กะเทาะเปลือกลูกเล่นพ่อค้าทุเรียนจีน (3)

เช้าตรู่ของวันที่ 27 เมษายน 2561 ที่แล้ว รู้สึกว่า สภาพอากาศไม่ร้อนจนปรอทแตกเหมือนกับวันเวลาเดียวกันของปีนี้ ผู้เขียนเดินทางไปรับพ่อค้าทุเรียนจีนที่รีสอร์ทในตัวเมืองขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งแต่เช้า วันนี้มีนัดกับเจ้าของสวนมะยงชิดแปลงใหญ่ ที่ปลูกพันธุ์ทูลเกล้าของสมเด็จพระเทพฯมานานกว่า 10 ปี


“สรรเสริญ บัวใหญ่” เจ้าของสวนมะยงชิดบ้านโนนเดื่อ ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ รอคณะพ่อค้าทุเรียนจีนด้วยความตื่นเต้น ด้วยเหตุที่ผู้เขียนไปโม้ให้หลานชายคนนี้ฟังไว้เยอะว่า พ่อค้าผลไม้จีนมาดูสวนทุเรียนดินภูเขาไฟในครั้งนี้ พวกเขาสนใจมะยงชิดหรือที่ภาษาจีนเรียกว่า “ผีผ่าม่า” โดยจะนำเข้าไปขายในตลาดประเทศจีน โดยคาดว่าการออเดอร์มะยงชิดล็อตแรก อาจจะเหมาทั้งสวนก็ได้ ได้เงินก้อนใหญ่ ไม่ต้องมานั่งขายปลีก-ขายส่งในบ้านเรา  โอกาสทองอย่างนี้ ถ้าไม่กลายเป็นเถ้าแก่สวนมะยงชิดวันนี้แล้วจะรวยวันไหนละหลาน

พ่อค้าทุเรียนจีนเที่ยวชมและชิมมะยงชิดไปทั่วทั้งสวน พร้อมทั้งเอ่ยปากชมเป็นระยะ ๆ ว่า รสชาติของมะยงชิดอร่อยมาก..อร่อยจริง ๆ พร้อมสอบถามวิธีการดูแลและบำรุงรักษา ตลอดจนการพ่นยากำจัดแมลงที่เป็นศัตรูร้ายของมะยงชิด เช่น แมลงวันสีทอง เป็นต้น

ทั้งนี้พวกเขาเล่าว่า “รัฐบาลจีนเริ่มเข้มงวดการตรวจสอบผลไม้ที่นำเข้าจากประเทศไทยแบบเข้มข้นมากยิ่งขึ้น ทั้งทุเรียน มังคุด และผลไม้อื่น ๆ เนื่องจากระยะหลัง ๆ ทางการจีนตรวจพบสารเคมีตกค้างในผลไม่ที่นำเข้าจากไทยจำนวนมาก อาจจะเป็นอันตรายต่อกลุ่มชาวจีนที่ชื่นขอบบริโภคผลไม้ไทย”

หลังจากพ่อค้าผลไม้ชาวจีนเดินดูและชิมมะยงชิดแล้ว พวกเขาพอใจเป็นอย่างมากและคุยให้ฟังว่า พวกเขาชื่นชอบรสชาติของมะยงชิดที่หวานกลมกล่อม ลักษณะผลที่ดูสวยงามสีเหลืองอร่ามดุจราวสีทองคำของมะยงชิด และราคาขายหน้าสวนหรือราคาขายส่งตกกิโลกรัมละ 150-200 บาท ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของมะยงชิดนั้นเป็นราคาที่พอรับได้ ซึ่งบทสรุปในวันนั้นมะยงชิดของสวนหลานชายผู้เขียนสอบผ่านข้อสอบพ่อค้าชาวจีน เพียงรอออเดอร์ด้วยใจระทึกเท่านั้น

คณะพ่อค้าทุเรียนจีนใช้เวลาในการชมสวนมะยงชิดไปนานพอสมควร จึงเดินทางเข้าสู่บ้านซำขี้เหล็ก ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นพื้นที่แปลงใหญ่ในการปลูกทุเรียนดินภูเขาไฟพันธุ์หมอนทอง ที่ขึ้นชื่อถึงความอร่อย “กรอบนอก นุ่มใน หวานน้อย เนื้อไม่ติดมือ กลิ่นไม่ฉุน”  ซึ่งวันนั้นเป็นเวลาเที่ยงวันพอดี ตามนิสัยคนไทยต้องลี้ยงดูปูเสื่อข้าวปลาอาหารและตบท้ายด้วยผลไม้ในสวนข้างบ้าน ทั้งทุเรียนดินภูเขาไฟพันธ์หมอนทอง พวงมะณี ก้านยาว เงาะและมังคุดสดๆ สร้างความประทับใจข้าวมื้อกลางวันให้กับพ่อค้าทุเรียนจีนอย่างมาก แถมเอ่ยปากชมว่า อาหารไทยอร่อย โดยเฉพาะทุเรียนอร่อยมาก จนทำให้แม่ครัวที่ช่วยกันเตรียมข้าวปลาอาหารและผลไม้ในวันนั้นหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง!

