เปิด 6 แผนเพิ่มแหล่งน้ำรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษขาดแคลนน้ำ

ปัญหาภัยแล้งกับน้ำหลากนั้นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทุกภาคในประเทศไทย  ในพื้นที่ภาคตะวันออกโดยเฉพาะจังหวัดจันทบุรีที่มีสวนผลไม้เป็นจำนวนมากนั้น  บางปีมีน้ำท่วมท้ายปีหัวปีถึง 2 ครั้ง  แต่ก็ยังต้องเผชิญกับภัยแล้งช่วงต้นปีถัดไป

       เมื่อปี 2562 ภัยแล้งในภาคตะวันออกหนักสุดในรอบ 14 ปี  จังหวัดที่อยู่ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(Eastern Economic Corridor: EEC)  ทั้ง 3  จังหวัดคือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง  มีปัญหาขาดน้ำทั้งเพื่อการอุปโภค-บริโภค  เกษตรกรรม และอุตสาหกรรมอย่างหนัก

      จากแนวโน้มของภัยแล้งในพื้นที่ภาคตะวันออกที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) จึงได้เสนอของบประมาณราว 8.8 หมื่นล้านบาทเพื่อแก้ปัญหานี้  โดยมีกรมชลประทานเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ

      กรมชลประทานจึงได้กำหนด 6 แผนงานขึ้นมาดำเนินการเพื่อป้องกันภัยแล้งในพื้นที่ EEC รองรับระยะเวลา 10 ปี  ประกอบด้วย

       1)ปรับปรุงแหล่งน้ำเดิม 7 แห่ง

       1.เพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ 10.1 ล้าน ลบ.ม./ปี  เพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล  23.9 ล้าน ลบ.ม/  ทั้ง 2 อ่างนี้ดำเนินการเสร็จแล้ว

       2.ขุดลอกอ่างเก็บน้ำดอกกราย  กำลังดำเนินการ

       3.เพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำบ้านบึง 2.4 ล้าน ลบ.ม./ปี กับอ่างเก็บน้ำมาบประชัน 0.9 ล้าน ลบ.ม./ปี อยู่ระหว่างศึกษาออกแบบ

       4.เพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำหนองค้อ 2.6 ล้าน ลบ.ม. 

       5.เพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำคลองสียัด 30 ล้าน ลบ.ม.4 4

       2)พัฒนาแหล่งน้ำใหม่ 4 แห่ง 

       1.ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองประแกดเสร็จแล้ว

       2.อ่างเก็บน้ำคลองหางแมว กำลังก่อสร้าง

       3.อ่างเก็บน้ำคลองพะวาใหญ่

       4.อยู่ระหว่างการทำรายงาน EHIA ฉบับสมบูรณ์คืออ่างเก็บน้ำคลองคลองวังโตนด

       3)เชื่อมโยงแหล่งน้ำและระบบผันน้ำ 4 แห่ง

       1.สร้างอาคารอัดน้ำท้ายอ่างเก็บน้ำประแสร์เสร็จแล้ว

       2.กำลังก่อสร้างมี ปรับปรุงคลองพานทองเพื่อผันน้ำไปอ่างเก็บน้ำบางพระ 

       3.กำลังสร้างอาคารบังคับน้ำแม่น้ำระยอง

       4.เตรียมเสนอเปิดโครงการท่อผันน้ำอ่างเก็บน้ำประแสร์-อ่างเก็บน้ำหนองค้อ-อ่างเก็บน้ำบางพระ

       4)การสูบกลับท้ายอ่างเก็บน้ำ

     1.ระบบสูบน้ำกลับอ่างเก็บน้ำกลับอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล 5 ล้าน ลบ.ม./ปี เสร็จแล้ว

       2.ระบบสูบผันน้ำคลองสะพาน-อ่างประแสร์ 50 ล้าน ลบ.ม./ปี

       5)การป้องกันน้ำท่วม 4 แห่ง

       1.สถานีสูบน้ำฯคลองพับมา เสร็จแล้ว

       2.สถานีสูบน้ำฯหนองโพรง เสร็จแล้ว

       3.ปรับปรุงระบบระบายน้ำหน้าพระธาตุ  กำลังก่อสร้าง

       4.กำลังปรับปรุงระบบท่าลาด-คลองหลวง

       6)การจัดหาแหล่งน้ำโดยภาคเอกชน(East water) จ.ระยอง

นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ได้กล่าวถึงแผนพัฒนาการบริหารจัดการน้ำเพื่อรองรับ EEC ในระยะ10 ปีที่กรมชลประทานดำเนินการบางส่วนเสร็จแล้ว ในพื้นที่ EEC ทั้ง 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา รวมทั้งจันทบุรีนั้น มีรูปแบบการใช้น้ำแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ชลบุรีนั้นมีพัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยว ธุรกิจการท่องเที่ยวค่อน 80-90% มีความต้องการใช้นำเพื่ออุปโภคบริโภคสูง โดยชลบุรีมีอ่างเก็บน้ำบางพระเป็นจุดรับน้ำสุดท้ายจากจันทบุรี ระยองมาไว้ที่นี่เพื่อกระจายน้ำให้ใช้ในเขตนี้

