กุมภวาปี ..ต่างแต่ชื่อ แท้จริง.. สายน้ำเดียวกัน

หนองหาน จ.สกลนคร บึงน้ำจืดขนาดใหญ่ของ จ.สกลนคร ได้ชื่อว่า หนองหานหลวง ส่วนหนองหานที่มีสร้อยกุมภวาปี หมายถึงหนองหานที่ อ.กุมภวาปี  เพื่อไม่ให้เรียกซ้ำกับหนองหาน จ.สกลนคร และได้ชื่อเป็นหนองหานน้อยด้วย

ส่วน อ.หนองหานนั้น เป็นหนึ่งในอำเภอของ จ.อุดรธานี และเป็นแหล่งโบราณสถานสำคัญก่อนประวัติศาสตร์ที่โด่งดังไปทั่วโลก และเป็นการย้ำเตือนว่า พื้นที่ประเทศไทยเป็นแหล่งอารยธรรมมาแต่โบราณหลายพันปีก่อนคือ โบราณสถานบ้านเชียง

หนองหานกุมภวาปี ไม่เพียงแต่เป็นบึงน้ำจืดขนาดใหญ่ ความจุ 106 ล้านลูกบาศก์เมตร และเป็นแหล่งปลูกบัวแดงที่เรียก “ทะเลบัวแดง” แหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อของ จ.อุดรธานีเท่านั้น หากยังเป็นต้นน้ำของเขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ เขื่อนใหญ่ที่มีความจุมาก 1,980 ล้านลูกบาศก์เมตร ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ความจุ 2,431 ล้านลูกบาศก์เมตร และอันดับ 3 เป็นเขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี ความจุ 1,968 ล้านลูกบาศก์เมตร

กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน เข้ามาก่อสร้างฝายกุมภวาปีในปี 2539 เพื่อควบคุมน้ำในหนองหานกุมภวาปีให้เป็นแหล่งกักเก็บน้ำ และพัฒนาพื้นที่ชลประทานโดยรอบ ต่อมาในปี 2545 ได้ถ่ายโอนโครงการฝายกุมภวาปีให้กรมชลประทาน  โดยกรมชลประทานได้จัดตั้งโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากุมภวาปี ในปี 2553 โดยมีพื้นที่ชลประทาน 48,950 ไร่

ปัจจุบัน การดำเนินงานของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหานกุมภวาปีประสบปัญหา เนื่องจากความเสื่อมโทรมของฝายกุมภวาปี สถานีสูบน้ำ และคลองส่งน้ำ เนื่องจากใช้งานมานานกว่า 20 ปี ทำให้การจัดการบริหารน้ำไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร นอกจากนั้นยังมีปัญหาน้ำท่วมขังในฤดูฝนเป็นประจำแทบทุกปี ในพื้นที่ประมาณ 10,000 ไร่ และขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ส่งผลกระทบต่อการผลิตและผลผลิตทางการเกษตร และคุณภาพชีวิตของเกษตรกร

กรมชลประทาน จึงได้ดำเนินการปรับปรุงโครงการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยปรับปรุงระบบส่งน้ำ ประกอบด้วยคลองส่งน้ำและอาคารควบคุมน้ำในคลองส่งน้ำ ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ

โดยวางแนวทางการปรับปรุง ด้วยการเพิ่มปริมาณน้ำกักเก็บในหนองหานกุมภวาปี การปรับปรุงระบบส่งน้ำ

จากฝายกุมภวาปี ซึ่งเป็นฝายสำคัญอยู่ใต้สุดของหนองหานกุมภวาปี  ลำน้ำที่ผ่านออกจากหนองหานฯ ผ่านฝายกุมภวาปี จะเรียก ลำน้ำปาว ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ นั่นเอง

ลำน้ำปาวจะไหลจาก อ.กุมภวาปี ไปยัง อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี ก่อนไหลเข้าพื้นที่ อ.เมือง  จ.กาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเขื่อนลำปาว และปลายทางของลำน้ำปาวจะเป็นแม่น้ำชีที่ อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่ จ .อุบลราชธานี

บริเวณบ้านกุดนาค้อ ต.ตาดทอง อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี นี้เอง กรมชลประทานได้ก่อสร้างฝายกุดนาค้อกั้นลำน้ำปาว  ซึ่งเพิ่งก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2560 ที่ผ่านมานี้เอง

ทั้งนี้ กรมชลประทานมีแผนงานส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตรสองฝั่งลำปาวประมาณ 11,000 ไร่ โดยติดตั้งสถานีสูบน้ำ 3 แห่ง ส่งไปตามคลองสู่พื้นที่เกษตรกรรม

จากต้นน้ำหนองหานกุมภวาปีสู่ปลายน้ำอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว  มีการใช้ประโยชน์จากน้ำลำปาวอย่างมากมาย ตั้งแต่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาหนองหานกุมภวาปี  ฝายบ้านกุดนาค้อ กระทั่งอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์

จะเห็นได้ว่า จากต้นทางหนองหานกุมภวาปีจนถึงเขื่อนลำปาว ได้รับการพัฒนาอย่างมีประโยชน์สูงสุด บริเวณหนองหานกุมวาปี มีการพัฒนาพื้นที่ชลประทาน 49,850 ไร่ ล่างลงมา บริเวณบ้านกุดนาค้อก็ก่อสร้างฝายและกำลังวางแผนสร้างระบบชลประทานเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้อีก 11,000 ไร่ ลำน้ำปาวไหลลง จ.กาฬสินธุ์ แล้วก่อสร้างเขื่อนลำปาว ความจุ 1,980 ล้านลูกบาศก์เมตร ก็สร้างคุณูปการใหญ่หลวงแก่เกษตรกรและราษฎรในลุ่มน้ำปาวจำนวนหลายแสนไร่

เป็นทั้งหนองหานกุมภวาปี เป็นทั้งฝายกุดนาค้อ เป็นทั้งเขื่อนลำปาว  เป็นความยิ่งใหญ่ของสายน้ำที่พัฒนาหลากหลายรูปแบบ และสร้างคุณประโยชน์มากมายมหาศาลอย่างที่คาดไม่ถึง

 

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำ…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว จังหวั…