กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง กระชับ-พัฒนาทรัพยากรน้ำ

แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำกั้นพรมแดนบางส่วนของภาคเหนือ-ภาคอีสานของไทย ต่อประเทศเพื่อนบ้านทั้ง เมียนมาและลาว

               คนไทยเหนือ-อีสานผูกพันกับลำน้ำโขงมาแต่โบราณ  ย้อนอดีตพื้นที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงหลายแห่งก็อยู่ในพื้นที่ของสยามหรือประเทศไทยในปัจจุบัน

               ไทยเป็นประเทศเดียวที่แม่น้ำโขงมิได้ไหลเข้ามาในแผ่นดิน  หากแต่เป็นแม่น้ำพรมแดน ดังนั้นการใช้ประโยชน์ของไทยจากแม่น้ำโขงจึงไม่มากเท่าอีก 5 ประเทศสมาชิก

ต้นน้ำของแม่น้ำโขงอยู่ในจีน เรียกชื่อว่า “แม่น้ำหลานซาง” หรือ “ล้านช้าง” จากนั้นไหลเข้าเมียนมาลาว ไทย กัมพูชา ไปออกทะเลที่เวียดนาม

แม่น้ำในประเทศไทยหลายสาย ไม่ว่าแม่น้ำกก แม่น้ำอิง แม่น้ำมูล แม่น้ำสงคราม แม่น้ำก่ำ ล้วนมีปลายทางอยู่ที่แม่น้ำโขง พื้นที่ของลำน้ำสาขาเหล่านี้อยู่ในระบบแม่ลุ่มน้ำโขง (Mekong River Basin) เช่นกัน

ที่ผ่านมา ไทยไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์โดยตรงจากแม่น้ำโขงสายประธานเท่าไรนัก เมื่อเทียบกับการเป็นปริมาณน้ำจากไทยที่ไหลลงแม่น้ำโขง แต่กรอบความร่วมมือต่าง ๆ ในประเทศสมาชิกแม่น้ำโขงย่อมเป็นประโยชน์ต่อทุกประเทศ รวมทั้งไทยในอนาคตและในหลายมิติ

               การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มแม่น้ำโขงนั้น แรกเริ่มเดิมที มีการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานเพื่อการสำรวจลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง เมื่อปี 2500 ต่อมาในปี 2538 ได้เปลี่ยนสถานะเป็น คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission-MRC) โดย MRC มีผลงานสำคัญยิ่งในส่วนการวางแผนพัฒนาลุ่มน้ำในภาพรวม การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้และระบบข้อมูล อย่างไรก็ตาม MRC เองก็มีข้อจำกัด เนื่องจากประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงมีทั้งหมด 6 ประเทศ แต่เข้าร่วมเป็นสมาชิก MRC จำนวน 4 ประเทศ และประเทศต้นน้ำ คือ จีน สงวนท่าทีโดยมิได้มีร่วมด้วยเต็มที่ เช่นเดียวกับเมียนมา

               กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง (Mekong-Lanchang Cooperation : MLC) พัฒนาจากข้อริเริ่มของไทยในปี 2555 ที่จะจัดการประชุมระหว่างประเทศ ว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และกำเนิดเป็นกรอบความร่วมมือ MLC อย่างเป็นทางการเมื่อปลายปี 2558 โดยมี 6 ชาติสมาชิก เข้าร่วมอย่างเต็มกำลัง โดยเฉพาะประเทศต้นน้ำอย่างจีน

               อันที่จริง ความร่วมมือในลุ่มแม่น้ำโขง มีชาติอื่นและองค์กรนอกภูมิภาคต่างให้ความสนใจมากมาย ไม่ว่าสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป สะท้อนว่า เวทีกรอบความร่วมมือลุ่มแม่น้ำโขงไม่ธรรมดาเลย

               กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง เริ่มทวีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาลุ่มน้ำแม่โขงมากขึ้น  เพราะในระยะ 4 ปีที่ก่อตั้งมามีพัฒนาการความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมหลายด้าน เชื่อมโยงความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ กับการพัฒนาในมิติที่เกี่ยวข้องครอบคลุมด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และยังดำเนินการคู่ขนานกับคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ซึ่งล้วนแต่เป็นประเทศกลุ่มเดียวกัน

               “กรอบความร่วมมือนี้มีความเคลื่อนไหวและความร่วมมือดีขึ้นและชัดเจนขึ้น อย่างล่าสุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา จีนซึ่งอยู่ต้นน้ำก็ระบายน้ำจากเขื่อนลงมาให้ชาติสมาชิกใช้น้ำเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์อย่างเต็มที่” ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติกล่าว

               แม้ประเทศไทยใช้ประโยชน์โดยตรงจากแม่น้ำโขงค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ของกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง แต่การอยู่ในทำเลตอนกลางแม่น้ำโขง ก็ถือเป็นจุดเด่นสำคัญในการประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับชาติต้นน้ำอย่างจีน และชาติปลายน้ำอย่างกัมพูชาและเวียดนาม โดยอาศัยสถานะความเป็นประเทศกลางน้ำที่มีจุดยืนในการประสานประโยชน์ร่วมกัน

“เราก็คล้ายเป็นศูนย์กลาง ( Hub) ของแม่น้ำโขงในการประสานข้อมูลต่าง ๆ ทั้งตอนบนและตอนล่างของแม่น้ำโขง เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำร่วมของทุกฝ่าย และที่สำคัญ คือ การสนับสนุนการใช้น้ำนำมาสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่”

เมื่อหลายปีก่อน เมื่อจีนกักน้ำหรือปล่อยน้ำจากเขื่อนส่งผลกระทบต่อประเทศสมาชิกกลางและท้ายน้ำ แต่ไม่อาจประสานการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมนัก แต่เมื่อมีการดำเนินงานระหว่างกรอบความร่วมมือ MLC และ MRC ก็เป็นช่องทางสำคัญในการประสานและแสวงหาความร่วมมือได้ดีขึ้นเป็นลำดับ

เลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า กิจกรรมโครงการด้านทรัพยากรน้ำของไทยได้รับอนุมัติจากประเทศสมาชิก MLC ให้เป็นเจ้าภาพจำนวน 2 โครงการ ภายใต้แผนปฏิบัติการ สาขาทรัพยากรน้ำ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) ประกอบด้วย โครงการกลไกความร่วมมือข้ามพรมแดนเพื่อสนับสนุนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำ โครงการศึกษาประเมินด้านน้ำท่วมและน้ำแล้งเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำข้ามพรมแดนระหว่างไทย – เมียนมา รวมถึงการศึกษาการจัดตั้งกลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูลอุทกวิทยาในฤดูน้ำมาก ฯลฯ

“การดำเนินงานต้องได้รับความร่วมมือด้านข้อมูลจากประเทศสมาชิก เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันในอนาคต  ซึ่งจะเป็นจุดเปลี่ยนหนึ่งที่สะท้อนถึงความก้าวหน้าของกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างได้เป็นอย่างดี” ดร.สมเกียรติกล่าว

กรอบความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำเป็นเพียงสวนหนึ่งของความร่วมมือด้านอื่น ๆ เช่น เศรษฐกิจ การค้า การขนส่ง การลงทุน เป็นความร่วมมือที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันในหมู่ชาติสมาชิกแม่น้ำโขง ที่พัฒนายกระดับจนสามารถครอบคลุมทุกประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ การหนุนเสริมข้อจำกัดจากสภาพเดิม ๆ ที่ต่างคนต่างมุ่งเฉพาะภารกิจภายในประเทศ และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของประเทศไทย ในฐานะผู้ริเริ่มกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ในการผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…