กะเทาะเปลือกลูกเล่นพ่อค้าทุเรียนจีน (1)


ระหว่างเดือนเมษายน-กรกฎาคมของทุกปี เป็นช่วงเวลานับถอยหลังเข้าสู่ฤดูกาลผลิตใหม่ของ ”ทุเรียน” ผลไม้ที่มี่ชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก จนได้รับฉายาว่า ”ราชาแห่งผลไม้” เป็นเพราะรสชาติของความอร่อยแบบลงตัว แม้ว่าจะมีการเปรียบเปรยความโดดเด่นของทุเรียนได้อย่างชนิดคมกริบว่า “รสชาติเหมือนสวรรค์..แต่กลิ่นเหมือนนรก” ก็ตาม แต่คนรักทุเรียนยังชื่นชอบในรสชาติทุเรียนจนถอนตัวไม่ขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนจีนเป็นตลาดใหญ่สุดในย่านเอเชียของทุเรียนจากประเทศไทย


ช่วงนี้วงการทุเรียนของประเทศไทย ”คึกคัก” เป็นพิเศษ เพราะสวนทุเรียนหลาย ๆ สวน มีผลผลิตออกมาให้คนรักทุเรียนได้ชิมความอร่อยของราชาแห่งผลไม้กันแล้ว อย่างล่าสุดระหว่างวันที่ 19-25 เมษายนนี้ กรมการค้าภายในร่วมกับห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ได้ประเดิมจัดงานบุฟเฟต์ทุเรียนให้คนรักทุเรียน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศกินทุเรียนและผลไม้ขึ้นชื่อของไทยได้อย่างจุใจกันเลยทีเดียว


ทุเรียนที่ขายกันในท้องตลาด ส่วนใหญ่จะเป็น “ทุเรียนหลงฤดู” หมายความว่า ทุเรียนที่โตและสุกก่อนทุเรียนลูกอื่น ๆ ในช่วงฤดูการผลิตของปีเดียวกัน ซึ่งแต่ละสวนจะมีทุเรียนหลงฤดูไม่มากเท่าไหร่ เรียกได้ว่า การได้กินทุเรียนหลงฤดู เป็นการชิมเรียกน้ำย่อย ก่อนที่จะเข้าสู่ฤดูผลผลิตทุเรียนล็อตใหญ่ๆ จะออกมา


นอกจากนี้ ทุเรียนที่นำออกมาขายในช่วงนี้ เป็นทุเรียนของสวนที่เจ้าของมีทุนสูงในการบำรุง-รักษาทุเรียนเป็นอย่างดี ทั้งทุนซื้อปุ๋ย ซื้อยา ค่าแรงงานและอื่น ๆ อีกจิปาถะ ซึ่งทุเรียนสวนในลักษณะนี้ จะอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศ ในพื้นที่จันทบุรี-ระยอง และตราด ส่วนทุเรียนดินภูเขาไฟทางอีสานใต้ศรีสะเกษ จะมีอยู่ไม่เพียงกี่สวนเท่านั้น

ย้อนไปในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ 2561 ที่ผ่านมา ผู้เขียนในฐานะเจ้าของทุเรียนดินภูเขาไฟในอีสานใต้จังหวัดศรีสะเกษ มีประสบการณ์ตรงและสัมผัสตัวเป็นๆ กับ “พ่อค้าทุเรียนจีน” รายใหญ่รายหนึ่ง โดยผ่านการแนะนำของเพื่อนคนจีนที่รู้จักกันว่า มีนักธุรกิจพ่อค้าผลไม้จีนรายใหญ่ที่นำเข้าผลไม้จากทั่วทุกมุมโลก สนใจที่จะนำเข้าทุเรียนพันธุ์หมอนทอง โดยเฉพาะ ”ทุเรียนดินภูเขาไฟพันธุ์หมอนทอง” แบบชนิดไม่อั้น เพื่อนำเข้าไปขายในตลาดจีนที่มีผู้บริโภคจำนวนมหาศาล


วินาทีนั้นในฐานะเจ้าของสวนทุเรียนรู้สึกอึ้งไปราว 30 วินาทีกับคำบอกเล่าของเพื่อนคนจีน ที่จะพานักธุรกิจจีนมาซื้อทุเรียนไทยแบบไม่อั้นนั้น เพราะจะเป็นการช่วยสานฝันให้เจ้าของสวนทุเรียนดินภูเขาไฟกลายเป็น “ผู้ส่งออกทุเรียน” ไปขายในตลาดจีนเป็นความจริงขึ้นมา ทั้งนี้หากเจ้าของสวนทุเรียนสามารถส่งออกไปจีนหรือตลาดต่างประเทศด้วยตัวเองแล้ว จะสามารถตัดปัญหาถูกเถ้าแก่หรือบรรดาล้งทุเรียน ”ทุบราคาทุเรียน” ได้เป็นอย่างดี


ที่สำคัญเป็นที่รู้กันว่า คนจีนคือผู้บริโภครายใหญ่ของทุเรียนไทย คนจีนชื่นชอบทุเรียนไทยอย่างมากถึงมากที่สุด เพราะนอกจากความอร่อยของรสชาติทุเรียนไทยแล้ว จากที่เพื่อนคนจีนเล่าให้ฟังว่า คนจีนมีความเชื่อว่า หากได้ทานทุเรียนแล้วจะเป็นสิริมงคล โดยเฉพาะเคล็ดลับในการเลือกซื้อทุเรียนของคนจีนนั้น นอกจากขนาดทุเรียนต้องมีน้ำหนักไม่เกิน 3.5-4 กิโลกรัมแล้ว ลูกทุเรียนหรือเปลือกทุเรียนจะต้องสีเหลืองทองอร่ามอีกด้วย


ที่มาของเหตุผลทั้งสองเรื่องนี้ เป็นเพราะหากลูกทุเรียนมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่กล่าวมา ในตลาดทุเรียนจีนจะขายไม่ค่อยได้ เพราะทุเรียนไซด์ใหญ่จะมีราคาแพง ผู้บริโภคจีนจึงเลือกซื้อทุเรียนไซด์ไม่ใหญ่มาก ซื้อได้ในราคาเหมาะสม และปัจจุบันคนจีนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในลักษณะครอบครัวเล็ก 2-3 คนสามารถทานทุเรียนได้พอดีไม่เหลือเก็บ ทำให้ทุเรียนลูกใหญ่ ๆ ในตลาดจีนขายไม่ออก นอกจากเจาะกำลังซื้อคนรวยหรือนำไปแปรรูปเป็นสินค้าทุเรียนในรูปแบบอื่น ๆ

จากเหตุผลนี้เองที่เถ้าแก่ล้งทุเรียน ทั้งเจ้าของคนไทยและคนจีน ต่างเลือกหรือคัดไซด์ทุเรียนลงกล่อง เพื่อส่งออกไปจีนหรือประเทศอื่น ๆ ขนาดน้ำหนัก 3.5-4 กิโลกรัมต่อต่อทุเรียนหนึ่งลูก..

หลังจากพูดคุยกับเพื่อนคนจีนมาระยะหนึ่งแล้ว การเจรจานัดหมายนักธุรกิจจีนบินมาไทย เพื่อมาเจรจาทางธุรกิจซื้อ-ขายทุเรียนดินภูเขาไฟ..ก็เปิดฉากขึ้น!(โปรดติดตามตอนที่ 2)


โดย…โปรทุเรียน

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำ…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว จังหวั…