เดิมพันน้ำปีหน้า รอความหวังอีก 30 วัน

สถานการณ์น้ำในฤดูฝนปี 2563 อยู่ในภาวะน่ากังวล

รอพิสูจน์ 30 วันสุดท้าย

ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง 447 แห่งทั่วประเทศ อยู่ในระดับ 48% ของความจุ น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ในระดับ 65%

เหลือเวลาไม่เกิน 30 วันสุดท้าย (กลางกันยายน-กลางตุลาคม) ที่จะพิสูจน์ว่า จะฉุดตัวเลขน้ำขึ้นมาได้อย่างไร

พายุโซนร้อนโนอึลจากเวียดนามจะขึ้นฝั่งไทยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แล้วค่อยวกไปภาคเหนือและลงมาภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ จะช่วยเติมน้ำได้มากน้อยเพียงใด ยังเป็นที่จับตาอย่างระทึก           

เพราะปลายฤดูฝนปี 2562 ได้อิทธิพลจากพายุโซนร้อนโพดุลมาช่วยชีวิตในนาทีสุดท้ายเช่นกัน ทำเอา จ.อุบลราชธานี ประสบอุทกภัยเสียหายไม่น้อย แต่ด้านดีก็จะช่วยเติมน้ำในอ่างได้มากพอสมควร

กรมอุตุนิยมวิทยายังคาดการณ์ว่า จากช่วงปลายเดือนกันยายน-ต้นเดือนตุลาคม ยังมีโอกาสที่พายุอาจพาดผ่านเข้ามา ซึ่งยังเป็นอะไรที่ไกลเกินกว่าจะสัมผัสถึงความเป็นจริงได้เท่ากับพายุโซนร้อนโนอึลที่กำลังก่อตัวอยู่ในขณะนี้

ถ้าดูปริมาณน้ำในขณะนี้แล้ว ชวนให้ห่วงกังวล มีน้ำใช้การรวมๆ เพียง 13,000 ล้าน ลบ.ม. หรือเท่ากับความจุเขื่อนภูมิพลเพียงเขื่อนเดียว สำหรับใช้กันทั่วประเทศ มันจะพอยาไส้ที่ไหน

 ภาคกลางมีน้ำน้อยที่สุด 18% ของความจุ ภาคอีสาน 38% ภาคเหนือ 43% ภาคตะวันออก 45% ภาคใต้ 51% และภาคตะวันตก 60%

การเข้ามาของโนอึล จึงเป็นความหวังของคนไทยยิ่งกว่าอื่นใด

การที่ปริมาณน้ำโดยรวมทั้งประเทศอยู่ 49% ของความจุในช่วงปลายฤดูฝนคือความเสี่ยง ทั้งเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง 2563/2564 ที่จะมาถึง (1 พฤศจิกายน 2563-30 เมษายน 2564) ส่งผลกระทบต่อการทำนาปรัง น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคและน้ำรักษาระบบนิเวศน์ที่น้ำทะเลจะรุกคืบขึ้นมาไกล เพราะน้ำในเขื่อนมีอยู่จำกัด

นอกจากนั้น ยังทำให้การเติมน้ำเข้าอ่างเก็บน้ำในฤดูฝน 2564 (1 พฤษภาคม-31 ตุลาคม 2564) เป็นไปด้วยความยากลำบาก ต้องมีปริมาณฝนมากอย่างมีนัยสำคัญจึงเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างได้มากอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ

อ่างเก็บน้ำของเขื่อนต่างๆ เก็บน้ำในฤดูฝนเอาไว้ใช้สำหรับฤดูแล้งถัดไป โดยในฤดูฝนกรมชลประทานจะให้เกษตรกรใช้น้ำฝนเป็นหลักในการเพาะปลูก และใช้น้ำในอ่างเก็บน้ำเป็นน้ำสนับสนุน แต่เมื่อน้ำในอ่างเก็บน้ำมีน้อยจึงต้องสงวนไว้ในอ่างให้ได้มากที่สุด เพราะเป็นน้ำในอนาคต

ฤดูฝนปีไหนเก็บน้ำในอ่างได้น้อย หมายความว่าฤดูแล้งถัดไป เราต้องเผชิญปัญหาน้ำอย่างน้อย 6 เดือน จนกว่าจะเข้าฤดูฝนอีกครั้ง

ช่วงเวลาไม่เกิน 30 วันอันตรายต่อจากนี้ จึงเป็นช่วงเวลาระทึกใจจริงๆ

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำ…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว จังหวั…