กรมชลลุยแก้น้ำภาคตะวันออก เด้งรับยุทธศาสตร์น้ำ 20 ปี –อีอีซี

กรมชลประทานเผยแนวทางศึกษาการปรับปรุงการจัดการน้ำในลุ่มน้ำท่าลาด-คลองหลวง-ที่ราบฝั่งซ้ายแม่น้ำบางปะกง หวังแก้ปัญหาอุทกภัย น้ำขาดแคลน รวมทั้งเตรียมการรองรับอีอีซี เผยมีทั้งก่อสร้างปรับปรุงอาคาร-ระบบชลประทานเดิม เพิ่มความจุอ่างฯ คลองหลวง ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำใหม่ 3 แห่ง 

นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ กรมชลประทาน เปิดเผยถึงโครงการศึกษาการปรับปรุงระบบชลประทานในลุ่มน้ำท่าลาด-คลองหลวง-ที่ราบฝั่งซ้ายแม่น้ำบางปะกง ว่า กรมชลประทานได้พัฒนาพื้นที่ โดยการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 3 แห่ง ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำคลองสียัด คลองระบม และคลองหลวง มีความจุรวม 575 ล้าน ลบ.ม. และพัฒนาพื้นที่ชลประทานกว่า 4 แสนไร่ จากการขยายตัวของเมืองและภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ทำให้มีความต้องการน้ำเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งที่ผ่านมาพื้นที่ลุ่มน้ำเหล่านี้ยังเผชิญปัญหาอุทกภัยในฤดูน้ำหลากและขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง กรมชลประทานจึงพิจารณาก่อสร้างปรับปรุงแหล่งน้ำ และอาคารชลประทานที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง และเตรียมการรองรับพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ตามนโยบายรัฐบาล

สำหรับปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ ส่วนหนึ่งเกิดจากการเปลี่ยนประโยชน์การใช้ที่ดินมากขึ้น จากทุ่งนากลายเป็นชุมชนเมือง นิคมอุตสาหกรรม และบ่อเลี้ยงปลา ทำให้ลดพื้นที่รองรับน้ำ รวมทั้งอาคารชลประทานเดิมมีข้อจำกัด และลำน้ำเดิมตื้นเขินคับแคบ เมื่อน้ำหลากมาจึงส่งผลให้เกิดน้ำท่วมเสียหาย

แนวทางในการศึกษา ส่วนหนึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำ เช่น เพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำคลองหลวงจาก 98 ล้านลูกบาศก์เมตรอีก 27 ล้านลูกบาศก์เมตร อีกทั้งก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 3 แห่งในลุ่มน้ำคลองท่าลาด ความจุรวมประมาณ 60 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อรองรับความต้องการน้ำที่เพิ่มขึ้นและช่วยลดปริมาณน้ำหลาก

ขณะเดียวกัน ยังต้องก่อสร้างและปรับปรุงอาคารชลประทาน ปรับปรุงลำน้ำให้กว้างขึ้น รองรับอัตราการไหลของน้ำได้มากขึ้น ปรับปรุงคลองส่งน้ำหรือท่อลอด ที่เป็นปัญหาต่อการไหลของน้ำหลากจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตกก่อนลงแม่น้ำบางปะกง รวมทั้งก่อสร้างประตูระบายน้ำในลำน้ำสำคัญบางสาย เพื่อช่วยหน่วงน้ำและจัดจราจรทางน้ำบริเวณจุดรวมน้ำที่สำคัญคือแยกคลอง 5 สายที่บริเวณอำเภอพานทองให้ดีขึ้น

ส่วนการรองรับความต้องการใช้น้ำในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกในระยะ 20 ปีข้างหน้า นายเฉลิมเกียรติกล่าวว่า ในส่วนลุ่มน้ำท่าลาด-คลองหลวงนั้นมีการวางแผนผันน้ำส่วนเกินจากอ่างเก็บน้ำคลองพระสะทึง จ.สระแก้ว มาลงอ่างเก็บน้ำคลองสียัด ปีละประมาณ 128 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อใช้ในพื้นที่และผันต่อไปยังสถานีสูบน้ำพานทองก่อนเข้าเส้นท่อเดิมจากคลองพระองค์ไชยานุชิตไปลงอ่างเก็บน้ำบางพระ

“อ่างฯ คลองสียัด ออกแบบให้มีความจุ 420 ล้านลูกบาศก์เมตร มากกว่าปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยซึ่งมีปริมาณปีละ 285 ล้านลูกบาศก์เมตร น้ำจึงไม่เต็มอ่าง จึงมีแนวคิดผันน้ำส่วนเกินของอ่างฯ คลองพระสะทึง จ.สระแก้ว เนื่องจากน้ำล้นอ่างฯ ทุกปี มาเติม” รองอธิบดีกรมชลประทานกล่าว

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำ…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว จังหวั…