กรมชลพร้อมเดินหน้าผุดอ่างน้ำลาย การันตีชาวบ้านมีน้ำใช้-แก้แล้งยั่งยืน

โครงการ​อ่างเก็บ​น้ำ​น้ำ​ลาย​อัน​เนื่อง​มาจาก​พระราชดำริ​ เป็นโครงการฯที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริ​ให้กรมชลประทาน พิจารณา​วางโครงการ​ชลประทานใน​ลุ่มน้ำเลย​ ด้วยการพิจารณาสร้างอ่างเก็บน้ำในลำน้ำลาย​ สำหรับเป็นแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อให้ราษฎร​ในลุ่มน้ำ​เลย ได้ใช้ทำการเพาะปลูก​ทั้ง​ในฤดูฝนและฤดูแล้ง​ อีกทั้งยังใช้ในการอุปโภค​บริโภค​ได้ตลอดทั้งปี​ด้วย

“เฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์” รองอธิบดีกรมชลประทาน ระบุว่า โครงการอ่างเก็บน้ำน้ำลายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเลย สืบเนื่องมาตั้งแต่ปี 2520 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อธิบดีกรมชลประทานพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ชลประทานเข้าเฝ้าฯ และทรงมีพระราชดำริให้พิจารณาวางโครงการชลประทานลุ่มน้ำเลย เพื่อจัดหาน้ำให้ราษฎรในลุ่มน้ำเลยมีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคตลอดปี ทำการเพาะปลูกได้ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง

ทั้งนี้ การพัฒนาโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำลาย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเลย จำเป็นต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) เพราะพื้นที่อ่างเก็บน้ำอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าภูห้วยหมาก ป่าภูทอก และป่าภูบ่อบิด ในส่วนของป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม (โซน C) เกิน 50 ไร่ แต่ไม่เกิน 500 ไร่ เพื่อเสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) แล้วนำเข้าสู่วาระการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ พิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ (คชก.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อรายงาน และกรมป่าไม้ (คณะกรรมการพิจารณาการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ) ประกอบการพิจารณาอนุญาตใช้พื้นที่ก่อสร้างตามขั้นตอนต่อไป

รองอธิบดีกรมชลประทาน ระบุอีกว่า จากการศึกษาพบว่า ความเหมาะสมเบื้องต้น โครงการจะตั้งอยู่หมู่ที่ 5 บ้านไร่ทาม ตำบลนาอาน อำเภอเมือง จังหวัดเลย ประกอบไปด้วยอาคารหัวงาน อาคารประกอบทางระบายน้ำล้น และอาคารระบายน้ำลงลำน้ำเดิม (River Outlet) และอาคารท่อส่งน้ำ (Irrigation Outlet) ขบวนการตั้งแต่ทำการสำรวจและจ่ายค่าทดแทนที่ดินและทรัพย์สิน เตรียมงานเพื่อก่อสร้าง งานเขื่อนดินและอาคารประกอบ ไปจนถึงระบบการส่งน้ำ ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปี ซึ่งมีการวิเคราะห์ด้านเศรษฐศาสตร์แล้วว่าให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงทุน

สำหรับพื้นที่โครงการทั้งหมดประมาณ  16,609.54 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่รับประโยชน์ 13,249 ไร่ พื้นที่หัวงานโครงการ 64.41 ไร่ พื้นที่อ่างเก็บน้ำ 2,985 ไร่ ท่อส่งน้ำ 298.14 ไร่ และถนนทางเข้าหัวงาน 9.99 ไร่ เป็นพื้นที่ชลประทาน 13,249 ไร่ ใช้ระบบส่งน้ำแบบท่อและคลองส่งน้ำรูปตัวยู ครอบคลุม 2 ตำบลในเขตอำเภอเมือง จ.เลย ได้แก่ ตำบลนาอาน และตำบลชัยพฤกษ์

“เรามีเป้าหมายเพื่อจะสร้างอ่างเก็บน้ำให้กับประชาชน ซึ่งประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ ไม่มีแหล่งน้ำไว้เพาะปลูก ไม่มีแหล่งน้ำไว้สำหรับอุปโภคบริโภคตลอดจนสัตว์เลี้ยงในฤดูแล้ง รวมทั้งเป็นน้ำต้นทุน สำหรับผลิตน้ำประปาของเมืองเลย และจะสามารถบรรเทาความเสียหายเนื่องจากอุทกภัยได้ โดยโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำลายจะช่วยสนับสนุนการเพาะปลูกพืชเกษตรและเพิ่มพูนผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต”

ด้าน “ไพเราะ ชุมพล” ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 บ้านไร่ทาม ต.นาอาน อ.เมืองเลย ระบุว่า ในส่วนของชาวบ้านบางส่วนยังมีความกังวลเกี่ยวกับการย้ายออกจากพื้นที่เดิมซึ่งเคยอยู่อาศัย เพราะยังไม่มีพื้นที่สำรองไว้รองรับ อีกทั้งยังกังวลว่าเงินที่ได้จากการชดเชยจากภาครัฐไม่เพียงพอต่อการไปเริ่มต้นอาชีพใหม่ แต่ก็ไม่ได้คัดค้านโครงการ เนื่องจากกรมชลประทานได้เปิดโอกาสให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบเข้าไปจับจองพื้นที่ทำกินเป็นกลุ่มแรก หลังจากโครงการสำเร็จแล้ว ทำให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของชาวบ้านในการที่จะสร้างอาชีพใหม่ๆ อาทิ การทำประมง การเลี้ยงปลากระชัง การทำร้านอาหาร หรืออาชีพที่รองรับการท่องเที่ยว เป็นสิ่งทดแทนอาชีพเกษตรกรที่ผลผลิตในแต่ละปีไม่มีความแน่นอน

สำหรับอ่างเก็บน้ำน้ำลาย แห่งนี้ ได้ผ่านการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นแล้ว โดยได้จัดปัจฉิมนิเทศปิดโครงการ โดยได้เชิญผู้แทนจากหน่วยงานราชการระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบล องค์กรภาคประชาชน ผู้นำชุมชน ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากโครงการฯ และสื่อมวลชน เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน พร้อมทั้งได้นำเสนอและรับฟังผลการศึกษาความเหมาะสมของโครงการฯ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ศึกษาโครงการฯและทุกภาคส่วน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปประมวลผลพัฒนาโครงการฯให้ตรงกับความต้องการของประชาชนให้มากที่สุด และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไป

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำ…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว จังหวั…