นายกฯ ทุบ 4 แผนด่วนรับมือแล้งตั้งหน่วยเจ้าภาพรับผิดชอบรายแผน

สทนช.ชง 4 มาตรการด่วนสกัดแล้งลามเข้า กนช. แจงพื้นที่เสี่ยงขาดน้ำ ตั้งหน่วยงานเจ้าภาพหลักจับคู่พื้นที่เสี่ยงภัย พร้อมเชื่อมข้อมูลแหล่งน้ำรัศมี 50 กม.ให้ 4 กระทรวงหลัก เพื่อเตรียมความพร้อมดึงน้ำใกล้เคียงเข้าช่วยเหลือ

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่าสทนช.ได้เสนอที่ประชุมเกี่ยวกับมาตรการหลัก เจ้าภาพหลัก และวิธีดำเนินการบรรเทาและลดผลกระทบพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งเร่งด่วนใน 4 มาตรการหลัก คือ 1. แจ้งเตือนเกษตรกรงดการปลูกพืชฤดูแล้งและพืชต่อเนื่อง โดยมีกระทรวงมหาดไทย โดยจังหวัดเป็นเจ้าภาพหลัก พื้นที่เป้าหมาย 21 จังหวัดในลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยเน้นสร้างการรับรู้สถานการณ์น้ำและการเพาะปลูกพืชเข้าถึงเกษตรกรโดยตรง ผ่านองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)

2. ติดตามเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงได้รับผลกระทบขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค โดยมอบให้กระทรวงมหาดไทย โดยจังหวัด และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นเจ้าภาพหลัก พื้นที่เป้าหมาย 7 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ นครสวรรค์ ชัยภูมิ นครราชสีมา เลย กาญจนบุรี และราชบุรี โดยมีมาตรการจัดเตรียมรถบรรทุกน้ำ เครื่องสูบน้ำ จากหน่วยงานสนับสนุน ผ่านกลไกของกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด (กอปภ.จ) ให้สามารถเข้าดำเนินการช่วยเหลือได้ทันที ซึ่ง สทนช. ได้ชี้เป้าแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน ในรัศมี 50 กม.

พร้อมจัดส่งข้อมูลให้ 4 กระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงกลาโหม รับทราบ เพื่อเตรียมแผนสำรองกรณีต้องดึงน้ำจากแหล่งน้ำอื่นใกล้เคียงมาสนับสนุนและบรรเทาปัญหาในฟื้นที่ประสบภัยได้ทันสถานการณ์ 3. ทบทวนแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฤดูแล้ง ปี 2561/62 ให้สอดคล้องกับปรากฏการณ์เอลนีโญกำลังอ่อน  โดยมอบมหายให้กรมชลประทาน และกรมทรัพยากรน้ำเป็นเจ้าภาพหลัก ในพื้นที่เป้าหมาย คือ พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคทั้งในและนอกเขตการประปาภูมิภาค (กปภ.) และพื้นที่เสี่ยงการเกษตรที่เพาะปลูกเกินแผน เพื่อดำเนินการเร่งตรวจสอบความต้องการใช้น้ำแล้ววิเคราะห์สมดุลน้ำเป็นรายพื้นที่

และ 4 กรณีที่มีการปรับแผนการจัดสรรน้ำ โดยเฉพาะในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพหลักได้แก่ กรมชลประทาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่รับผิดชอบอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 อ่าง นั้น จะต้องพิจารณาอ่างเก็บน้ำที่มีความจุของน้ำใช้การจากน้อยไปมาก เพื่อสร้างความสมดุลของปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ ให้เพียงพอต่อการจัดสรรน้ำตามลำดับความสำคัญ รวมถึงมีน้ำสำรองในต้นฤดูฝนด้วย เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบในปีต่อ ๆ ไป.

 

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…