สมาชิก  MRC เห็นชอบวิธีปฏิบัติการสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำโขง

ในการประชุมคณะกรรมการร่วม คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง สมัยวิสามัญ โครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากลายของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ซึ่งเป็นการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสจากประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission: MRC) มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปผลการดำเนินการกระบวนการตามระเบียบปฏิบัติ เรื่อง การแจ้ง การปรึกษาหารือล่วงหน้าและข้อตกลง (Procedures for Notification, Prior Consultation and Agreement: PNPCA) ของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากลาย (the Pak Lay Hydropower Project) สปป.ลาว ซึ่งจะเป็นโครงการเขื่อนแม่น้ำโขงสายหลักแห่งที่ 4 ต่อจาก ไซยะบุรี ดอนสะโฮง และปากแบง

การประชุมครั้งนี้ มีตัวแทนจากประเทศไทย เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นหัวหน้าคณะ พร้อมด้วย นายประดับ กลัดเข็มเพชร ผู้ช่วยเลขาธิการ สทนช. รศ.ชัยยุทธ สุขศรี ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากประเทศไทย ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เข้าร่วมการประชุม ณ โรงแรมคราวน์ พลาซา นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

เลขาธิการ สทนช. กล่าวได้สรุปภายหลังการประชุมเสร็จสิ้น ว่า สทนช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย และเป็นหน่วยงานกลางในการประสานความร่วมมือภายใต้กรอบความร่วมมือคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง พร้อมประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ได้ออกแถลงการณ์ร่วมต่อโครงการฯ ซึ่งได้ดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงในเรื่องดังกล่าว ภายใต้ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน (1995 Mekong Agreement) โดยประเทศสมาชิกขอให้รัฐบาล สปป.ลาว ดำเนินโครงการโดยคำนึงถึงผลกระทบด้านต่าง ๆ อาทิ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางอุทกวิทยา การออกแบบเขื่อนต้องพิจารณาการเพิ่มประสิทธิภาพการพัดพาตะกอนให้สอดคล้องกับฤดูกาล การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกของทางปลาผ่าน (Fish passage facilities) การสร้างความเข้าใจในเรื่องผลกระทบข้ามพรมแดนและผลกระทบด้านเศรษฐกิจ-สังคม การปรับปรุงการออกแบบเขื่อนให้มีความปลอดภัย การเพิ่มความปลอดภัยของสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการเดินเรือ และการมีระบบติดตามตรวจสอบร่วมกันของประเทศสมาชิก MRC รวมถึงการเปิดเผยข้อมูล (Information Sharing) เพื่อประเมินผลกระทบด้านอุทกวิทยา ตะกอน คุณภาพน้ำ นิเวศวิทยาทางน้ำ และการประมง อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

นอกจากนั้นยังขอให้สำนักงานเลขาธิการ MRC (MRCs) ให้การสนับสนุนการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วม (Joint Action Plan: JAP) ซึ่งแผนฯ ดังกล่าวเป็นผลจากการดำเนินกระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้าสำหรับโครงการไฟฟ้าพลังน้ำที่ผ่านมา และขอให้ MRCs นำผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินกระบวนการที่เกี่ยวกับข้อตกลงในการดำเนินการโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนปากลาย ไปปรับปรุงกระบวนการและเร่งรัดการดำเนินงานต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดด้วย

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…