ผนึกน้ำภาคตะวันออกเป็นหนึ่งเดียวกัน

ภาคตะวันออก ประกอบด้วย 7 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี และสระแก้ว

              ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา วางตัวเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เสมือนเป็นสัญลักษณ์ของภาคที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย ล้อตามรูปรอยเดิมคือพื้นที่อุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก (อีสเทิร์นซีบอร์ด)

              น้ำเป็นปัญหาสำคัญของภาคนี้ เพราะลักษณะของภาคการผลิตและภาคบริการล้วนต้องการใช้น้ำ ทั้งการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว 3 ขาเศรษฐกิจที่ทำรายได้เข้าประเทศมากมาย

              “พอเพิ่มเป็นพื้นที่อีอีซีด้วย เลยเป็นโจทย์ใหญ่ตามมาว่า ต้องมีน้ำเพียงพอ เพื่อสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนภาคอุตสาหกรรม” ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์  เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าว

              จริงๆ แล้ว อีก 2 ขาเศรษฐกิจที่เหลือของพื้นที่อีอีซี ไม่ว่าการเกษตรที่เน้นแหล่งปลูกไม้ผลของประเทศ และการท่องเที่ยว ล้วนเป็นภาคที่ต้องการน้ำมั่นคงไม่แพ้กัน จำเป็นต้องพัฒนาให้เกิดความมั่นคงด้านน้ำให้ได้

              ว่าไปแล้วก็คล้ายกับกรุงเทพฯ และพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ที่ต้องอาศัยน้ำจากเขื่อนขนาดใหญ่ทางภาคเหนือ คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในภาคกลาง  ซึ่งในยามวิกฤติอย่างปีนี้ยังต้องอาศัยน้ำจากเขื่อนใหญ่ภาคตะวันตก อย่างเขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ

สถานการณ์น้ำภาคตะวันออกในช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมา (พฤศจิกายน 2562-30 เมษายน 2563) อยู่ในภาวะตึงตัวมาก  มีการบริหารจัดการโดยใช้หลายๆ มาตรการอย่างไม่เคยมีมาก่อน ทั้งการผันน้ำในเครือข่าย 3 จังหวัดอีอีซี จากอ่างเก็บน้ำประแสร์ไปยังอ่างฯ หนองปลาไหล และอ่างฯ คลองใหญ่ หรือการสูบน้ำเจ้าพระยา จากบริเวณคลองพระองค์ไชยานุชิตไปเติมอ่างฯ บางพระ  ซึ่งดำเนินการเป็นประจำอยู่ก่อนแล้ว

ที่เป็นเรื่องใหม่ คือการระบายน้ำจากเขื่อนนฤบดินทรจินดา จ.ปราจีนบุรี ลงแม่น้ำบางปะกง ก่อนสูบไปเติมอ่างฯ บางพระ หรือการปันน้ำเป็นครั้งแรก 10 ล้านลูกบาศก์เมตร จากอ่างเก็บน้ำประแกด จ.จันทบุรี ลงคลองวังโตนด แล้วผันไปเติมอ่างฯ ประแสร์ จ.ระยอง เพื่อส่งต่อยังเครือข่ายในอีอีซี

              สทนช. ยังวางแผนเพิ่มเติมอีก คือผันน้ำจากอ่างฯ พระสะทึง จ.สระแก้ว มาเติมอ่างฯ สียัด จ.ฉะเชิงเทรา สามารถผันลงมาเติมอ่างฯ บางพระได้ การฟื้นโครงการพัฒนาอ่างฯ คลองโพล้ จ.ระยอง ความจุ 40 ล้าน ลบ.ม. หรือการลงทุนเพิ่มระบบสูบกลับมากขึ้น เพื่อเติมน้ำในอ่างฯ ต่างๆ ภายในอีอีซี เช่น การสูบกลับน้ำจากคลองสะพานท้ายอ่างฯ ประแสร์เติมอ่างฯ ประแสร์ การสูบกลับน้ำท้ายอ่างฯ หนองปลาไหล

              “เป็นการบริหารจัดการน้ำที่ใช้การพัฒนาทุกรูปแบบ สร้างเครือข่ายน้ำภาคตะวันออกให้เข้มแข็ง พึ่งพาตัวเองได้” ดร.สมเกียรติกล่าว

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…