       “เราแบ่งความชัดเจนเลยว่าในเขตของชลบุรี  เป้าหมายเดิมของอ่างเก็บน้ำบางพระ  อ่างเก็บน้ำหนองค้อ  อ่างเก็บน้ำพัทยา  ที่มีความจุ 241 ล้าน  เป้าหมายเมื่อ 20 ปีก่อนคือพื้นที่การเกษตร  เป้าหมายนี้ยังไม่เปลี่ยน  แต่กิจกรรมในพื้นที่เปลี่ยนไป  พี่น้องเกษตรเปลี่ยน  หมู่บ้านจัดสรรเพิ่มขึ้น  โรงแรมเพิ่มขึ้น  เปลี่ยนจากที่นาเป็นหมูบ้านจัดสรร  ความต้องการใช้น้ำของคนเปลี่ยนไป”นายเฉลิมเกียรติ อธิบาย

      ความต้องการใช้น้ำในปี 63-64 อยู่ประมาณ  350-400  ล้าน ลบ.ม.  แต่ถ้าถึงปี 2582 ที่คำนวณไว้ในรอบ 20 ปี  ความต้องการใช้น้ำจะอยู่ที่ประมาณ 1,050 ล้าน ลบ.ม.  จึงต้องหาน้ำเพิ่มประมาณ 400-500 ล้าน ลบ.ม.  แต่ชลบุรีนั้นแทบจะทำอ่างไม่ได้แล้ว  ความเจริญสูงและทำไว้เยอะแล้ว  จึงต้องใช้วิธีดึงน้ำจากแหล่งน้ำในจังหวัดที่มีศักยภาพมาช่วยกัน  โดยหลักการนี้เกิดจากเมื่อหลาย 10 ปีเคยเกิดปัญหาเรื่องน้ำแล้งจัด  ทำให้เกิดมติ ครม.มาตั้งแต่ครั้งกระนั้นว่าจะต้องมีการเตรียมการดำเนินการ 

        ส่วนระยองนั้นมีความต้องการใช้น้ำเพื่อการอุตสาหกรรมมากพอ ๆ กับการเกษตร การดำเนินการแก้ไขด้วยการเพิ่มความจุของอ่างเก็บน้ำ  มีที่คลองใหญ่  หนองปลาไหล  อน้ำบ้านบึง  มาบประชัน  คลองสียัด มีการขุดลอกอ่างเก็บน้ำดอกราย 

       “พวกนี้มีปริมาณน้ำไหลเข้ามากพอ  อ่างพวกนี้มีความจุหลักสิบล้าน ร้อยล้าน  อ่างคลองใหญ่เพิ่มไดซัก 10 ล้าน  หนองปลาไหลเพิ่มได้ซัก 23 ล้าน ลบ.ม.  คลองสียัดได้ 30 ล้าน ลบ.ม.  ที่ระยองก็จะได้น้ำเพื่อการเกษตร  โดยเราจะให้ความสำคัญกับพื้นที่ก่อน  โดยในหน้าฝนจึงจะดึงน้ำมาลงอ่างที่ชลบุรี 

        นอกจากนี้ยังมีอ่างเก็บน้ำหนองค้อ ประแสร์  ที่บางพระ นี่เก็บได้ทั้งปี แต่การใช้ก็มีปีละเป็นร้อย ๆ ล้าน”นายเฉลิมเกียรติกล่าว

        รองอธิบดีกรมชลประทานพูดถึงจันทบุรีว่า “ส่วนที่จันท์นั้นปริมาณน้ำดี  เน้นที่การเกษตรส่วนผลไม้เยอะ  เราจึงเน้นที่การเกษตร  เรามีอ่างเก็บน้ำที่สร้างไว้แล้ว  มีอ่างเก็บน้ำประแกดที่สร้างไว้แล้ว   คลองหางแมว  พะวาใหญ่กำลังสร้าง  ปริมาณกักเก็บเป็นร้อยล้าน  เน้นพื้นที่เกษตรเป็นแสนไร่กับน้ำกินน้ำใช้   โดยมีการทำสถานีสูบน้ำคลองสะพานเพื่อสูบกลับไปลงอ่างอีกที     ที่จันทบุรีนี้ความจุของอ่างเก็บน้ำ หากบวกของวันโตนด 99.5 ล้าน ลบ.ม.พะวาใหญ่ หางแมว ประแกด  ก็จะได้ 200 ล้าน ลบ.ม.   แต่ก็ยังขาด 500-600 ล้าน  จึงยังต้องการปริมาณอีกร้อยกว่าล้านจากการสูบกลับ”

       สำหรับแผนการพัฒนาเพื่อรองรับ EEC 10 ปีของกรมชลประทานแบ่งเป็น 6 แผนงาน  ประกอบด้วย

        อย่างไรก็ตามทั้ง 6 แผนนี้  เป็นเพียงแผนพัฒนาการบริหารจัดการน้ำเพื่อรองรับ EEC ในระยะ 10 ปี  ยังจำเป็นที่จะต้องมีแผนการพัฒนาและปรับปรุงระบบการจัดหาน้ำเพื่อใช้ในยามแล้งอื่น ๆ มารองรับอีกมากมายนัก  โดยเฉพาะการนำน้ำฝนที่มีปริมาณมากในพื้นที่ภาคตะวันออกมาเป็นแหล่งน้ำต้นทุน

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…