กรมชลเร่งศึกษาแนวทางแก้แล้งลุ่มน้ำยมอย่างยั่งยืน

กรมชลประทาน เผยโครงการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมอาคารบังคับน้ำในแม่น้ำยม จะช่วยเก็บกักน้ำไว้ใช้เพาะปลูกในพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ใช้สำหรับอุปโภคบริโภคของประชาชนตลอดจนสัตว์เลี้ยง และยังช่วยบรรเทาความเสียหายจากอุทกภัย

นายทองเปลว  กองจันทร์  อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงพื้นที่ลุ่มน้ำยมตอนล่างบริเวณฝั่งขวาแม่น้ำยมที่มีการเพาะปลูกเป็นประจำ ในเขตอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร กรมชลประทานจะสนับสนุนน้ำเป็นครั้งคราว ตามความจำเป็น ​และเพื่อเป็นการบรรเทาสถานการณ์ ในปัจจุบัน กรมชลประทานจึงมีโครงการศึกษาการพัฒนาอาคารบังคับน้ำในแม่น้ำยมเป็นช่วง ๆ แบบขั้นบันได เพื่อให้สามารถบริหารจัดการน้ำในแม่น้ำยมได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดลำน้ำ โดยได้พิจารณาจุดที่เหมาะสม 6 แห่ง  เป็นประตูระบายน้ำจำนวน  4 แห่ง ซึ่งต้องศึกษา EIA ประกอบด้วย 1. อาคารบังคับน้ำบ้านวังน้ำเย็น 2. อาคารบังคับน้ำบ้านหาดอ้อน 3. อาคารบังคับน้ำบ้านบานชื่น และ 4. อาคารบังคับน้ำบ้านเกาะน้อย และมีการพิจารณารูปแบบอาคารเป็นฝายอีก 2 แห่ง คือ อาคารบังคับน้ำบ้านหาดรั่ว และ อาคารบังคับน้ำบ้านสุเม่น ซึ่งไม่เข้าข่ายต้องศึกษา EIA โดยขณะนี้ กรมชลประทาน ได้มอบหมายให้บริษัทที่ปรึกษา เข้ามาศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) สำหรับอาคารบังคับน้ำในแม่น้ำยมทั้ง 4 แห่ง ซึ่ง 2 แห่งอยู่ในเขตอำเภอลอง กับอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ และอีก 2 แห่งอยู่ในอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

​โดยโครงการบังคับน้ำทั้ง 4 แห่ง นี้ จะช่วยเป็นแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้สำหรับการเพาะปลูกในพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ใช้สำหรับอุปโภคบริโภคของประชาชนตลอดจนสัตว์เลี้ยง และยังช่วยบรรเทาความเสียหายจากอุทกภัย โดยมีพื้นที่ที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการทั้งสิ้นกว่า 147,000 ไร่

​“ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น โดยมีการดำเนินการภายใต้แนวคิด การพัฒนาลุ่มน้ำยมแบบร่วมคิดร่วมทำ เปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดตำแหน่งที่ตั้งโครงการ รูปแบบหัวงาน และระดับเก็บกักที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้เป็นที่ยอมรับจากชุมชนเอง ทั้งผู้ที่ได้รับผลกระทบ ผู้ได้รับประโยชน์ และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง” อธิบดีกรมชลประทาน กล่าว

​สำหรับความคืบหน้าการศึกษาความเหมาะสม ขณะนี้เกือบจะสมบูรณ์แล้ว แต่เนื่องจากโครงการนี้ตั้งอยู่ในแม่น้ำยม ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ และเป็นโครงการประเภทประตูระบายน้ำในแม่น้ำสายหลักของประทศ จึงจำเป็นต้องศึกษาและจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อพิจารณาเห็นชอบและให้ดำเนินการก่อสร้างต่อไป

ในส่วนภาพรวมของน้ำทั้งประเทศ นายทองเปลว กล่าวว่า ปริมาณน้ำฝน ปริมาณฝนตกสะสมตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน 2562 ในภาพรวมของประเทศมีค่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 30 ปี เล็กน้อย โดยภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกฉียงเหนือ มีปริมาณฝนตกสะสมน้อยกว่าค่าเฉลี่ย สำหรับภาคเหนือมีปริมาณฝนตกสะสมอยู่ในเกณฑ์ปกติสูงกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย ภาคใต้ในภาพรวมปริมาณฝนตกสะสมอยู่ในเกณฑ์ปกติใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย

​ด้านนายเฉลิมเกียรติ  คงวิเชียรวัฒน์  รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ กรมชลประทาน ซึ่งได้ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าของการศึกษาโครงการนี้ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมอาคารบังคับน้ำในแม่น้ำยม พื้นที่อำเภอลอง ซึ่งเป็นหนึ่งขั้นตอนของการดำเนินการก่อสร้างอาคารบังคับน้ำในแม่น้ำยม เป็นโครงการที่กรมชลประทานกำลังดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในลุ่มแม่น้ำยมเขตอำเภอลอง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ และอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และลดผลกระทบในฤดูน้ำหลาก ทำให้พี่น้องลุ่มน้ำยมมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…