ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ แหล่งน้ำต้นทุนคือหัวใจสวน


       นอกจากภาคใต้ ภาคตะวันออกแล้ว ทุเรียนยังโด่งดังในภาคเหนือ ภายใต้ชื่อพันธุ์หลงและหลิน ลับแล จ.อุตรดิตถ์ และภาคอีสาน สายพันธุ์ที่เรียกทุเรียนภูเขาไฟ จ.ศรีสะเกษ
       จ.ศรีสะเกษมีแหล่งปลูกทุเรียนหลัก 3 อำเภอได้แก่ขุนหาญ กันทรลักษ์ และศรีรัตนะ
       ชื่อทุเรียนภูเขาไฟ เป็นสร้อยท้ายนาม เพื่อสร้างจุดขายให้โดดเด่นเป็นพิเศษ สายพันธุ์ที่ปลูกเป็นหมอนทองเป็นหลัก
       ดินภูเขาไฟมีลักษณะดินแดง โปร่ง ระบายน้ำได้ดี มีธาตุอาหาร และมีส่วนช่วยทำให้เกิดคุณภาพพิเศษสำหรับเนื้อทุเรียนว่า กรอบนอก นุ่มใน และกลิ่นไม่แรง

       ว่ากันที่จริง พื้นที่ศรีสะเกษบางส่วนเหมาะแก่การทำสวนผลไม้ กระทั่งทุเรียนก็ปลูกมานานกว่า 20 ปี แต่เพิ่งมาโด่งดังเป็นที่รู้จักในนาทีนี้ภายใต้ชื่อทุเรียนภูเขาไฟ ซึ่งเป็นวิธีการตลาดชาญฉลาดเชิงสร้างสรรค์ดึงความน่าสนใจ บวกกับราคาทุเรียนในระยะ2-3 ปีนี้พุ่งสูง ทำให้เกษตรกรศรีสะเกษจำนวนไม่น้อยแห่กันโค่นยางพาราปลูกทุเรียนกัน
       ราคาขายปลีกทุเรียนปีนี้ทะลุ กิโลกรัมละ 100 บาทเป็น120 -140 บาท ยิ่งทำให้กระแสการปลูกทุเรียนเป็นไปอย่างอึกทึกครึกโครม
       ประมาณกันว่า มีพื้นที่ปลูกทุเรียน 3 อำเภอข้างต้นประมาณ 20,000 ไร่ หรือมากกว่านั้น
       เดินเข้าสวนทุเรียนที่นี่ สภาพบรรยากาศไม่ต่างจากสวนทุเรียนภาคตะวันออกเลย

       นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ได้ระบุถึงการจัดการน้ำในภาคเกษตร ว่า อ.ขุนหาญ อาศัยน้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยทา ความจุ 30 ล้านลูกบาศก์เมตรหล่อเลี้ยงพื้นที่การเกษตรด้านล่าง ส่วนของสวนทุเรียนอยู่ที่สูง ต้องอาศัยสูบน้ำขึ้นไปใช้ แม้มีค่าใช้จ่ายจากค่ากระแสไฟฟ้า แต่เกษตรกรไม่นำพา เพราะรายได้จากสวนทุเรียนยังไงก็คุ้มค่ากว่ามากมาย เป็นการลงทุนที่ "เสียน้อย" แต่ "ได้มาก"

       ขณะที่ทุเรียนขุนหาญได้รับประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำห้วยทา ทุเรียนกันทรลักษ์เองก็ต้องการน้ำเช่นกัน นอกเหนือจากพืชอื่น เช่น ข้าว ข้าวโพด
       ปัจจุบันห้วยขะยุง ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงจุดบรรจบแม่น้ำมูลนับร้อยกิโลเมตรมีฝายชลประทาน 3 ฝาย มีสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าเพียงฝายเดียว แต่ไม่มีระบบส่งน้ำ ฉะนั้น ราษฎรจึงต้องมีภาระค่าสูบน้ำขึ้นมาใช้ อย่างในบริเวณฝายบ้านกระมอล ต.ทุ่งใหญ่ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ มีค่าไฟฟ้าเฉลี่ยไร่ละ 400 บาท ค่อนข้างสูง

       หากมีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยขะยุง ความจุ 40 ล้านลูกบาศก์เมตร ความมั่นคงของน้ำในลุ่มน้ำห้วยขะยุงแห่งนี้ก็จะบริบูรณ์บูรณ์ยิ่งขึ้น นอกจากมีแหล่งกักเก็บน้ำต้นทุนแล้ว ยังมีระบบชลประทานและสถานีสูบช่วยกระจายน้ำได้มากถึง 42,500 ไร่จากเดิมมีพื้นที่ได้รับประโยชน์จากน้ำไม่กี่พันไร่
รวมถึงสวนทุเรียนในอ.กันทรลักษ์ มีโอกาสสร้างความมั่นคงให้กับตัวเอง


       อย่าลืมว่า ทุเรียนช่วงติดผลแล้ว มีความต้องการน้ำอย่างเพียงพอสม่ำเสมอ ไม่เช่นนั้นจะมีปัญหาต่อผลผลิตได้
       ลองนึกภาพดูว่า ยังไม่ทันมีอ่างเก็บน้ำห้วยพะยุง ชาวบ้านก็ลงทุนโค่นต้นยางพาราปลูกทุเรียนกันแล้ว ไม่มีน้ำขลประทานก็อาศัยขุดบ่อสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ ซึ่งจะมีปัญหาในอนาคตเมื่อมีการขยายพื้นที่ปลูกกันมากมาย
       อ่างเก็บน้ำห้วยขะยุงจึงเป็นหนึ่งในความหวังสำคัญสำหรับพื้นที่การเกษตร รวมทั้งสวนทุเรียนภูเขาไฟแห่งศรีสะเกษ

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…