พม. ช่วยเคหะส่งเสริมพัฒนาสินค้าชุมชน

กระทรวง พม. พร้อมช่วยเหลือชาวชุมชนของการเคหะแห่งชาติที่ได้รับผลกระทบโควิด และประสบปัญหาว่างงาน ผลักดันและต่อยอดพัฒนาโครงการสินค้าชุมชนการเคหะ ลดต้นทุนผลิต–เพิ่มช่องทางจำหน่าย–เพิ่มรายได้-เพิ่มคุณภาพชีวิต สามารถส่งค่าเช่าหรือผ่อนส่งที่อยู่อาศัยได้

               นางพัชรี อารยะกุล รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวเปิดการสัมมนาโครงการพัฒนาสินค้าชุมชนของการเคหะแห่งชาติว่า กระทรวง พม. มอบหมายให้การเคหะแห่งชาติพัฒนาสินค้าชุมชน เนื่องจากผลกระทบด้านการผลิตจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ประเทศไทยมีคนตกงานและว่างงานถึง 8 ล้านคน ส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อคนในชุมชนการเคหะแห่งชาติซึ่งเป็นผู้มีรายได้น้อย โดยผลกระทบทางเศรษฐกิจจะขยายเป็นผลกระทบทางสังคม ซึ่งกระทรวง พม. ต้องอ้าแขนรองรับในที่สุด

               “ในเมื่อชุมชนของการเคหะแห่งชาติผลิตสินค้าชุมชนอยู่แล้ว เราจึงมองว่าทำอย่างไรให้สินค้าชุมชนเหล่านี้ได้พัฒนาต่อยอดให้ได้รับความนิยม ทั้งคุณภาพ รูปแบบ การใช้งาน และเพิ่มมูลค่า จากเดิมที่ผลิตไปแล้วอาจไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากนัก อีกทั้งการคำนวณต้นทุนโดยไม่คำนึงถึงค่าแรง การตั้งราคาขายต่ำกว่าท้องตลาด พอขายออกไปก็ไม่มีกำไรพอซื้อวัตถุดิบมาผลิตในครั้งต่อไป แต่การอบรมที่จัดขึ้นนี้จะเป็นการเปิดแนวคิดใหม่ จะช่วยให้สินค้าชุมชนพัฒนาการผลิตสินค้าได้ดีขึ้น ต้นทุนต่ำลง และมีผลกำไรเพียงพอแก่การดำรงชีวิตด้วย” นางพัชรีกล่าว

               รองปลัดกระทรวง พม. กล่าวอีกว่า ไม่เพียงแต่ส่งเสริมการพัฒนาสินค้าชุมชน หากแต่การเคหะแห่งชาติยังมีบทบาทในการช่วยชุมชน โดยการช่วยวางแผนการขยาย เพิ่มช่องทางจำหน่าย ทั้งในระดับชุมชนการเคหะแห่งชาติด้วยกัน และถึงขั้นส่งออก เพราะมีตัวอย่างให้เห็นในสินค้าชุมชนอยู่แล้ว

               ทั้งนี้ ประโยชน์จากการพัฒนาสินค้าชุมชนเคหะแห่งชาติคือผู้อาศัย ไม่ว่าผู้เช่าหรือผู้เช่าซื้อมีรายได้เพิ่มขึ้น มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถในการชำระค่าเช่าหรือค่าผ่อนส่งที่อยู่อาศัยให้กับการเคหะแห่งชาติด้วย

               “การเคหะแห่งชาติมีฝ่ายการตลาดที่มีภารกิจในการขายที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อย – ปานกลางเป็นหลัก ตอนนี้ก็ขยับมาช่วยขายสินค้าชุมชนเพื่อช่วยผลักดันให้สินค้าชุมชนเกิดการพัฒนายิ่งขึ้น

การสัมมนาดังกล่าว การเคหะแห่งชาติได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญจาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาช่วยวิเคราะห์ปัญหาและแก้ไข ทั้งในแง่รูปแบบ สีสัน การบรรจุภัณฑ์ ร่วมกับ 11 ชุมชนเคหะที่ผลิตสินค้าชุมชนอยู่แล้ว ตลอดจนการเพิ่มช่องทางจำหน่ายทางออนไลน์

               โครงการดังกล่าวมีสินค้า 4 กลุ่ม 11 สินค้า (จาก 11 ชุมชน) ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้า หัตถกรรมจากดินญี่ปุ่น ของใช้สัตว์เลี้ยง และอาหาร ซึ่งจะดำเนินการถึงขั้นผลิตตามรูปแบบใหม่ที่พัฒนาแล้ว และเพิ่มช่องทางการจำหน่ายทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์เพื่อกระจายการขายสินค้าในวงกว้างขึ้น

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำ…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว จังหวั…