บัญชีผู้ใช้น้ำ คู่มือบริหารจัดการน้ำ

ครัวเรือนยังต้องมีบัญชีครัวเรือนสำหรับเรียนรู้รายรับ รายจ่าย เพื่อจัดการชีวิตของคนในครอบครัวให้มีความผาสุก มีรายได้จากผลผลิต มีค่าใช้จากปัจจัยการผลิต และการดำรงชีวิต ยังต้องมีเงินเหลือจ่ายสำหรับเก็บออมสร้างความมั่นคงในชีวิต

สำหรับการบริหารจัดการน้ำ เท่าที่สดับตรับฟังมาโดยตลอด เรามีแค่บัญชีน้ำต้นทุนหน้าเดียว ไม่ต่างจากเกษตรกรในอดีตที่มีแค่ฟากรายรับอย่างเดียว โดยลืมทำบัญชีรายจ่าย

บัญชีน้ำของประเทศไทย มีแค่บัญชีน้ำต้นทุนเสมือนรายได้ฝ่ายเดียวนั่นเอง

“จะบริหารจัดการน้ำของประเทศหรือเฉพาะพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เราต้องมีทั้งบัญชีน้ำต้นทุนและบัญชีผู้ใช้น้ำ” นายสมเกียรติ ประจำวงษ์  เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ อธิบายให้เห็นภาพ “ถ้าเรามีหน้าเดียวคือบัญชีน้ำต้นทุน โดยไม่รู้บัญชีผู้ใช้น้ำซึ่งรวมถึงปริมาณความต้องการใช้น้ำ เราก็ไปไม่ถูก บริหารไม่มีประสิทธิภาพ”

ที่ผ่านมา มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ สถาบันผู้ใช้น้ำ และมีตัวเลขการใช้น้ำอยู่บ้าง แต่ก็ทำบัญชีไว้แบบหลวมๆ ตัวเลขแบบหลวมๆ ไม่ปรับตัวเลขเหมือนสมุดบัญชีธนาคารที่ต้องปรับตลอดเวลา เพื่อให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวของตัวเลขในบัญชีตลอดเวลา การปล่อยทิ้งไว้ท่ามกลางการขยายพื้นที่ปลูก ปรับเปลี่ยนพืชที่ปลูก ล้วนมีส่วนทำให้ตัวเลขการใช้น้ำผิดเพี้ยนได้ง่ายมาก เพราะปลูกข้าวความต้องการน้ำก็ปริมาณหนึ่ง พอหันไปปลูกอ้อยก็อีกปริมาณหนึ่ง

นอกจากนั้น ยังต้องกล่าวให้ครอบคลุมถึงแหล่งน้ำต้นทุนแท้จริงด้วย ทุกวันนี้บัญชีแหล่งน้ำต้นทุนดูเหมือนจะมีที่กรมชลประทานแทบจะหน่วยเดียว ทั้งอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง ขาดอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานอื่นหรืออ่างเก็บน้ำขนาดกลางของกรมอื่นเช่น กรมส่งเสริมและพัฒนาพลังงานเป็นต้น ซึ่งไม่ปรากฏทั้งตัวอ่างเก็บน้ำและความจุ ทำให้ข้อมูลตรงนี้ก็ไม่เป็นตัวเลขที่สะท้อนความจริงทั้งหมดอีก

แม้กระทั่งหน่วยงานกำกับดูแลอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อย่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ไม่ว่าเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ และฯลฯ แต่ กฟผ. ก็ไม่มีบัญชีผู้ใช้น้ำเช่นกัน

สิ่งที่น่าจะเป็นประเด็นใหญ่ซ่อนอยู่ ทั้งในส่วนบัญชีผู้ใช้น้ำเกษตรกรรม บัญชีผู้ใช้น้ำอุตสาหกรรม บัญชีผู้ใช้น้ำในครัวเรือนหรือน้ำประปา

น่ายินดีที่หน่วยงานการประปา เปิดตัวเลขฐานข้อมูลผู้ใช้น้ำปัจจุบัน และคาดหมายความต้องการใช้ในอนาคต ดังนั้น จึงเหลือบัญชีผู้ใช้น้ำหลักของภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เป็นสำคัญ

เป็นฐานข้อมูลที่ต้องการความกระจ่างชัด แยกแยะประเภท และติดตามปรับปรุงตัวเลขบัญชีเหล่านี้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้บัญชีข้อมูลผู้ใช้น้ำเป็นบัญชีที่การเคลื่อนไหวสะท้อนความต้องการใช้ที่แท้จริง

อันที่จริง ในภาคการเกษตรในพื้นที่ที่มีกลุ่มผู้ใช้น้ำเข้มแข็ง ข้อมูลการใช้น้ำมีการจัดทำอย่างเป็นระบบพอสมควร หากแต่ยังต้องปรับปรุงทุกระยะ และตามสถานการณ์การเปลี่ยนพืชปลูก อาทิ ภาคตะวันออกที่เคยปลูกยางพารา อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก เมื่อปรับเปลี่ยนมาปลูกทุเรียน ความต้องการน้ำจะเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทันที เช่นเดียวกับการส่งเสริมให้ปลูกพืชฤดูแล้งใช้น้ำน้อยก็ดี หรือปรับจากนาข้าวเป็นไร่อ้อยก็ดี ตัวเลขการใช้น้ำเป็นคนละชุดทีเดียว

ถ้าบัญชีแหล่งน้ำต้นทุนสมบูรณ์ขึ้น บัญชีผู้ใช้น้ำเป็นเรื่องเป็นราวมากขึ้น ภาพของน้ำทั้ง 2 บัญชีจะเด่นชัดและช่วยในการบริหารจัดการน้ำของประเทศได้อย่างดียิ่ง ท่ามกลางปัญหาการเพิ่มแหล่งน้ำต้นทุนที่เริ่มตีบตันเรื่อยๆ  ในทางกลับกัน การใช้น้ำภายใต้ข้อจำกัดนี้จึงต้องมีประสิทธิภาพมากขึ้น

บัญชีน้ำทั้ง 2 บัญชี จึงมีความหมาย และเป็นเป้าหมายที่ สทนช. ต้องการคำตอบ เพื่อเป็นคู่มือบริหารจัดการน้ำของประเทศนั่นเอง

          เพราะโลกปัจจุบัน ไม่ใช่อยู่ที่ใครมีทรัพยากรน้ำมากอย่างเดียว  หากใครรู้จักบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพต่างหาก คือคนที่สามารถเอาตัวรอดและแข่งขันชนะคนอื่น

 

 

 

 

 

 

 

 

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำ…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว จังหวั…