กรมชลทุ่ม 7 พันล.ผุดสตรีทคาแนล

กรมชลฯ ลุยแก้น้ำท่วมพื้นที่ฝั่งตะวันตกลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เร่งเดินหน้าโครงการคลองถนนและอุโมงค์ระบายน้ำ (Street canal) จังหวัดนครปฐม หวังแก้ปัญหาน้ำท่วมทั้งในแนวเหนือ-ใต้ออกสู่ทะเลร่วมกับการผันน้ำออกทางแม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำเจ้าพระยา รวมมูลค่าก่อสร้างกว่า 7 พันล้านบาท ด้าน “รองเฉลิมเกียรติ” เผยงานจ้างสำรวจ ออกแบบโครงการฯ คืบหน้าเกือบ 100% คาดแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้


นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน นำคณะสื่อมวลชน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรมชลฯ เยี่ยมชมพื้นที่ก่อสร้างอาคารรับน้ำคลองฉางและพื้นที่ก่อสร้างอาคารรับน้ำคลองอ้อมน้อย เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานจ้างสำรวจ ออกแบบโครงการคลองถนนและอุโมงค์ระบายน้ำ (Street canal) จังหวัดนครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยระบายน้ำท่วมในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ตอนบน ตั้งแต่คลองมหาสวัสดิ์จนถึงคลองภาษีเจริญ เพื่อช่วยพร่องน้ำในคลองมหาสวัสดิ์และเตรียมรองรับปริมาณน้ำหลากตอนบนของพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างและช่วยลดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่โครงการ ตลอดจนช่วยในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างและการเก็บกักน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ ทั้งในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้ง


รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า งานจ้างสำรวจ ออกแบบโครงการคลองถนนและอุโมงค์ระบายน้ำ (Street canal) จังหวัดนครปฐม เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของโครงการปรับปรุงโครงข่ายระบบชลประทาน ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตามกลุ่มแผนงานที่ 4 จาก 9 แผนบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม ระบายน้ำทั้งในแนวเหนือ-ใต้ ออกสู่ทะเลร่วมกับการผันน้ำออกทางแม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำเจ้าพระยา และบริหารจัดการน้ำเพื่อการกักเก็บกักน้ำไว้ไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ ในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้ง ซึ่งโครงการนี้เริ่มประชุมปฐมนิเทศโครงการมาตั้งแต่ปี 2564 ต่อมาในปี 2565 ได้ประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 1 เมื่อช่วงเดือนมีนาคม 2565 ตรวจติดตามความก้าวหน้าครั้งที่ 1 ในเดือนมิถุนายน 2565 และประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 2 เดือนกรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ล่าสุดกรมชลฯ ได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามความก้าวหน้าครั้งที่ 2 ในวันที่ 14 กันยายน 2565 ก่อนจะประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการในเดือนพฤศจิกายน 2565 รวมระยะเวลาดำเนินการ 540 วัน เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564-วันที่ 22 ธันวาคม 2565

