ลุยสร้างแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 9 โครงการ คาดเพิ่มปริมาณน้ำ 379 ล้านลบ.ม.

 รองนายกฯฉัตรชัย ใส่เกียร์เดินหน้าก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ 9 โครงการในปี 62 ยึดตามพื้นที่การแก้ไขอุทกภัยและภัยแล้งอย่างเป็นระบบ (Area Based)ประเดิมลงพื้นที่ติดตามโครงการคลองระบายน้ำบางบาล-บางไทร 25 ก.ค.นี้ พร้อมสั่งทุกหน่วยเฝ้าระวังพายุ “เซินติญ”ใกล้ชิด

พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี  ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญภายใต้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เปิดเผย ว่า ที่ประชุมวันนี้ (18 ก.ค.61) ได้พิจารณาแนวทางเร่งรัดโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญให้เป็นไปตามมติ กนช. ที่ต้องการขับเคลื่อนโครงการสำคัญให้ได้จนถึงขั้นตอนการก่อสร้าง ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดพื้นที่การแก้ไขอุทกภัยและภัยแล้งอย่างเป็นระบบ (Area Based) 66 พื้นที่รวม 29.70 ล้านไร่ พบว่ามีโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญที่สามารถแก้ปัญหาในพื้นที่ซึ่งเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี(ปี2561 – 2580)  รวมทั้งสิ้นกว่า300 โครงการ โดยในช่วงปี2562 – 2565 มีโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญจำนวน 31 โครงการ แบ่งเป็นภาคเหนือ 4 โครงการ ภาคกลาง 13 โครงการ ภาคอีสาน 10 โครงการ ภาคตะวันออก 2 โครงการ และภาคใต้จำนวน 2 โครงการ

ทั้งนี้ โครงการที่รัฐบาลจะเริ่มขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมได้ในปี 62 มีจำนวน 9 โครงการ เมื่อโครงการแล้วเสร็จสามารถเพิ่มปริมาณน้ำได้ 379 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 840,201 ไร่ ได้แก่ 1. โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นครศรีธรรมราช 2. โครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง จ.หนองคาย 3.โครงการประตูระบายน้ำศรีสองรักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เลย 4.โครงการประตูระบายน้ำน้ำพุง-น้ำก่ำ จ.สกลนคร 5.โครงการประตูระบายน้ำบ้านก่อ จ.สกลนคร 6.โครงการอ่างเก็บน้ำลำน้ำชี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ชัยภูมิ 7.โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองชัยภูมิ (ระยะที่ 1) จ.ชัยภูมิ 8.โครงการอ่างเก็บน้ำลำสะพุงตอนล่าง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ชัยภูมิ  และ 9. โครงการคลองระบายน้ำ บางบาล-บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา

ด้านนายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมได้มีการติดตามสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน รวมถึงสถานการณ์พายุ “เซินติญ”ที่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าในช่วงวันที่ 18 – 21 ก.ค.จะส่งผลกระทบกับประเทศไทยบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่รองนายกฯ ได้กำชับทุกหน่วยงานติดตามสถานการณ์และแนวโน้มอย่างใกล้ชิดเพื่อประเมินแผนการป้องกันเหตุ การให้ความช่วยเหลือและแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ได้ทันต่อสถานการณ์ตามแผนรับมือน้ำหลากปี 61
ที่ได้บูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนไว้ล่วงหน้าแล้ว

สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น สทนช. ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเร่งช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็วที่สุด โดยกรมชลประทานได้เตรียมเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ เพื่อชวยเหลือพื้นที่จะได้รับผลกระทบแล้วกว่า1,800 เครื่อง ล่าสุดยังคงมีพื้นที่น้ำท่วมใน 3 จังหวัด คือ
จ.รอยเอ็ด ยโสธร และนครพนมโดยจ.ร้อยเอ็ดมีแนวโน้มที่จะลดลง  หากไม่มีฝนตกจะเข้าสู่ภาวะปกติในอีก 1-2 วัน  ส่วน จ.ยโสธร มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และจ.นครพนม ขณะนี้ระดับน้ำลดลงในบางพื้นที่แล้ว หากไมมีฝนตกลงมาเพิ่มสถานการณน่าจะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน  1-2 วัน

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

CKPower ปันผล 691 ล้าน คาด Q2 เข้าหน้าฝนปรับตัวดีขึ้น

CKPower วางเป้าหมายการเติบโตในด้านการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและรากฐานความมั่นคงทางพลังงาน ตล…

กรมชลบูรณาการทุกภาคส่วนจัดการทรัพยากรน้ำ 4 จว.เหนือ

กรมชลฯ จัดปัจฉิมนิเทศจัดทำแผนส่งเสริมความมั่นคงด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ มิติเศรษฐกิจ…

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

บทความแนะนำ

VIEW ALL

CKPower ปันผล 691 ล้าน คาด Q2 เข้าหน้าฝนปรับตัวดีขึ้น

CKPower วางเป้าหมายการเติบโตในด้านการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและรากฐานความมั่นคงทางพลังงาน ตลอดจนร่วมเป…

กรมชลบูรณาการทุกภาคส่วนจัดการทรัพยากรน้ำ 4 จว.เหนือ

กรมชลฯ จัดปัจฉิมนิเทศจัดทำแผนส่งเสริมความมั่นคงด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ มิติเศรษฐกิจ สังคม และ…

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…