ชลประทานกับงานสิ่งแวดล้อมเพื่อประโยชน์สูงสุด

**แสนไชย เค้าภูไทย

ช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี่ ผมเดินทางไปติดตามทีมงานของกรมชลประทานที่มีท่านเฉลิมเกียรติ รองอธิบดีฝ่ายวิชาการไปติดตามผลการศึกษาการและประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม( Environmental Impact Assessment – EIA)ที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการต่าง ๆ ของกรมชลประทาน ในหลายพื้นที่

แต่ละครั้งที่เดินทางไปกับท่านรองอธิบดี นอกจากเรื่องข่าวที่เป็นเป้าหมายของงานโดยตรงแล้ว ผมยังถือโอกาสเรียนถามข้อมูลและความเห็นของท่านเกี่ยวกับงานของกรมชลประทานในส่วนที่จะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทั้งทางสังคมและป่าไม้ หลายเรื่องก็เข้าใจกันทันที เรื่องไหนที่ไม่ชัดเจนก็ถามทีมงานของท่านหรือน้อง ๆ นักข่าวสายตรงเพิ่มเติมที่ตกหล่นก็กลับมาค้นเอาจากอินเตอร์เน็ต

ที่คุยกันหลายครั้งเป็นเรื่องของการนำระบบชลประทานมาสนับสนุนการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ เพราะโดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าต้นไม้ในป่าก็ต้องการน้ำเหเช่นเดียวกับต้นไม้ในสวน พืชผักในไร่และข้าวในนา ฉะนั้น หากมีการสร้างอ่างเก็บน้ำหรือฝายขนาดใหญ่ในพื้นที่ป่าต้นน้ำมาก ๆ โดยทำคู่ไปกับการปลูกป่าฟื้นฟูสภาพนิเวศน์ที่เสื่อมสูญจากการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า โอกาสที่จะพลิกสภาพป่าต้นน้ำที่ทรุดโทรมให้ฟื้นตัวจะเร็วขึ้น ตามข้อกำหนดกรมชลประทานต้องปลูกป่าทดแทนที่เสียหายอย่างน้อย 1 เท่าตัว แต่ในทางปฏิบัติมักจะปลูกเกินกว่าที่กำหนด บางพื้นที่ยังประสานร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติและกรมป่าไม้เพื่อช่วยป้องกันการบุกรุกทำลายป่าด้วย

ที่สำคัญกว่าคือผลกระทบต่อคนในชุมชน หลายครั้งที่ลงพื้นที่ชาวบ้านจะถามว่า อ่างเก็บน้ำที่จะสร้างเสร็จเมื่อไหร่แล้ว กับ พวกเขาจะได้รับค่าชดเชยอย่างไร?

คำถามแรก ถามเพราะอยากจะได้อ่างไว้เก็บน้ำเร็ว ๆ ท่านรองฯก็จะอธิบายขั้นตอนต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่การศึกษาความเหมาะสม การศึกษาผลกระทบจนกระทั่งถึงการออกแบบ จัดสรรงบประมาณจนลงมือสร้าง กว่าจะเสร็จก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อยที่สุดก็ประมาณ 3 ปี ส่วนคำถามที่สองเป็นเรื่องของผู้ที่ต้องเสียที่ทำกินบางส่วนหรือทั้งหมด ท่านก็จะยืนยันให้ชาวบ้านมั่นใจว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจะต้องได้รับค่าชดเชยที่เป็นธรรม เพราะจะมีคณะกรรมการกลางมาร่วมพิจารณา

ที่ได้เห็นทุกครั้งที่ลงพื้นที่คือ ชาวบ้านหลายคนทั้ง ๆ ที่รู้ว่าการสร้างอ่างเก็บน้ำจะทำให้เขาต้องเสียที่ทำกินบางส่วนหรือทั้งหมด แต่เขาก็ยินดีเสียสละ เพราะทุกคนเข้าใจดีว่า การเสียสละของพวกเขาจะช่วยให้เพื่อนร่วมชุมชนได้มีน้ำใช้และตนเองก็จะได้รับการชดเชยที่เหมาะสม ขณะเดียวกันการเสียสละของเขาก็จะช่วยให้คนปลายน้ำไม่ต้องเผชิญกับภัยจากน้ำท่วมน้ำหลาก

สำหรับกระบวนการทำงานที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม กรมชลประทานจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ประกอบด้วย

1.Environmental and Health Impact Assessment( EHIA) การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับ โครงการ กิจการหรือการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อ ทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง

  1. Environmental Impact Assessment (EIA) การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียอื่นใดของประชาชนหรือชุมชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบดังกล่าว
  2. Initial Environmental Examination (IEE) การศึกษาและตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น เพื่อวางแนวทางเลือกเบื้องต้น สำหรับใช้ประกอบการศึกษาและออกแบบเพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่มีความเหมาะสม พร้อมกับหามาตรการส่งเสริมและปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อดำเนินการศึกษาสำรวจสภาพสิ่งแวดล้อมปัจจุบันและผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงโครงการ
  3. Environmental Checklist(EC) การจัดทําข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อตรวจสอบและประเมินผลกระทบที่เกิดจากโครงการจากข้อมูลทุติยภูมิเป็นส่วนใหญ่
  4. Environmental Impact Mitigation Plan(EIMP) มาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบ เพื่อป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

ทั้งหมดนี้คือบริบทที่กรมชลประทานต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับข้อกำหนด เพื่อควบคุมให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด แต่ได้ประโยชน์สูงสุด

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำ…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว จังหวั…