สัมผัสอารยะธรรมแห่งสายน้ำ ล่องเรือลัดเลาะลำน้ำดำเนินสะดวก


           ...โอ้ ดำ เนิน
            เธอสวยเหลือเกิน
            สวยน้อย เมื่อไหร่
            พี่นี้รัก ปักใจ

           ถึงแม้ ชีพวาย ไม่ลืม ดำเนิน
          ไม่ลืม ไม่ลืม ไม่ลืม
           ไม่ลืม ไม่ลืม ไม่ลืม
           ไม่ลืม ไม่ลืม ไม่ลืม
           ไม่ลืม ไม่ลืม ไม่ลืม
           ไม่ลืม ไม่ลืม ดำเนิน...

       บทเพลงอมตะท่อนจบ จากการรังสรรของครูสุรพล สมบัติเจริญ ทำให้ "ดำเนินสะดวก" เป็นที่รู้จักของคนไทยโดยเฉพาะตลาดน้ำคลองดำเนินสะดวก

       จากคลองขุดที่ใช้กำลังคนล้วนๆ เริ่มขุดในปี พ.ศ. 2409 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2411 มีความยาวกว่า 32 กิโลเมตร ผ่านพื้นที่ 3 จังหวัด คือ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และราชบุรี เชื่อมแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำแม่กลอง ข้าราชการ ชาวบ้าน และชาวจีนร่วมกันขุด ใช้วิธีขุดระยะหนึ่งแล้วเว้นไว้ระยะหนึ่ง ให้น้ำเซาะดินที่ไม่ได้ขุดพังไปเอง แบ่งขุดระยะเว้นระยะ ระยะหนึ่งยาว 100 เส้น (4 กิโลเมตร) พอน้ำหลากน้ำก็จะกัดเซาะดินส่วนที่ไม่ได้ขุดให้พังไปเอง เมื่อขุดคลองสำเร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งทรงเห็นว่าเป็นคลองที่มีเส้นตรง ได้รับความสะดวกในการสัญจร จึงพระราชทานนามคลองที่ขุดใหม่นี้ว่า “คลองดำเนินสะดวก”
       นับแต่นั้นมาคลองดำเนินสะดวกเป็นเส้นทางหลักที่สำคัญที่สุดของชาวบ้าน มีคลองซอย มากกว่า 200 สาย ลำคลองต่างๆแทบจะไม่เคยว่างเว้นจากเรือที่สัญจรไปมาอย่างไม่ขาดสาย กระทั่งระยะหลังมีการตัดถนนใหม่ๆ มากมาย ย่นระยะทางให้สั้นลงและเข้าถึงทุกที่ ชาวบ้านจึงหันมาใช้ถนนแทน


       การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวคูคลอง เพื่อสร้างมูลค่าให้กับท้องถิ่น พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบปรับปรุงคลองดำเนินสะดวกให้มีความพร้อมเพื่อรองรับท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ พร้อมมอบหมายให้กรมชลประทานดำเนินการสำรวจเส้นทางคลองดำเนินสะดวกและคลองอัมพวา เพื่อคัดเลือกพื้นที่สำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชีวิตชุมชนและการเกษตร โดยให้การท่องเที่ยวเป็นเสมือนเครื่องมือหนึ่งในการกระจายรายได้ให้กับคนในชุมชนและท้องถิ่น

       รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่า แนวคิดของนายกรัฐมนตรีซึ่งได้ไปดูงานต่างประเทศ ณ เมืองอาเมียง ประเทศฝรั่งเศส ที่เป็นเมืองเก่า มีประชากร 177,000 คน มีพื้นที่ 1,873 ไร่ พื้นที่คลองล้อมรอบ ยาว 65 กิโลเมตร จึงมีพื้นที่การท่องเที่ยวทางน้ำ โดยเรือที่ใช้สัญจรเป็นเรือขนาดเล็ก ไม่เกิดมลภาวะ มีความเงียบ และไม่เกิดคลื่นกัดเซาะฝั่ง จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาศักยภาพของคลองในประเทศไทยให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำเชิงเกษตรที่สะท้อนวิถีชีวิต สร้างรายได้ให้กับชุมชน เนื่องจากประเทศไทยมีคลองหลายสาย มีพื้นที่การเกษตรแบบผสมผสาน และประชาชนยังคงมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบดั้งเดิมอยู่แล้ว แต่อาจขาดการบริหารจัดการที่ดี นายกรัฐมนตรีจึงได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจคลองที่มีความเหมาะสมที่จะพัฒนา โดยให้สำรวจคลองที่เส้นทางมีเรื่องราว มีพื้นที่การเกษตร การสัญจรทางน้ำไม่พลุกพล่าน สามารถรักษาระดับน้ำในลำคลองให้สม่ำเสมอ ชุมชนมีวิถีชีวิตดั้งเดิม มีที่จอดแวะพักรับประทานอาหาร ซื้อผลผลิตทางการเกษตร และมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น ถนน ที่จอดรถ ความปลอดภัย ซึ่งประชาชนในพื้นที่ต้องมีเป้าหมายเดียวกันในการร่วมพัฒนาชุมชน เพื่อให้การท่องเที่ยวสร้างรายได้ และสร้างประโยชน์ให้กับคนในชุมชนอย่างแท้จริง

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…