กรมชลเร่งหาแนวทางแก้น้ำยมแห้งแล้ง

กรมชลประทานเดินหน้าศึกษา 2 โครงการส่งน้ำใน 2 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ โครงการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผละกระทบสิ่งแวดล้อม อาคารบังคับน้ำหาดอ้อน จังหวัดแพร่ และโครงการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผละกระทบสิ่งแวดล้อม อาคารบังคับน้ำเกาะน้อย จังหวัดสุโขทัย ตั้งเป้าเมื่อโครงการทั้ง 2 แห่งแล้วเสร็จจะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำต้นทุนให้กับประชาชนในพื้นที่ใช้เพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภคที่มั่นคงมากขึ้นได้

               นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า โครงการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผละกระทบสิ่งแวดล้อม อาคารบังคับน้ำหาดอ้อน จังหวัดแพร่ (ประตูระบายน้ำหน้าด่านวังขอนแดง) ตั้งอยู่บ้านวังชิ้น ตำบลวังชิ้น อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ พื้นที่โครงการดังกล่าวจะรวม 53,776 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ชุมชน/ที่อยู่อาศัยและองค์ประกอบของระบบชลประทาน 21,214 ไร่ เป็นพื้นที่ชลประทานประมาณ 32,562 ไร่ ในที่นี้ประกอบด้วยพื้นที่ส่งน้ำด้วยแรงโน้มถ่วง 11,805 ไร่ (ระดับพื้นที่ไม่เกิน +110.00 ม.รทก.) และพื้นที่ส่งน้ำด้วยสถานีสูบน้ำโดยไฟฟ้า 20,757 ไร่ (ระดับพื้นที่ระหว่าง +110.00 ถึง +130.00 ม.รทก.) มีคลองส่งน้ำชลประทานสายหลักรวม 5 สาย ความยาวรวม 84.285 กม. และมีสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 2 แห่ง

               ทั้งนี้ ลักษณะทางอุทกวิทยาของพื้นที่รองรับน้ำฝน 10.134 ตร.กม. ประมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีอยู่ประมาณ 1,152 มม. น้ำท่าเฉลี่ย 2,455 ล้าน ลบ.ม./ปี ความจุของลำน้ำที่ระดับเก็บกักปกติอยู่ที่ 25.88 ล้าน ลบ.ม. สรุปการศึกษาวางแผนโครงการได้ลักษณะองค์ประกอบที่เหมาะสมคือ หัวงานจะเป็นประตูระบายน้ำก่อสร้างในช่องลัดบริเวณบ้านวังชิ้น ความยาว 652 ม. มีทำนบดินปิดกั้นลำน้ำเดิม 1 แห่ง ระดับเก็บกักปกติ +110.00 ม.รทก. ชนิดอาคาร คสล.ควบคุมด้วยบานระบายเหล็กโค้งจำนวน 6 บาน สามารถระบายน้ำได้ 3,392 ลบ.ม./วินาที ทำนบดินปิดกั้นลำน้ำเป็นดินถมแกนดินเหนียวความยาว 130 ม. ความยาวคันกั้นน้ำ 4,888 ม. มีอาคารระบายน้ำ 8 แห่ง

               ถัดมาคือ โครงการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผละกระทบสิ่งแวดล้อม อาคารบังคับน้ำเกาะน้อย จังหวัดสุโขทัย (ประตูระบายน้ำบ้านหาดเสี้ยว) ตั้งอยู่บริเวณหมู่ที่ 4 บ้านใหม่ ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีพื้นที่โครงการรวม 39,173 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่สูงพื้นที่ชุมชน/ที่อยู่อาศัย และองค์ประกอบของระบบชลประทานประมาณ 9,655 ไร่ เป็นพื้นที่ชลประทานประมาณ 29,518 ไร่ แบ่งออกเป็นพื้นเพิ่มน้ำต้นทุนให้กับโครงการชลประทานหนองผักลุง โดยการส่งน้ำด้วยแรงโน้มถ่วงผ่านคลองชลประทาน (ฝั่งซ้าย) 13,191 ไร่ พื้นที่ส่งน้ำด้วยแรงโน้มถ่วง (ฝั่งขวา) 9,572 ไร่ พื้นที่สูบน้ำด้วยไฟฟ้า (ฝั่งขวา) 6,755 ไร่ มีคลองส่งน้ำชลประทานสายหลักรวม 3 สาย ความยาวรวม 42.272 กม. และสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 1 แห่ง

