สถานการณ์ฝนไม่เป็นใจ สถานการณ์น้ำยังน่ากังวล

แม้สถานการณ์ฝนในปี 2563 จะดูดี ชุ่มฉ่ำใจมากกว่าสถานการณ์ในปี 2562 ทั้งจากพายุฤดูร้อนหรืออิทธิพลพายุโซนร้อนนูริ ทำให้ฝนตกลงมาดูหนาตา อุณหภูมิก็ลดลง

               แต่โดยรวมๆ ต้องบอกว่า การ์ดสูงเข้าไว้ อย่าได้ตกเป็นอันขาด

               “ฝนยังไม่สม่ำเสมอ ช่วงต้นฤดูดี พอมาถึงช่วงนี้เริ่มแผ่ว” ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ยอมรับถึงสถานการณ์น้ำ ณ ขณะนี้ที่น่ากังวลใจพอสมควร เพราะจากนี้นับแต่ปลายเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม มักเป็นระยะเวลาที่ฝนทิ้งช่วง ไม่ตกเลยหรือตกน้อยมากไม่เกิน 1 มิลลิเมตรตลอดระยะเวลา 15 วัน

               ข้อมูลของ สทนช. เองสะท้อนถึงสภาพสถานการณ์น้ำได้ดี ปริมาณน้ำในแหล่งเก็บน้ำทั่วประเทศ อยู่ในเกณฑ์ทรงตัว 34,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ยิ่งถ้าย้อนกลับไปดูบัญชีน้ำเข้าอ่างเก็บน้ำกับน้ำระบายจะเห็นได้ว่า น้ำเข้าน้อยกว่าน้ำระบาย เพิ่งมาในระยะไม่กี่วันนี้เท่านั้นที่บางแห่งเริ่มมีน้ำระบายน้อยกว่าน้ำเข้าอ่าง เพราะมีฝนตกท้ายอ่าง จึงสั่งลดการระบาย เช่น เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์  เพื่อเก็บน้ำเอาไว้ให้ได้มากที่สุด รองรับระยะฝนทิ้งช่วงที่ต้องส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานในลุ่มน้ำเจ้าพระยาสำหรับทำนาปี รวมถึงผลักดันน้ำเค็ม

               ถ้าดูปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ของกรมชลประทานก็พบความน่ากังวลได้ชัดเจน เพราะเขื่อนที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30% ของความจุอ่างมากถึง 31 แห่งจากทั้งหมด 36 แห่ง (ข้อมูล 23 มิถุนายน 2563)

               สิ่งที่ สทนช. ดำเนินการ จึงพยายามประหยัดน้ำในอ่างไว้ พร้อมๆ กับการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างด้วยปฏิบัติการฝนหลวงเป็นตัวช่วย และการขุดเจาะบ่อบาดาล ซึ่งคาดหมายว่าทำได้อีกราวๆ กลางเดือนกรกฎาคม

               “เราเหลือช่วงเวลาสำคัญคือปลายฤดูฝน ตั้งแต่กลางกรกฎาคมไปจนกลางตุลาคม ตรงนี้เหมือนช่วงเดิมพันสถานการณ์น้ำ ถ้าตกเหนือเขื่อนมาก ปีหน้าไม่ต้องคอยเหนื่อยคอยลุ้น แต่ถ้ายังตกน้อย กักเก็บได้น้อย ก็เป็นปัญหาที่ต้องหาทางแก้ไขต่อไป แต่โดยรวมแล้วก็น่าจะดีกว่าปีที่แล้ว” เลขาธิการ สทนช. กล่าว

               จากนั้นเข้าสู่ฤดูฝนเต็มตัว พร้อมๆ กับเข้าสู่โหมดป้องกันน้ำท่วม นับแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไปคาดว่าจะมีฝนมากขึ้นอย่างจริงจัง  สทนช.ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ภายใต้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติได้วางแผนเตรียมการรองรับเอาไว้แล้ว อาทิ การกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ทั้งการขุดตะกอนดิน กำจัดผักตบชวา ปรับปรุงอาคารน้ำ เพิ่มแหล่งน้ำใหม่จากงบกลาง ปรับกระบวนการบริหารจัดการน้ำเขื่อนใหม่ และ ฯลฯ ภายใต้การดำเนินงานของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งจัดตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรีตั้งแต่เดือนมกราคม 2563

               การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เป็นปรากฏการณ์นำไปสู่ New Normal ได้เช่นกัน ทั้งการทำงานของหน่วยงานน้ำและประชาชนทั่วไปที่ต้องตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนกว่าเดิม

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…