ดันคุณภาพคิวซี เป็นวาระเร่งด่วนแห่งชาติ

กระทรวงอุตสาหกรรม จับมือสมาคมส่งเสริมคุณภาพแห่งประเทศไทย จัด 3 งานใหญ่ มุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพภาคอุตสาหกรรม-รัฐวิสาหกิจ-ราชการและโรงพยาบาล ด้านรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลื้มผู้ประกอบการชูนวัตกรรม นำเทคโนโลยีเป็นกลไกสำคัญ ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตได้กว่าพันล้านบาท พร้อมเดินหน้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 

นายศิริรุจ จุลกะรัจน์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้ระบบเศรษฐกิจ ด้วยการส่งเสริมการนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาเป็นกลไกสำคัญในการยกระดับคุณภาพทุกภาคส่วนทั้งภาคการผลิตและบริการ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ร่วมกับสมาคมส่งเสริมคุณภาพแห่งประเทศไทยในการส่งเสริมให้ภาครัฐและเอกชน นำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ หรือ คิวซี มาปรับใช้ในองค์กรทำให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรและแก้ไขปัญหา นำมาสู่การปฏิบัติที่ก่อให้เกิดผลด้านบวก ช่วยลดต้นทุนและการสร้างนวัตกรรมต่างๆ ซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมไทยสู่มาตรฐานสากล และเตรียมพร้อมสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยการจัดงานมหกรรมคิวซีแห่งประเทศไทยครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นปีที่ 33 และยังรวมเอางานมหกรรมคุณภาพภาครัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 30 งานมหกรรมคุณภาพภาคราชการและโรงพยาบาลประจำปี 2562 และมหกรรมคุณภาพข้ามสายงาน ครั้งที่ 2 มาไว้ด้วยกัน เพื่อให้การทำกิจกรรมคุณภาพในหน่วยงานแพร่หลายยิ่งขึ้น และมีการพัฒนาคุณภาพงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่และสนับสนุนกิจกรรมคุณภาพในทุก ๆ ภาคส่วน ทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคราชการ ภาครัฐวิสาหกิจ ทั้งการผลิตและการบริการ ตลอดจนเปิดโอกาสให้กลุ่มคุณภาพรุ่นใหม่ ๆ ได้มีเวทีสำหรับการเสนอผลงานอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังได้คัดเลือกกลุ่มคุณภาพยอดเยี่ยมเป็นตัวแทนประเทศไทยไปเข้าร่วมเสนอผลงานในมหกรรมคุณภาพนานาชาติ

งานมหกรรมคิวซีแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ กำหนดจัดขึ้น ตั้งแต่วันที่ 22 – 26 และวันที่ 29 เมษายน รวม 6 วัน โดยได้รับความสนใจจากหน่วยงานต่าง ๆ ส่งกลุ่มคุณภาพเข้าร่วมเสนอผลงานทั้งสิ้น 144 กลุ่ม แบ่งออกเป็นภาคอุตสาหกรรม 67 กลุ่ม ภาครัฐวิสาหกิจ 14 กลุ่ม ภาคราชการและโรงพยาบาล 64 กลุ่ม และกลุ่มคุณภาพข้ามสายงาน 6 กลุ่ม โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงาน เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์จากการนำเสนอผลงานของกิจกรรมที่หลากหลายไม่ต่ำกว่าวันละ 400 คน ทั้งนี้ จากผลการดำเนินการของกลุ่มคุณภาพในปีที่ผ่านมา สามารถลดค่าใช้จ่ายให้กับองค์กรได้จำนวนมาก ซึ่งบางองค์กร สามารถลดได้มากกว่า 1,000 ล้านบาท อาทิ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้กว่า 4,200 ล้านบาท บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้ 2,000 ล้านบาท การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้กว่า 1,200 ล้านบาท ขณะที่บางองค์กรสามารถลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้กว่า 100 ล้าน อาทิ บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด ได้กว่า 130 ล้าน บริษัทบางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้กว่า 110 ล้านบาท

 “การยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมไทย ทั้งภาคผลิตและบริการสู่มาตรฐานสากล ถือเป็นวาระแห่งชาติเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน และการที่จะพัฒนาคุณภาพงานได้นั้น บุคลากรต้องได้รับการพัฒนาควบคู่กันไปเพราะสินค้าและบริการจะพัฒนาไม่ได้ ถ้าบุคลากรไม่มีจิตสำนึกและไม่มีคุณภาพ เราจึงต้องพัฒนาปรับปรุงอย่างก้าวกระโดด เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 รวมถึงพร้อมรับการแข่งขันในเวทีการค้าโลก” นายศิริรุจ กล่าวทิ้งท้าย

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำ…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว จังหวั…