               โดยลักษณะทางอุทกวิทยามีพื้นที่รองรับน้ำฝน 12,656 ตร.กม. ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,188 มม./ปี น้ำท่าเฉลี่ย 2,924 ล้าน ลบ.ม./ปี ลักษณะความจุตามลำน้ำระดับเก็บกักปกติ 9.35 ล้าน ลบ.ม. สรุปลักษณะองค์ประกอบที่เหมาะสมของโครงการหัวงานก่อสร้างประตูระบายน้ำจะอยู่ในลำน้ำยม ห่างจากวัดโบสถ์มณีรามไปทางด้านเหนือน้ำประมาณ 200 เมตร บริเวณบ้านใหม่ ชนิดอาคาร คสล. ควบคุมด้วยบานระบายเหล็กโค้งจำนวน 6 บาน จะสามารถระบายน้ำได้ 2,266 ลบ.ม./วินาที

สำหรับโครงการอาคารบังคับน้ำบ้านเกาะน้อย ที่ตั้งโครงการที่เหมาะสม อยู่บริเวณหมู่ที่ 4 บ้านใหม่ ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ลักษณะประตูระบายน้ำมีหัวงานก่อสร้างในลำน้ำยม อยู่ห่างจากวัดโบสถ์มณีรามไปทางด้านเหนือน้ำประมาณ 200 เมตร ความจุตามลำน้ำที่ระดับเก็บกักปกติ 9.35 ล้าน ลบ.ม. มีพื้นที่โครงการรวม 39,173 ไร่ แต่เมื่อหักพื้นที่สูงพื้นที่ชุมชน/ที่อยู่อาศัย และองค์ประกอบของระบบชลประทาน จะเป็นพื้นที่ชลประทานประมาณ 29,518 ไร่ แบ่งออกเป็น การเพิ่มน้ำต้นทุนให้กับโครงการชลประทานหนองผักลุงโดยการส่งน้ำด้วยแรงโน้มถ่วงผ่านคลองชลประทาน (ฝั่งซ้าย) 13,191 ไร่ พื้นที่ส่งน้ำด้วยแรงโน้มถ่วง (ฝั่งขวา) 9,572 ไร่ พื้นที่สูบน้ำด้วยไฟฟ้า (ฝั่งขวา) 6,755 ไร่ มีคลองส่งน้ำชลประทานสายหลักรวม 3 สาย ความยาวรวม 42.272 กม. และสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 1 แห่ง

ส่วนอาคารบังคับน้าบ้านหาดอ้อน ที่ตั้งหัวงานก่อสร้างประตูระบายน้ำโครงการที่เหมาะสม อยู่บริเวณช่องลัด หมู่ที่ 2 บ้านวังชิ้น ตำบลวังชิ้น อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ความยาวช่องลัด 652 เมตร มีทำนบดินปิดกั้นลำน้ำเดิม 1 แห่ง ความจุตามลำน้ำความจุที่ระดับเก็บกักปกติ 25.88 ล้าน ลบ.ม. มีพื้นที่โครงการรวม 53,776 ไร่ แต่เมื่อหักพื้นที่สูงพื้นที่ชุมชน/ที่อยู่อาศัย และองค์ประกอบของระบบชลประทาน จะเป็นพื้นที่ชลประทานประมาณ 32,562 ไร่ แบ่งออกเป็น พื้นที่ส่งน้ำด้วยแรงโน้มถ่วง 11,805 ไร่ และพื้นที่ส่งน้ำด้วยสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 20,757 ไร่ มีคลองส่งน้ำชลประทานสายหลักรวม 5 สาย ความยาวรวม 84.285 กม. และสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 2 แห่ง

ทั้งนี้หากโครงการทั้ง 2 แห่งแล้วเสร็จจะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำต้นทุนให้กับประชาชนในพื้นที่ใช้เพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภคที่มั่นคงมากขึ้นได้

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…