ์ เพื่อป้องกันน้ำท่วมเนื่องจากเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ

ส่วนการแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในคาบสมุทรสทิงพระ เนื่องจากไม่มีแหล่งน้ำต้นทุนขนาดใหญ่ กรมชลประทานกำลังเร่งขุดขยายคลองพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก เพิ่มความจุจาก 2 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น 8 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับใช้เพาะปลูกฤดูแล้ง  เนื่องจากน้ำในทะเลสาบสงขลามีค่าความเค็มสูงจากน้ำทะเลที่หนุนขึ้นมา บางครั้งไม่เหมาะสมสำหรับใช้เพาะปลูกพืช

ด้านปลายคลอง พล.อ.อาทิตย์ ที่เชื่อมกับคลองสทิงหม้อเป็นแนวเหนือ-ใต้ ความยาวรวม 70 กิโลเมตรก่อนลงสู่ทะเลนั้น ได้ก่อสร้างประตูระบายน้ำ เพื่อควบคุมการไหลย้อนของน้ำทะเลเข้าสู่คลองที่เป็นน้ำจืด

นายเฉลิมเกียรติเชื่อมั่นว่า  หากปรับปรุงการบริหารจัดการน้ำคาบสมุทรสทิงพระแล้วเสร็จ  จะเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่เกษตรกรในคาบสมุทรได้ดีขึ้นอย่างชัดเจน

ด้านนายประสิทธิ์ ชรินานนท์  ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 16 กล่าวว่า ทะเลสาบสงขลาเป็นแหล่งรวมของน้ำจากหลายจังหวัด ในฤดูน้ำหลากจะมีน้ำจาก จ.นครศรีธรรมราช จ.พัทลุง และจ.สงขลาไหลลงมารวมด้วยปริมาณน้ำจำนวนมาก ส่งผลกระทบทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่คาบสมุทรสทิงพระ จ.สงขลา ประกอบด้วย อ.ระโนด อ.กระแสสินธุ์ อ.สทิงพระ และ อ.สิงหนคร เพราะไม่สามารถไหลลงสู่ทะเลได้ง่ายและโดยรวดเร็ว เนื่องจากมีจุดออกทะเลที่ ต.ปากรอ อ.สิงหนครซึ่งอยู่ด้านใต้สุดเพียงจุดเดียวเท่านั้น

กรมชลประทานจึงมีแผนปรับปรุงขุดลอกคลองเดิม เพื่อที่จะระบายน้ำจากทะเลสาบสงขลาผ่านคาบสมุทรซึ่งระยะทางสั้น เป็นเส้นทางBypass น้ำ ช่วยลดผลกระทบน้ำท่วมคาบสมุทรได้ระดับหนึ่ง นอกจากการสร้างคันกั้นน้ำบริเวณอ.กระแสสินธุ์ และการปรับปรุงอาคารชลประทานต่างๆ

หากแผนงานแก้ไขปัญหาคาบสมุทรสทิงพระดำเนินการแล้วเสร็จ เชื่อว่าจะช่วยลดปัญหาการบริหารจัดการน้ำในคาบสมุทรสทิงพระลงได้เป็นอย่างมาก ทั้งเรื่องน้ำท่วมในฤดูฝนและการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…