กรมชลเดินหน้าพัฒนาลุ่มน้้าห้วยหลวงหวังแก้ท่วม-แล้ง

กรมชลประทาน เดินหน้าโครงการศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาแหล่งน้ำลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนบน-ตอนกลาง จังหวัดอุดรธานี นำเสนอ 4 โครงการสำคัญ หวังบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยหลวง

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานได้วางแผนในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งอย่างเป็นระบบในลุ่มน้ำห้วยหลวง โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในปัจจุบันและอนาคตของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนบน-ตอนกลาง จังหวัดอุดรธานี เพื่อนำเสนอโครงการที่มีความสำคัญเร่งด่วนในการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำและบรรเทาอุทกภัย โดยตั้งแต่ปี 2561 ในการประชุมร่วม กรอ. เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 และกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 มีข้อสั่งการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน ศึกษาความเหมาะสม การพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนบน-ตอนกลาง และจัดทำแผนหลัก (Master Plan) เพื่อให้ได้โครงการที่มีความสำคัญเร่งด่วนเป็นลำดับต้น ๆ ในการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ และบรรเทาอุทกภัย โดยให้สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ครอบคลุมตามมาตรการกลยุทธ์ต่าง ๆ ทั้ง 6 ด้าน ที่ขับเคลื่อนโดยหลายหน่วยงาน เพื่อสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิตน้ำอุปโภคบริโภค ลดความเสียหายจากอุทกภัย สามารถจัดการคุณภาพน้ำให้ได้มาตรฐาน มีการบริหารจัดการพื้นที่ต้นน้ำ ดินป่าไม้ รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบ ทั้งมิติ วิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 

ด้านนายสุรชาติ มาลาศรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน กล่าวว่า สำหรับ 4 โครงการสำคัญ ประกอบไปด้วย

  1. โครงการฝายบ้านกุดหมากไฟ ตำบลกุดหมากไฟ อำเภอหนองวัวซอ ส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานได้กว่า 8,300 ไร่
  2. โครงการอ่างเก็บน้ำบ้านขอนยูงน้อย ตำบลขอนยูง อำเภอกุดจับ ความจุ 4.38 ล้าน ลบ.ม. ส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทาน 6,789 ไร่ รวมทั้งผันน้ำส่วนเกินไปลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยหลวงได้ปีละกว่า 2 ล้าน ลบ.ม.
  3. โครงการประตูระบายน้ำห้วยเชียง 2 ตำบลกุดจับ อำเภอกุดจับ ส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานได้กว่า 1,300 ไร่ รวมทั้งผันน้ำส่วนเกินไปยังอ่างเก็บน้ำเขื่อนห้วยหลวงได้ประมาณปีละ 4.13 ล้าน ลบ.ม.
  4. โครงการบริหารจัดการน้ำประตูระบายน้ำบ้านสามพร้าว ที่สร้างปิดกั้นลำน้ำห้วยหลวง ตำบลสามพร้าว อำเภอเมืองอุดรธานี มีความจุเก็บกักประมาณ 1.88 ล้าน ลบ.ม.

นอกจากนี้ ยังได้กำหนดแนวทางการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ ซึ่งมุ่งเน้นในการบรรเทาทั้งปัญหาอุทกภัยและปัญหาการขาดแคลนน้ำ รวมไปถึงการพัฒนาลุ่มน้ำและพื้นที่ชลประทานอย่างมีประสิทธิภาพ หากดำเนินการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้ จะทำให้มีพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้น 99,728 ไร่ มีพื้นที่รับประโยชน์ 24,289 ไร่ และมีปริมาณน้ำเก็บกักเพิ่มขึ้น 103.36 ล้าน ลบ.ม. ช่วยบรรเทาและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ รวมทั้งยังจะทำให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความยั่งยืน ตอบสนองต่อการพัฒนา ทั้งในปัจจุบันและอนาคต อันจะส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กล่าวด้วยว่า การประชุมในมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอสรุปผลการศึกษาแผนหลัก (Master Plan) และการศึกษาความเหมาะสม (Feasibility Study) พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็น ข้อห่วงกังวลและข้อเสนอแนะต่อแนวทางการพัฒนาแหล่งน้ำห้วยหลวงตอนบน-ตอนกลาง จังหวัดอุดรธานี เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งการบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยหลวง และขอวิงวอนพี่น้องประชาชนและเกษตรกรกลุ่มผู้ใช้น้ำร่วมมือกันบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและใช้น้ำอย่างประหยัดคุ้มค่ามากที่สุด

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลฯ เร่งแก้ปัญหาน้ำท่วม-ภัยแล้งเมืองหนองคาย

กรมชลประทานเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการประตูระบายน้ำบ้านเมืองบาง ตำบลวัดธาตุ อำเภอเมือง จังหว…

พัชรวาท” สั่งทส.ทุกหน่วยงานเร่งช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม

พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแ…

อ่างแม่ตีบลำปางช่วยแก้แล้ง-น้ำท่วมยั่งยืน

https://www.youtube.com/watch?v=pl2hJiW-1uU

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลฯ เร่งแก้ปัญหาน้ำท่วม-ภัยแล้งเมืองหนองคาย

กรมชลประทานเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการประตูระบายน้ำบ้านเมืองบาง ตำบลวัดธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย …

พัชรวาท” สั่งทส.ทุกหน่วยงานเร่งช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม

พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิ…

อ่างแม่ตีบลำปางช่วยแก้แล้ง-น้ำท่วมยั่งยืน

https://www.youtube.com/watch?v=pl2hJiW-1uU