ส่วนองค์ประกอบโครงการ ได้แก่ 1) งานขุดลอกคลองระบายน้ำ 10.617 กม.และงานอาคารประกอบคลองระบายน้ำรวมทั้งสิ้น 97 อาคาร มูลค่าก่อสร้าง 3,968.33 ล้านบาท 2) งานอุโมงค์ระบายน้ำ 6.998 กม. และอาคารประกอบในแนวอุโมงค์ระบายน้ำรวม 4 อาคาร ราคา 3,500.44 ล้านบาท รวม 2 องค์ประกอบโครงการมูลค่ากว่า 7,468.77 ล้านบาท เบื้องต้นงานขุดลองคลองระบายน้ำและอาคารบังคับน้ำตามแนวคลองจะมี 4 แบบ ส่วนงานอุโมงค์และสถานีสูบน้ำ อุโมงค์จะระบายน้ำใต้คลองแนวลิขิต ความยาว 6.998 กิโลเมตร โดยวางตัวอุโมงค์ใต้แนวคลองอ้อมน้อยและคลองแนวลิขิต 1 รับน้ำจากอาคารรับน้ำคลองฉาง อาคารรับน้ำคลองอ้อมน้อย อาคารรับคลองแนวลิขิต 1 และสูบน้ำจากสถานีปลายอุโมงค์ลงสู่คลองภาษีเจริญ ส่วนนี้จะมีพื้นที่ได้รับผลกระทบรวม 8.141 ไร่ ซึ่งมีมาตรการด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม พร้อมแนวทางการชดเชยที่ดินทรัพย์สิน ตั้งแต่ช่วงก่อสร้างตลอดจนช่วงดำเนินการ โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน มีขอบเขตการศึกษาอยู่ในจังหวัดนครปฐมและสมุทรสาคร ประกอบด้วย อำเภอพุทธมณฑล อำเภอสามพราน และอำเภอกระทุ่มแบน มี 7 ตำบล คือ ต.ศาลายา ต.บางกระทึก ต.บางเตย ต.กระทุ่มล้ม ต.ไร่ขิง จังหวัดนครปฐม และต.อ้อมน้อย ต.สวนหลวง จังหวัดสมุทรสาคร โดยกลุ่มเป้าหมายได้แก่ หน่วยงานอำเภอ ท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่การพัฒนาโครงการฯ ตลอดจนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผลประโยชน์ของโครงการคลองถนนและอุโมงค์ระบายน้ำ (Street canal) 1.จะช่วยระบายน้ำท่วมในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง-ตอนบน ตั้งแต่คลองมหาสวัสดิ์ถึงคลองภาษีเจริญ 2.จะช่วยพร่องน้ำในคลองมหาสวัสดิ์เพื่อเตรียมรองรับปริมาณน้ำหลากตอนบนด้านฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา 3.ช่วยในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างและการกักเก็บน้ำด้วย

นายเฉลิมเกียรติ กล่าวด้วยว่า จากการพบปะพูดคุยกับผู้ที่ได้รับผลกระทบในวันนี้ พบว่ามีข้อกังวลในเรื่องค่าชดเชยเวนคืนที่ดิน ซึ่งตนได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ที่ได้รับผลกระทบแล้ว หลังจากนี้จะให้คณะกรรมการเร่งพิจารณาและดำเนินการตามข้อกฎหมาย เพื่อให้เกิดความชัดเจน เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขแบบให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ซึ่งขณะนี้งานจ้างสำรวจ ออกแบบโครงการคลองถนนและอุโมงค์ระบายน้ำ (Street canal) จังหวัดนครปฐม มีความคืบหน้าไปมากแล้ว คาดว่าจะมีการออกแบบเสร็จสมบูรณ์ 100% ภายในเดือนธันวาคม 2565 หลังจากนั้นก็จะเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย

“ทุกโครงการจะใช้หลักการการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่วนการพิจารณาจ่ายค่าชดเชยเวนคืนที่ดินก็ต้องยึดตามหลักเกณฑ์และเหตุผลตามความจำเป็น เพื่อให้เกิดความพึงพอใจ และให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนที่อยู่ริมคลอง หรือริมถนน เพราะว่าในปัจจุบันมีชุมชนริมคลองและริมถนนค่อนข้างมาก จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ” รองอธิบดีกรมชลฯ กล่าว

ด้านนางสุวิมล หนูเริก ผู้ที่ได้รับผลกระทบ อยู่บ้านเลขที่ 66 ม.3 ต.กระทุ่มล้ม อ.สามพราน จ.นครปฐม กล่าวว่า เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว ซึ่งจะช่วยระบายน้ำได้ดีกว่าเดิม จะเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม มีส่วนช่วยเหลือชุมชนและ ประเทศ สิ่งที่กังวลตอนนี้คือค่าชดเชยเวนคืนที่ดินที่จะได้รับ อยากได้ราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม เพราะที่ดินตรงบริเวณที่จะใช้ก่อสร้างอาคารรับน้ำเป็นที่ดินของปู่ย่าตายาย ก็ไม่อยากสูญเสียที่ดินตรงนี้ไป แต่เมื่อมีโครงการของรัฐเกิดขึ้นตรงบริเวณนี้ ทางครอบครัวก็ยินยอมเสียสละที่ดินส่วนหนึ่ง เพื่อให้โครงการเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งในเบื้องต้นก็มีเจ้าหน้าที่เข้ามาให้ข้อมูลบ้าง ทำให้เข้าใจมากขึ้น
“เมื่อก่อนพื้นที่ตรงนี้จะใช้เลี้ยงปลา แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงเลิกเลี้ยงปลาไปแล้ว เมื่อโครงการนี้เสร็จสิ้น ก็เชื่อว่าชาวบ้านและชุมชนจะได้รับประโยชน์ในเรื่องของการระบายน้ำอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในอนาคต”


