กรมชลแจงการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ภาคใต้ครอบคลุมทุกมิติ

กรมชลประทาน ชี้แจงกรณีเครือข่ายปกป้องดิน-น้ำ-ป่า บนผืนแผ่นดินใต้ คัดค้านโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ภาคใต้  โดยไม่เชื่อถือข้อมูลจากภาครัฐที่ชี้แจงว่าการดำเนินการดังกล่าว เพื่อเป็นแหล่งน้ำสนับสนุนภาคการเกษตรและแก้ปัญหาอุทกภัย แต่กล่าวหาว่าโครงการดังกล่าวเป็นการเตรียมจัดหาแหล่งน้ำดิบเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่กลุ่มทุนอุตสาหกรรมในโครงการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจภาคใต้

นายประพิศ จันทร์มา รองอธิบดีกรมชลประทาน ชี้แจงว่า การดำเนินการโครงการพัฒนาแหล่งน้ำของกรมชลประทานทุกโครงการเกิดจากปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรในพื้นที่ ดังนั้น กรมชลประทานในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่แก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ จึงต้องพิจารณาหาแนวทางแก้ไขด้วยการศึกษาความเหมาะสมทั้งด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนอย่างรอบคอบ และกระบวนการในการดำเนินการเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และระเบียบของทางราชการที่กำหนดไว้ทุกประการ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

ลักษณะปัญหาด้านน้ำของพื้นที่ภาคใต้ที่สำคัญ คือ ด้านอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก ซึ่งเกิดจากพื้นที่ภาคใต้มีฝนตกชุก ความลาดชันสูง และปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งเนื่องจากลักษณะการไหลของน้ำที่ไหลลงสู่ทะเลอย่างรวดเร็ว และไม่มีแหล่งเก็บกักน้ำไว้

แนวทางการพัฒนาเพื่อบรรเทาปัญหาแบ่งเป็น 3 พื้นที่ กล่าวคือ การเก็บกักน้ำไว้ในพื้นที่ต้นน้ำ การบริหารจัดการน้ำอย่างสมดุลในพื้นที่กลางน้ำ และการเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ปลายน้ำ นอกจากจะเป็นประโยชน์ด้านการบรรเทาอุทกภัยแล้ว ยังสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในช่วงฤดูแล้งด้วย ซึ่งโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 10 โครงการตามที่กล่าวอ้าง ประกอบด้วย

1) โครงการเขื่อนวังหีบ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช

2) โครงการสร้างเขื่อนคลองสังข์ อ.ทุ่งใหญ่  จ.นครศรีธรรมราช

3) โครงการสร้างเขื่อนเหมืองตะกั่ว อ.ป่าบอน จ.พัทลุง

4) โครงการประตูน้ำปากประ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

5) โครงการคลองผันน้ำเมืองนครศรีธรรมราช ครอบคลุมพื้นที่หลายอำเภอของ จ.นครศรีธรรมราช

6) โครงการบรรเทาอุทกภัยและบริหารจัดการลุ่มน้ำคลองหลังสวน จ.ชุมพร

7) โครงการประตูระบายน้ำคลองสวีหนุ่ม พร้อมระบบส่งน้ำ จ.ชุมพร

8) โครงการบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำคลองตะโก จ.ชุมพร

9) โครงการอ่างเก็บน้ำคลองละแม จ.ชุมพร

10) โครงการประตูระบายน้ำบ้านหาดแตง จ.ชุมพร

ดังนั้น โครงการพัฒนาแหล่งน้ำทั้ง 10 โครงการดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินการเพื่อบรรเทาปัญหาและสร้างความมั่นคงทางด้านน้ำให้กับประชาชนในทุกภาคส่วน รวมทั้งเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของประเทศโดยรวม มิได้เอื้อประโยชน์เป็นการเฉพาะต่อกลุ่มทุนใดๆ ทั้งสิ้น

 

 

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำ…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว จังหวั…