ออมสิน โชว์ผลงานปี 64 ช่วยคน-ช่วยสังคม เสริมแกร่งธนาคาร

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยผลการดำเนินงานในปี 2564 ธนาคารได้ขับเคลื่อนภารกิจ “ธนาคารเพื่อสังคม” อย่างเต็มกำลังเพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อย และผู้ประกอบการรายย่อย ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด–19 ที่สร้างความเดือดร้อนรุนแรงทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการบริหารจัดการเสริมความแข็งแกร่งของธนาคารด้วยในเวลาเดียวกัน โดยเน้นการควบคุมค่าใช้จ่าย สามารถลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจได้มากกว่าหมื่นล้านบาท โดยกำไรที่เกิดจากการประหยัดค่าใช้จ่ายได้นำไปสนับสนุนภารกิจเพื่อสังคมตามยุทธศาสตร์ของธนาคาร ซึ่งเป็นตัวเลขกำไรที่อยู่ในระดับใกล้เคียงกับกำไรในปี 2562 ที่เป็นช่วงสถานการณ์ปกติก่อนเกิดวิกฤตการแพร่ระบาดโควิด-19

ทั้งนี้ กำไรจากการดำเนินงานในปี 2564 ธนาคารได้นำไปช่วยเหลือประชาชนระดับฐานราก ผู้ประกอบการรายย่อย และ SMEs ผ่านมาตรการเยียวยา ฟื้นฟู และเสริมสภาพคล่องอย่างครบวงจรอย่างต่อเนื่องจากปี 2563 จนถึงปัจจุบัน รวมแล้วกว่า 36 โครงการ ช่วยเหลือประชาชนได้ถึง 11.6 ล้านคน คิดเป็นเม็ดเงินรวมกว่า 1.8 ล้านล้านบาท และช่วยเหลือประชาชนจำนวนกว่า 2.16 ล้านคน ที่ก่อนหน้านี้ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินในระบบ ให้ได้มีสินเชื่อเป็นครั้งแรก ซึ่งธนาคารได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี

นอกจากนี้ ธนาคารยังสามารถนำส่งรายได้เข้ารัฐได้สูงสุดในรอบ 3 ปีย้อนหลัง จำนวนเงิน 15,978 ล้านบาท สูงสุดเป็นอันดับ 4 จากรัฐวิสาหกิจ 58 แห่ง ขณะเดียวกัน ผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นและต้นทุนทางธุรกิจที่ลดลงมาก ทำให้ธนาคารสามารถยกระดับความแข็งแกร่งขององค์กร โดยในปี 2564 ธนาคารได้ตั้งสำรองทั่วไป (General Provision) ได้สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ ณ เดือนพฤศจิกายน 2564 ธนาคารมีสินทรัพย์ 2.97 ล้านล้านบาท เงินฝาก 2.55 ล้านล้านบาท สินเชื่อ 2.26 ล้านล้านบาท ระดับ NPLs = 2.56% และ BIS Ratio = 15.82%

สำหรับปี 2565 ภายใต้จุดยืนธนาคารเพื่อสังคม ด้วยเป้าหมายลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างการเข้าถึงแหล่งเงินที่เป็นธรรม ธนาคารมุ่งเน้นดำเนินการ 5 ภารกิจที่สำคัญ ประกอบด้วย 1) การสร้างงาน สร้างอาชีพ เพื่อช่วยสร้างทักษะอาชีพ สนับสนุนเงินทุน และช่องทางการสร้างรายได้ ช่วยเหลือประชาชนที่ต้องออกจากการจ้างงานจากวิกฤติโควิด 2) จัดทำโครงการสินเชื่อที่ดินและขายฝาก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษา และหากได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการฯ จะสามารถเปิดให้บริการได้ในช่วงกลางปี 2565 โดยมุ่งเน้นสร้างกลไกเพื่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยให้มีความเหมาะสมเป็นธรรมสำหรับลูกค้ากลุ่มฐานราก 3) การพัฒนา Digital Lending ให้สามารถพิจารณาอนุมัติสินเชื่อบนสมาร์ทโฟนด้วยแอป MyMo ให้สมบูรณ์ขึ้นด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลAlternative Data Analytic หลังจากในช่วงปีที่ผ่านมาธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อรายย่อยผ่าน MyMo ได้มากกว่า 1.5 ล้านราย วงเงินสินเชื่อรวมกว่า 24,000 ล้านบาท นับว่าธนาคารประสบความสำเร็จสามารถเติมเม็ดเงินช่วยเหลือประชาชนเป็นจำนวนมากด้วยระยะเวลาอันสั้น 4) การออกผลิตภัณฑ์เงินฝากออมสินเพื่อการเกษียณ ซึ่งธนาคารเตรียมยกระดับการส่งเสริมการออมเพื่อการเกษียณ เพื่อให้ประชาชนกลุ่มฐานรากมีความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย และ 5) การขาย หรือ โอนหนี้ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารจัดการทรัพย์สินของธนาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐานเดียวกันกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น ซึ่งคาดว่ากฎกระทรวงจะผ่านการพิจารณาและมีผลบังคับภายในปี 2565

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…