นายเฉลิมเกียรติ กล่าวสรุปว่า งานจ้างสำรวจ ออกแบบโครงการคลองถนนและอุโมงค์ระบายน้ำ (Street canal) จังหวัดนครปฐม เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของโครงการปรับปรุงโครงข่ายระบบชลประทาน ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตามกลุ่มแผนงานที่ 4 จาก 9 แผนบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม ระบายน้ำทั้งในแนวเหนือ-ใต้ ออกสู่ทะเลร่วมกับการผันน้ำออกทางแม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำเจ้าพระยา และบริหารจัดการน้ำเพื่อการกักเก็บกักน้ำไว้ไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ ในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้ง ซึ่งโครงการนี้เริ่มประชุมปฐมนิเทศโครงการมาตั้งแต่ปี 2564 ต่อมาในปี 2565 ได้ประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 1 เมื่อช่วงเดือนมีนาคม 2565 ตรวจติดตามความก้าวหน้าครั้งที่ 1 ในเดือนมิถุนายน 2565 และประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 2 เดือนกรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ล่าสุดกรมชลฯ ได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามความก้าวหน้าครั้งที่ 2 ในวันที่ 14 กันยายน 2565 ก่อนจะประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการในเดือนพฤศจิกายน 2565 รวมระยะเวลาดำเนินการ 540 วัน เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564-วันที่ 22 ธันวาคม 2565

ส่วนองค์ประกอบโครงการ ได้แก่ 1) งานขุดลอกคลองระบายน้ำ 10.617 กม.และงานอาคารประกอบคลองระบายน้ำรวมทั้งสิ้น 97 อาคาร มูลค่าก่อสร้าง 3,968.33 ล้านบาท 2) งานอุโมงค์ระบายน้ำ 6.998 กม. และอาคารประกอบในแนวอุโมงค์ระบายน้ำรวม 4 อาคาร ราคา 3,500.44 ล้านบาท รวม 2 องค์ประกอบโครงการมูลค่ากว่า 7,468.77 ล้านบาท เบื้องต้นงานขุดลองคลองระบายน้ำและอาคารบังคับน้ำตามแนวคลองจะมี 4 แบบ ส่วนงานอุโมงค์และสถานีสูบน้ำ อุโมงค์จะระบายน้ำใต้คลองแนวลิขิต ความยาว 6.998 กิโลเมตร โดยวางตัวอุโมงค์ใต้แนวคลองอ้อมน้อยและคลองแนวลิขิต 1 รับน้ำจากอาคารรับน้ำคลองฉาง อาคารรับน้ำคลองอ้อมน้อย อาคารรับคลองแนวลิขิต 1 และสูบน้ำจากสถานีปลายอุโมงค์ลงสู่คลองภาษีเจริญ ส่วนนี้จะมีพื้นที่ได้รับผลกระทบรวม 8.141 ไร่ ซึ่งมีมาตรการด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม พร้อมแนวทางการชดเชยที่ดินทรัพย์สิน ตั้งแต่ช่วงก่อสร้างตลอดจนช่วงดำเนินการ โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน มีขอบเขตการศึกษาอยู่ในจังหวัดนครปฐมและสมุทรสาคร ประกอบด้วย อำเภอพุทธมณฑล อำเภอสามพราน และอำเภอกระทุ่มแบน มี 7 ตำบล คือ ต.ศาลายา ต.บางกระทึก ต.บางเตย ต.กระทุ่มล้ม ต.ไร่ขิง จังหวัดนครปฐม และต.อ้อมน้อย ต.สวนหลวง จังหวัดสมุทรสาคร โดยกลุ่มเป้าหมายได้แก่ หน่วยงานอำเภอ ท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่การพัฒนาโครงการฯ ตลอดจนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผลประโยชน์ของโครงการคลองถนนและอุโมงค์ระบายน้ำ (Street canal) 1.จะช่วยระบายน้ำท่วมในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง-ตอนบน ตั้งแต่คลองมหาสวัสดิ์ถึงคลองภาษีเจริญ 2.จะช่วยพร่องน้ำในคลองมหาสวัสดิ์เพื่อเตรียมรองรับปริมาณน้ำหลากตอนบนด้านฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา 3.ช่วยในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างและการกักเก็บน้ำด้วย



แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำ…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว จังหวั…