ผ่อนเช่าซื้อไม่ไหว การเคหะให้เช่าแทน

การเคหะแห่งชาติปรับทิศทางหลังวิกฤติโควิด-19 หันไปปล่อยเช่ามากขึ้น ทั้งโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและโครงการที่กำลังก่อสร้าง  พร้อมดูแลลูกค้าที่ได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่  ผ่อนส่งเช่าซื้อไม่ไหวให้ปรับเป็นเช่าแทน มีกำลังเมื่อไหร่ค่อยกลับมาเช่าซื้อต่อ (Rent to Buy)

               นายวิญญา  สิงห์อินทร์  รองผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ รักษาการผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ เปิดเผยว่า วิกฤติไวรัสโควิด-19 ระบาดส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจกำลังซื้อของผู้มีรายได้น้อย ดังนั้นการเคหะแห่งชาติจึงต้องปรับแนวทางการบริหารตลาดใหม่ โดยปรับสัดส่วนที่อยู่อาศัยไปสู่ระบบการเช่าแทนการเช่าซื้อมากขึ้น ทั้งโครงการที่มีอยู่ในปัจจุบันและโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยใหม่ เพื่อตอบสนองข้อจำกัดทางการเงินของ
ผู้มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นตลาดหลักของการเคหะแห่งชาติ

               สำหรับลูกค้าเช่าซื้อของการเคหะแห่งชาติ หากไม่สามารถผ่อนชำระค่าเช่าซื้อรายเดือนได้ การเคหะแห่งชาติจะพยายามช่วยเหลือ โดยปรับไปเป็นลูกค้าเช่า และจ่ายค่าเช่ารายเดือนไปก่อนภายใน 2 ปี หากมีกำลังจ่ายเพิ่มขึ้นก็สามารถกลับมาเป็นลูกค้าเช่าซื้อได้เหมือนเดิม (Rent to Buy)

               “ในสถานการณ์อย่างนี้ ผมกำชับพนักงานหน้างานของการเคหะแห่งชาติต้องเข้าใจลูกค้าและพยายามช่วยเหลือ เพราะไม่มีใครอยากทิ้งสัญญา ทุกคนเช่าซื้อก็เพราะอยากมีบ้านเป็นของตัวเอง ส่วนการเคหะแห่งชาติก่อตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยตั้งแต่แรกเริ่ม ดังนั้นเราจึงต้องช่วยกันอย่างถึงที่สุด” นายวิญญา กล่าว

               ที่ผ่านมา การเคหะแห่งชาติได้ออกมาตรการเช่าทั่วไทย เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ 2563 โดยจัดหาที่อยู่อาศัย 10,000 หน่วย ให้ผู้มีรายได้น้อยเช่าในอัตราเริ่มต้น 999 บาท/เดือน ขณะนี้นอกจากเปิดให้มีการลงทะเบียนเช่าแล้ว ยังร่วมมือกับกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ซึ่งมีผู้ลงทะเบียนประสงค์หางานทำกว่า 25,000 อัตรา หากได้งานใหม่และไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองก็สามารถเข้าสู่ระบบเช่าทั่วไทยของการเคหะแห่งชาติ ซึ่งจะเกิดประโยชน์กับผู้ที่ได้งานทำ สามารถประหยัดค่าเช่าจากระดับ 2,500-3,000 บาท เหลือเพียง 999 บาท แถมไม่ต้องเดินทางไกลประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วย

               รักษาการผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า  วิกฤติการณ์โควิด-19 แม้อาจมีผลกระทบอีกระยะหนึ่ง แต่ในขณะนี้รัฐบาลก็เริ่มผ่อนปรนมาตรการที่เคยจำกัดเข้มงวด อาทิ การกำหนดเวลาห้ามออกนอกเคหะสถาน การเดินทาง การค้าขาย การทำกิจกรรมต่างๆ  ทำให้ผู้อยู่อาศัยในโครงการที่ได้รับผลกระทบในระยะ 2-3 เดือนแรก เริ่มขยับขยายมีงานทำ มีรายได้ นอกเหนือจากที่การเคหะแห่งชาติใช้มาตรการช่วยเหลือด้านการเงิน พักชำระค่าเช่าซื้อ ปลอดค่าเช่า ให้การดูแลในช่วงวิกฤติการณ์มาก่อน

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…