นวัตกรรมทางออกเพื่อลดการขาดแคลนน้ำ

ปัจจุบัน น้ำกลายเป็นปัจจัยหนึ่งในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของโลกอย่างชัดเจน ประเทศที่มีระบบการจัดการน้ำที่ดี ย่อมส่งผลต่อการพัฒนาของประเทศที่มั่นคงยั่งยืน ดังนั้น การเข้ามาของนวัตกรรม AWG จึงถือเป็นอีกโอกาสสำคัญสำหรับผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพไทยในการพัฒนาระบบหรือเครื่องมือดังกล่าวประสิทธิภาพให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น เพื่อส่งต่อไปยังตลาดและผู้บริโภคในกลุ่มพื้นที่ที่มีความต้องการอุปโภค – บริโภคน้ำในระดับที่สูง รวมถึงภูมิภาคต่างๆในประเทศไทย นอกจากนี้ การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีดังกล่าว ถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ซึ่งการผลิตพลังงานที่สะอาดและยั่งยืนถือเป็นโจทย์ที่สำคัญที่สุดที่จะต้องเร่งพัฒนาในช่วงเวลานี้

 

เหตุนี้ทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA โดยสถาบันการมองอนาคตนวัตกรรม (Innovation Foresight Institute : IFI ) เล็งเห็นว่าการใช้น้ำเพื่อการบริโภคในอนาคตมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ขณะที่น้ำจากแหล่งธรรมชาติกลับลดลง โดยเฉพาะปริมาณของน้ำจืด ที่มีเพียงไม่ถึง 3% เมื่อเทียบกับสัดส่วนของปริมาณน้ำทั้งหมดของโลก ทั้งนี้ ประเทศไทยถือเป็นพื้นที่หนึ่งซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดความผันผวนในด้านพฤติกรรมการใช้และเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในระดับสูง สาเหตุจากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ และยังพบว่าคุณภาพน้ำมีแนวโน้มเสื่อมโทรมลงจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การประกอบอุตสาหกรรม การคมนาคม การนันทนาการและการท่องเที่ยว ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการรับมือและการบริหารจัดการเพื่อเตรียมแก้ไขปัญหาน้ำที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถช่วยลดข้อจำกัดต่าง ๆในอนาคต

หนึ่งในนวัตกรรมที่น่าสนใจและมีแนวโน้มการเติบโตเป็นอย่างสูงคือ “การแปลงอากาศเป็นน้ำด้วยเครื่องผลิตน้ำจากอากาศ” หรือ Atmospheric Water Generator : AWG  โดยนวัตกรรมดังกล่าว สตาร์ทอัพชั้นนำจากประเทศอิสราเอล ได้คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีการดึงน้ำจากความชื้นในอากาศมาผลิตเป็นน้ำจืดที่สามารถบริโภคได้ สะอาด ปราศจากมลพิษ และเป็นวิทยาการสมัยใหม่ที่สามารถลดภาระการใช้น้ำจากแหล่งน้ำจืดต่าง ๆ รวมถึงมีความยั่งยืนสูง ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าปริมาณความต้องการเครื่องผลิตน้ำจากอากาศจะเป็นที่ต้องการในตลาดมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงใน 6 ปัจจัย ได้แก่ นวัตกรรมสู่ความเป็นศูนย์ (Innovating to Zero) การเกิดขึ้นของสังคมเมือง กระแสการใส่ใจในสุขภาพ การสร้างความแตกต่างให้กับโมเดลธุรกิจ การลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การค้นหาพลังงานใหม่ๆที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตในอนาคต รวมถึงในกลุ่มประเทศที่มีสภาพอากาศแห้งแล้งรุนแรง และมีข้อจํากัดด้านทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะสภาพอากาศแบบทะเลทรายและกึ่งทะเลทราย ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาแหล่งน้ำไม่เพียงพอทั้งน้ำอุปโภค-บริโภค และน้ำสำหรับการเกษตร

คาดการณ์ว่าเครื่องผลิตน้ำจากอากาศจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณน้ำจืดสำรองที่ลดลงและจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น โดยอัตราการเติบโตของตลาดจะอยู่ที่ 9.5% ต่อปี ส่วนแนวโน้มการใช้เทคโนโลยี AWG ระหว่างปี 2019 – 2022 คาดว่าจะมีการใช้เพิ่มขึ้นอย่างแพร่หลาย โดยในปี 2019 AWG จะถูกนำไปประกอบการชลประทานขนาดใหญ่ของพื้นที่เพาะปลูกในเขตแห้งแล้งและกึ่งแห้งแล้ง ปี 2020 จะมีการใช้ AWG ขนาดใหญ่ในที่พักตามเมืองเล็กๆ และชุมชน ซึ่งจะทำให้ไม่มีมลพิษ มีน้ำสะอาดเพื่ออุปโภคบริโภค และช่วยลดการใช้น้ำตามแหล่งธรรมชาติ ขณะที่ปี 2021 คาดว่าจะมีการติดตั้งระบบ AWG ในรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ซึ่งจะช่วยสร้างน้ำจืดได้ตามระยะการเดินทางของรถ ส่วนในปี 2022 คาดว่าน้ำที่ผลิตได้คุณภาพตามหลักเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) จะมีรายได้ในตลาดโลกอยู่ที่ 1.1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ

นอกจากนี้ ยังคาดว่านวัตกรรมดังกล่าวยังจะมีการเติบโตใน 3 กลุ่มตลาดที่สำคัญ ได้แก่ 1.ทวีปอเมริกาเหนือ ที่ถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดและผู้บริโภคมีความพร้อม (Mature Market)  ซึ่งขณะนี้องค์การพัฒนาระหว่างประเทศแห่งแคนาดาและกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาได้ให้การสนับสนุนเงินทุนพัฒนาต้นแบบที่หลากหลายเชิงพาณิชย์เพื่อผลิตน้ำดื่มที่ปลอดภัยในอนาคต 2.ทวีปยุโรป กำลังมีการร่วมมือระหว่างผู้คิดค้นนวัตกรรมและผู้ผลิตน้ำพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อผลิตน้ำจืดจากอากาศที่จะถูกนำมาใช้แทนระบบผลิตน้ำจืดจากทะเล และ 3. เอเชียแปซิฟิก ซึ่งล่าสุดบริษัทยักษ์ใหญ่ของประเทศอินเดียได้ร่วมมือกับสตาร์ทอัพชั้นนำจากอิสราเอล ติดตั้งเครื่องผลิตน้ำจากอากาศทั่วประเทศเพื่อผลิตน้ำดื่มที่ปลอดภัยโดยเครื่องผลิตน้ำจากบรรยากาศขนาดกลางและขนาดใหญ่ สามารถผลิตน้ำจากอากาศได้มากถึง 6,000 ลิตรต่อวัน

 

เครดิต // ขอบคุณข้อมูลจาก สถาบันการมองอนาคตนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

 

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำ…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว จังหวั…