ชลประทานเดินหน้าสานประโยชน์ชุมชนสู่ความมั่นคงด้านน้ำ

กว่า 118 ปี กรมชลประทานได้ทำหน้าที่บริหารจัดการน้ำขยายพื้นที่จากที่เริ่มต้น ประมาณ 680,000ไรเป็นกว่า 33.98 ล้านไร่

ดร.ทองเปลว  กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน  ได้สรุปรูปแบบการดำเนินงานของกรมชลประทานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันเป็น 4 ยุคสมัย

ยุคแรกนั้นเป็นยุคจัดหา ดำเนินการเพื่อจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกรรม มีการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ เช่น โครงการป่าสักใต้ : เขื่อนพระราม 6 ซึ่งเป็นเขื่อนทดน้ำแห่งแรกของประเทศไทย  ประกอบด้วยเขื่อนทดน้ำปิดกั้นแม่น้ำป่าสักพร้อมระบบส่งน้ำ  รวมพื้นที่รับประโยชน์ 680,000 ไร่ การขุดคลองระพีพัฒน์

ยุคที่ 2 เป็น ยุคจัดเก็บ เร่งดำเนินการก่อสร้างโครงการชลประทานให้ครอบคลุมทั่วประเทศ  มีการก่อสร้างแหล่งเก็บกักน้ำหลักบนลำน้ำสาขาต่าง ๆ

ยุคที่ 3 เป็นยุคจัดสรร เป็นยุคของการขยายการชลประทานเพื่อจ่ายน้ำให้การเกษตรและพัฒนาระบบชลประทาน นำน้ำเข้าสู่ไร่นาแปลงเกษตรกรรม  ด้วยการดำเนินงานก่อสร้างระบบคันคูน้ำและจัดรูปที่ดิน  เพื่อแพร่กระจายน้ำให้แก่พื้นที่เกษตรกรรมได้อย่างทั่วถึง   มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำเป็นภาคีเครือข่าย,ทำระบบโทรมาตรเพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นรูปธรรม ,บริหารจัดการระบบชลประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม, จัดตั้งคณะกรรมการจัดการชลประทานเพื่อพิจารณาแผนการส่งน้ำ , แผนการบำรุงรักษาระบบชลประทาน และประเมินผลการดำเนินงาน ,มีการใช้พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  โดยจัดรูปที่ดินให้สมบูรณ์ทั่วถึงทุกแปลง เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต การจัดระบบน้ำ จัดระบบชลประทานจากทางน้ำชลประทานในพื้นที่เกษตรกรรมได้อย่างทั่วถึง ปัจจุบัน พื้นที่จัดระบบน้ำ 11,209,820 ไร่ พื้นที่จัดรูปที่ดิน 2,017,298 ไร่ รวม 13.227 ล้านไร่ กำหนดเป้าหมายพื้นที่ทั้งหมดตามศักยภาพการพัฒนา 14.461 ล้านไร่ ตามแผนแม่บทการจัดรูปที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2558

ยุคที่ 4 เป็นยุคที่การดำเนินการของกรมชลประทานจะต้องสอดคล้องกับหลากหลายกิจกรรมในสังคม  การวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนางานชลประทานอย่างมีทิศทาง ภายใต้ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12 และแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำ 20 ปี

เป็นยุคที่การดำเนินงานจะต้องสอดประสานกับองค์ประกอบของสังคมในทุก ๆ ด้านอย่างลงตัว  ต้องศึกษาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมในทุก ๆ ด้าน ทั้งต่อทรัพยากรธรรมชาติ  คุณภาพสิ่งแวดล้อม  สุขภาพ อนามัย และคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน

ดร.ทองเปลวได้กล่าวว่าการจะ“มุ่งสู่ความมั่นคงด้านน้ำ”ในยุคนี้  กรมชลประทานจะต้องมีการวางยุทธศาสตร์ที่พร้อมจะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่ส่งผลต่อน้ำแล้ง น้ำหลาก  การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของชุมชนทั้งในด้านการขยายตัวของพื้นที่และจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรอบคอบรัดกุม

โดยเฉพาะการจัดเตรียมมาตรการป้องกันภัยแล้งและอุทกภัยด้วยการแจ้งเตือนให้ทุกชุมชนได้ทราบกันล่วงหน้า  เพื่อแสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

การจะบรรลุเป้าหมาย “ความมั่นคงด้านน้ำ” กระบวนจัดการน้ำ  จึงต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นธรรมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง  โดยยึดประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติเป็นหลัก

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำ…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว จังหวั…