Kick off ส่งเสริมปุ๋ยผสมใช้เอง หวังลดต้นทุนการผลิต สร้างรายได้ให้เกษตรกร

กรมส่งเสริมสหกรณ์เดินหน้า เปิดตัวโครงการอบรมส่งเสริมปุ๋ยผสมใช้เองผ่านสหกรณ์การเกษตร สร้างความรู้ การใช้ปุ๋ยที่ถูกต้อง หวังลดต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกร ผลผลิตมีคุณภาพ นำไปสู่การเพิ่มรายได้มั่นคงให้เกษตรกร

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดตัวโครงการอบรมส่งเสริมปุ๋ยผสมใช้เองผ่านสหกรณ์การเกษตรเพื่อลดต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกร ณ สหกรณ์การเกษตรโพธาราม จำกัด จังหวัดราชบุรี ว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ดำเนินการขับเคลื่อนแนวทางการลดต้นทุนการผลิตให้แก่สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร โดยผ่านกลไกของขบวนการสหกรณ์ ขณะนี้ มีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการอบรมแล้วจำนวนทั้งสิ้น 7,712 คน เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร 118 แห่ง ในพื้นที่ 41 จังหวัด ทางกรมฯ นอกจากการอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกแล้ว ยังได้มีการประสานกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ในการเจรจาต่อรองราคากับบริษัทผู้นำเข้าและจำหน่ายปุ๋ยเคมีในประเทศโดยผ่านสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจเกษตรไทย ในการลดราคาแม่ปุ๋ยให้ถูกลงกว่าท้องตลาด โดยในเบื้องต้นได้มีบริษัทสนใจสนับสนุนโครงการ จำนวน 6 แห่ง ได้แจ้งเสนอราคาแม่ปุ๋ยสำหรับให้บริการแก่สถาบันเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งราคาถูกกว่าท้องตลาดประมาณ 200 – 1,000 บาทต่อตัน

หากมีสถาบันเกษตรกรสั่งซื้อแม่ปุ๋ยจำนวนมาก อาจจะมีบริษัทผู้นำเข้าหรือจำหน่ายปุ๋ยในประเทศสนใจสนับสนุนเพิ่มขึ้น  โดยกรมฯ ได้มีการจัดการประชุมเจรจาการจำหน่ายแม่ปุ๋ยตามโครงการฯ เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับสหกรณ์การเกษตร   ที่เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสพบปะพูดคุย เจรจา ซื้อ-ขาย และเงื่อนไขพิเศษต่างๆ กับผู้แทนบริษัทผู้นำเข้าแม่ปุ๋ยได้โดยตรง ซึ่งจะช่วยให้สถาบันเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการสั่งซื้อแม่ปุ๋ยเพื่อนำไปผสมใช้เอง และสามารถนำไปชี้แจงให้กับสมาชิกสหกรณ์ได้รับทราบ และสามารถใช้ข้อมูลจากการเจรจาครั้งนี้ในการตัดสินใจเลือกซื้อ แม่ปุ๋ยจากบริษัทฯ ให้ข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ต่อสหกรณ์ได้ตามที่สหกรณ์ความต้องการ รวมทั้งสามารถรวมกลุ่มระหว่างสถาบันเกษตรกรด้วยกันในการเจรจาต่อรองราคากับบริษัทเพื่อสั่งซื้อแม่ปุ๋ยในปริมาณมาก ก็จะสามารถลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรได้ หากเกษตรกรหรือสมาชิกสถาบันเกษตรกรมีการผสมปุ๋ยใช้เอง จะลดต้นทุนค่าใช้จ่ายถูกลงตันละ 3,378 บาทต่อตัน ถ้าสมาชิกสถาบันเกษตรกรใช้ปุ๋ยผสมเอง 100,000 ตัน จะสามารถลดต้นทุนการผลิตได้มากถึง 337.8 ล้านบาท

สำหรับโครงการอบรมส่งเสริมปุ๋ยใช้เองผ่านสหกรณ์การเกษตรเพื่อลดต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกร เป็นโครงการหนึ่งที่สนับสนุนมาตรการเกษตรประชารัฐ โดยมีการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์จะดำเนินการในด้านการบริหารจัดการและประสานงานกรมการค้าภายในเปิดจัดหาแม่ปุ๋ยในราคาถูก  กว่าท้องตลาด รวมทั้งการจัดโครงการอบรมในครั้งนี้เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการใช้ปุ๋ยผสมใช้เอง การแนะนำ การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการผสมปุ๋ยใช้เอง เพื่อให้สมาชิกมีความรู้ความเข้าใจ ในประโยชน์ของการใช้ปุ๋ยผสมใช้เองโดยผ่านกลไกของขบวนการสหกรณ์ และขยายผลให้แก่สมาชิกคนอื่น ๆ ต่อไป ซึ่งจะดำเนินการระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนเมษายนนี้ และบูรณาการความร่วมมือกับกรมพัฒนาที่ดิน ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลชุดดิน ซึ่งในขณะนี้กรมพัฒนาที่ดินมี 27 สูตรปุ๋ยที่เตรียมไว้ซึ่งเป็นสูตรทั่วไปสำหรับพืช 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด และยางพารา ถ้าหากเป็นพืชชนิดอื่นโดยเฉพาะในกลุ่มผลไม้จะต้องศึกษาวิเคราะห์ค่าดิน และชนิดของผลไม้ในเชิงลึกเป็นรายกรณี เนื่องจากผลไม้แต่ละชนิดมีความจำเพาะในการใช้สูตรปุ๋ยที่ไม่เหมือนกัน หากกำหนดสูตรเป็นแบบทั่วไปอาจเกิดความเสียหายต่อผลผลิตได้ กรมวิชาการเกษตรจะดำเนินการออกใบอนุญาตการผลิต – จำหน่ายแม่ปุ๋ย และกรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด รวมทั้งศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนในการให้คำแนะนำถ่ายทอดองค์ความรู้เบื้องต้นในการใช้ปุ๋ยเคมีที่ถูกต้องแก่สมาชิกสถาบันเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ 2% ต่อปี เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการซื้อแม่ปุ๋ย จัดซื้อเครื่องมือผสมปุ๋ยตามความเหมาะสมต่อไป

“ในขณะนี้มีสหกรณ์หลายแห่งที่ได้ดำเนินการส่งเสริมให้สมาชิกรวมกลุ่มกันผลิตปุ๋ยผสมใช้เอง บางแห่งมีการรวมกลุ่มทำมานานนับ 10 ปี และมีความพร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ซึ่งการผสมปุ๋ย ผสมตามสูตรที่กรมพัฒนาที่ดินแนะนำ ซึ่งเป็นสูตรปุ๋ยเคมีผสมธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในอัตราที่มีความเหมาะสมกับสภาพดินในแต่ละท้องถิ่น เช่น ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินเหนียว และดินทราย รวมทั้งชนิดของพืชที่ปลูก ช่วยให้สมาชิกสหกรณ์สามารถช่วยลดต้นทุนการซื้อปุ๋ยเคมีจากท้องตลาด ประมาณ 4,000 บาทต่อตัน และเมื่อใช้ควบคู่กับปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยไม่ให้ดินเสีย ดินแข็งในระยะยาว อีกทั้งยังได้ผลผลิตเร็วและมากขึ้น ผลผลิตมีคุณภาพ ขายผลผลิตได้ราคาสูงกว่า ลดความเสี่ยงในภาวะผันผวนของราคาในตลาดโลกอีกด้วย” อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าว

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำ…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว จังหวั…