ปศุสัตว์เข้มลุยกวาดล้างโรงฆ่าสัตว์เถื่อน

ชุดเฉพาะกิจกรมปศุสัตว์ บุกจับโรงฆ่าสัตว์เถื่อน จังหวัดสงขลา และจังหวัดพังงา ยึดสัตว์มีชีวิต และซากสัตว์ที่กำลังชำแหละ มีความผิดตาม พรบ.ควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2559 เสี่ยงแพร่เชื้อโรค และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ได้รับการร้องเรียนและแจ้งเบาะแสจากประชาชนว่า มีการลักลอบฆ่าชำแหละสัตว์เพื่อจำหน่ายโดยไม่มีใบอนุญาต และสร้างความเดือดร้อนต่อประชาชนในพื้นที่จังหวัดสงขลาและจังหวัดพังงา จึงได้สั่งการให้ชุดเฉพาะกิจของกรมปศุสัตว์เข้าตรวจสอบโรงฆ่าสัตว์ เพื่อบังคับใช้กฎหมาย เมื่อกลางดึกของวันจันทร์ที่ 22 เมษายน 2562 ผลการตรวจสอบพบการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 โดยจังหวัดสงขลา พบโรงฆ่าสัตว์ไม่มีชื่อที่อยู่ 23 ม. 3 ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ของกลางประกอบด้วย ซากหมูจำนวน 3 ตัว และหมูมีชีวิตที่ขังอยู่ในคอกอีก 27 ตัว ที่กำลังรอเชือด และอุปกรณ์ที่ใช้ในการฆ่าสัตว์ รวมมูลค่า เกือบ 3 แสนบาท ส่วนจังหวัดพังงา พบสถานที่ต้องสงสัยเลขที่ 40/7หมู่ที่ 7 ตำบล นาเตย อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา กำลังฆ่าชำแหละโค 1 ตัว

กรมปศุสัตว์จึงได้แจ้งข้อกล่าวหาพร้อมควบคุมตัวผู้กระทำความผิด ของกลาง และอุปกรณ์ที่ใช้ในการฆ่าสัตว์ รวมถึงได้นำส่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจในพื้นที่เพื่อดำเนินคดี  ดังนี้ ข้อหาแรก คือ ประกอบกิจการฆ่าสัตว์โดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 15 แห่ง พรบ.ควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 ข้อหาที่สอง ฆ่าสัตว์โดยไม่แจ้งการฆ่าต่อพนักงานท้องถิ่น ตามมาตรา 31 แห่ง พรบ.ควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 ซึ่งมีโทษปรับตามรายตัว โค ตัวละไม่เกิน 5 หมื่นบาท สุกร ตัวละไม่เกิน 2 หมื่นบาท

และข้อหาสุดท้ายคือ ฆ่าสัตว์นอกโรงฆ่าสัตว์ ตามมาตรา 39 แห่ง พรบ.ควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 ซึ่งมีโทษ จำคุกไม่กิน 1 ปี ปรับไม่เกิน  1 แสนบาท

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินการเข้าตรวจค้นจับกุมการประกอบกิจการฆ่าสัตว์โดยผิดกฎหมายครั้งนี้ เป็นไปตามมาตรการปราบปรามโรงฆ่าสัตว์เถื่อนและการลักลอบใช้สารเร่งเนื้อแดง เพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภคเป็นหลัก เนื่องจากสัตว์ที่นำมาฆ่านั้น จะไม่ทราบแหล่งที่มาของสัตว์ ไม่มีการตรวจสอบใด  ๆ ไม่ได้ผ่านการตรวจโรคมาก่อน และผ่านกระบวนการฆ่าสัตว์ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้มีความเสี่ยงที่เนื้อสัตว์ถูกชำแหละแล้วไปวางจำหน่ายให้กับผู้บริโภคปนเปื้อนเชื้อโรคสูง อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคระบาดที่สำคัญ หรืออันตรายจากสารตกค้าง เช่น สารเร่งเนื้อแดง ฮอร์โมน และยาปฏิชีวนะ เป็นต้น ส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคและอาจทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ส่วนของกลางที่เป็นซากสัตว์ทางกรมปศุสัตว์จะทำลายโดยการฝังหรือเผาตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป

กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับการปราบปรามการประกอบกิจการฆ่าสัตว์โดยผิดกฎหมายทั่วประเทศ เพื่อยกระดับให้โรงฆ่าสัตว์มีมาตรฐานเดียวกัน สร้างความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค หากพบเห็นการกระทำผิดโปรดแจ้งเบาะแสผ่านแอพพลิเคชั่น (Application) “DLD 4.0” ที่สามารถดาวน์โหลดและติดตั้งได้ทั้งระบบ iOS ผ่าน App Store และระบบ Android ผ่าน Google play เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าตรวจสอบการกระทำความผิดและดำเนินการ ตามกฎหมายได้อย่างทันท่วงที

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…