ในวันนั้นพ่อค้าผลไม้จีนบอกต้องการชมสวนทุเรียนภูเขาไฟ 5 สวน เพื่อตรวจดูจำนวนทุเรียนของแต่ละสวนมีคุณภาพและมีจำนวนมากพอที่จะส่งออกไปประเทศจีนหรือไม่ แต่ในช่วงกลางเดือนเมษายนของปีที่แล้ว ผู้เขียนได้แจ้งพ่อค้าผลไม้จีนไปก่อนที่จะบินมาประเทศไทยว่า ในช่วงเวลานี้ทุเรียนยังให้ผลผลิตไม่มาก ถ้าเป็นทุเรียนลูกใหญ่ ๆ จะเป็นทุเรียนหลงฤดูเท่านั้นและมีจำนวนไม่มาก เพราะเป็นเพียงการเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูกาลผลิตของทุเรียนเท่านั้น

แต่พ่อค้าผลไม้จีนยังยืนยันจะเดินทางมาดูทุเรียนดินภูเขาไฟให้เห็นกับตาตัวเองให้ได้ว่า มีสวนทุเรียนจริงหรือไม่ คนที่ชักชวนมาดูสวนทุเรียนฯ อย่างผู้เขียนเป็นเจ้าของสวนทุเรียนจริงตามที่อ้างไหม และที่สำคัญผู้เขียนรู้จักสวนทุเรียนอื่น ๆ ที่อ้างว่า เป็นสวนทุเรียนของเพื่อน ๆ และสวนของบรรดาญาติๆ จริงตามราคาคุยไหม ซึ่งแน่นอนว่า ทุกเรื่องที่ได้พูดคุยกับพ่อค้าผลไม้จีนเป็นจริงทุกอย่าง..แบบว่าไม่ได้โม้ก็แล้วกัน!

“สวนทุเรียนดินภูเขาไฟศรียา” เจ้าของสวนชื่อลุงแสวง ศรียา หรืออ้ายเม้า.. เป็นชื่อที่ผู้เขียนเรียกมาตั้งแต่เด็ก ๆ ซึ่งสวนศรียา เป็นสวนทุเรียนดินภูเขาไฟแห่งแรกในพื้นที่ปลูกทุเรียนดินภูเขาไฟในพื้นที่บ้านซำขี้เหล็ก ปรากฏหลักฐานว่า มีทุเรียนต้นแรกขนาดใหญ่อายุประมาณ 20 ปีในสวนทุเรียนแห่งนี้

อย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่า ในช่วงเวลาที่พ่อค้าทุเรียนจีนมาสำรวจและเยี่ยมชมสวนทุเรียนดินภูเขาไฟ เป็นข่วงเริ่มฤดูกาล จะเห็นเพียงทุเรียนเริ่มออกดอกบานสะพรั่งและต้นทุเรียนที่สมบูรณ์ จะเริ่มมีลูกขนาดเท่ากำปั้นจำนวนมาก

เช่นเดียวกันกับการเดินสำรวจสวนทุเรียนดินภูเขาไฟ “สินสมุทร” ของลุงนาย และสวน ”ไข่มงคล” ของอาไข่ โคตรมงคล สวนทุเรียน” ประดิษฐ์” ของเสี่ยดิษฐ์-สวนทุเรียนโชคสมปองของโอวาท และสวนทุเรียนดินภูเขาไฟโคตรมงคล!  

ในวันนั้นจะเห็นสภาพภายในสวนทุเรียนคล้าย ๆ กันคือ ต้นทุเรียนกำลังออกดอกและเริ่มออกลูกทุเรียนขนาดเท่ากำปั้นจำนวนมาก  ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่ประโยชน์ต่อพ่อค้าทุเรียนจีน ที่ได้กลับไปจากสวนทุเรียนดินภูเขาไฟในวันนั้นก็คือ จำนวนทุเรียนที่ผลิตได้ทั้งหมด ประมาณ 250 ตันต่อปี ยังไม่รวมผลผลิตทุเรียนดินภูเขาไฟในสวนญาติๆ อีกหลายสวน เช่น สวนแม่ทองอินทร์,สวนโชคมีชัย และสวนลุงรอง เป็นต้น  ซึ่งหากพ่อค้าทุเรียนจีนต้องการนำเข้าทุเรียนดินภูเขาไฟไปขายที่ตลาดจีนแบบไม่อั้นตามราคาคุย ก็คงสามารรวบรวมทุเรียนได้ 500 ตันจากสวนทุเรียนดังกล่าวคงไม่ยากนัก!

พ่อค้าทุเรียนจีนพอใจอย่างมาก กับการเดินทางมาสำรวจสวนทุเรียนดินภูเขาไฟ และพบกับผลไม้ชนิดใหม่ที่ค้นหามานานอย่าง “ผีผ่าม่า” หรือมะยงชิด ทำให้บรรยากาศการพบปะพูดคุยอบอบอวลไปด้วยมิตรภาพ

ก่อนบินกลับพ่อค้าทุเรียนจีน รับปากว่า ช่วงเดือนพฤษภาคมจะบินมาดูทุเรียนอีกครั้งหนึ่ง และพูดทิ้งท้ายให้ความหวังชาวสวนในการส่งออกทุเรียนดินภูเขาไฟและมะยงชิดไปขายที่ตลาดจีน..โดยมีเป้าหมายที่มหานครปักกิ่ง!

(โปรดติดตามตอนที่4)

โปรทุเรียน

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…