แม่สาย ไม่สายเกินแก้

แม่น้ำสาย ว่าที่จริงเป็นแม่น้ำสัญชาติพม่า เพราะถิ่นกำเนิดอยู่ฝั่งพม่าไหลลงมาเป็นเส้นกั้นพรมแดนพม่า-ไทยที่อยู่.ท่าขี้เหล็ก ฝั่งพม่า กับอ.แม่สาย จ.เชียงราย

เพราะเป็นแม่น้ำระหว่างประเทศ จะทำอะไรต้องได้รับฉันทานุมัติจาก2ฝั่ง

เกษตรกรแม่สาย ต้องกินต้องใช้ทุกวัน ฤดูฝนแม่น้ำสายก็ไหลเข้าคลองส่งน้ำ3 สาย RMC1 RMC2 และRMC3

RMC แปลเป็นไทยว่า คลองส่งน้ำสายหลักฝั่งขวา ย่อจากภาษาอังกฤษว่า Right Main Canal (ขวาหรือซ้ายให้เอาทิศทางไหลของกระแสน้ำเป็นสำคัญ)เลขกำกับ หมายถึงสายที่1 2 3 ตามลำดับ

จำเดิม เป็นโครงการรับน้ำนอง ช่วงน้ำสายหลากนองจะไหลเท้อเข้าแผ่นดินผ่นทางคลอง 3 เส้นนั่นแหละ

แต่พอฤดูแล้ง น้ำสายลดระดับ ไหลเข้าคลอง3 สายได้น้อยลง โดยเฉพาะคลองRMC3 ที่ระดับสูงกว่าระดับน้ำสาย เกษตรกรจึงเดือดร้อน ไม่มีน้ำทำกินหน้าแล้ง

ที่ผ่านมา ราษฎรจึงคิดทำฝายกั้นลำน้ำสายเพือทดน้ำเข้าคลองทั้ง 3 ประกอบด้วยฝายเหมืองแดง ฝายเวียงหอมและฝายเหมืองงามตามลำดับ แต่เพราะเป็นแม่น้ำระหว่างชาติ ราษฎรไทยสร้าง ทหารพม่ารื้อ ต้องเจรจาไกล่เกลี่ยกัน ตกลงว่า อนุญาตให้ราษฎรสร้างได้แต่เป็นฝายไม้ไผ่ พอฤดูน้ำหลากให้รื้อออกเสีย

 มันก็ดีกว่าไม่ได้ แต่ไม่ดีตรงราษฎรต้องเสียเงินสร้างแล้วรื้อทิ้งทุกปี เสียทั้งเงินสร้าง เสียทั้งเวลาสร้างและรื้อ

ทางการไทยเจรจาอยู่กับพม่า ขอก่อสร้างเป็นฝายยางพับได้ คลี่ขึ้นใช้งานเป็นฝายในฤดูแล้ง พอเข้าฤดูน้ำหลากก็เก็บพับไว้ใต้น้ำเสีย ดีกว่าเสียเงินทุกปี แต่เรื่องนี้ยังไม่มีข้อสรุป

 เพื่อแก้ปัญหาให้เกษตรกรไปพลางๆก่อน กรมชลประทานจึงจัดทำโครงการปรับปรุงระบบส่งน้ำคลองRMC2และRMC3 เพื่อทดน้ำไปช่วยพื้นที่คลองส่งน้ำRMC3 หรือฝายเหมืองงามซึ่งไม่มีน้ำเลย โดยปรับปรุงปตร.เดิมในคลองRMC2 แล้วขุดคลองลึกจากท้องคลองเดิมอีกราว 1 เมตรเป็นระยะทางยาว 900 เมตรไปจนถึงอาคารแบ่งน้ำ ซึ่งจะแบ่งน้ำ 5 ลูกบาศก์เมตร/วินาทีไปยังคลองส่งน้ำRMC3ผ่านคลองขุดระยะทาง 100 เมตร ส่วนน้ำอีก4 ลูกบาศก์เมตร/วินาทียังคงส่งไปยังปลายคลองRMC3 เท่าเดิม

   เท่านี้ก็ช่วยแก้ปัญหาชีวิตให้เกษตรกรทั้ง 2 คลองในช่วงฤดูแล้งประมาณ 10,000 ไร่เศษ

นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่าโครงการนี้ได้รับการบรรจุเป็นโครงการไทยนิยมยั่งยืนในปี2561 นี้ เพราะมีความพร้อมทั้งแบบโครงการที่มีแล้ว ทั้งความต้องการของเกษตรกร อีกทั้งยังมีการจ้างงานอีกด้วย

นอกจากนั้น ยังเป็นการสนองพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่เสด็จฯมาติดตามผลการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรผลิตพันธุ์ข้าวพระราชทาน”เพื่อนช่วยเพื่อน” ต.เกาะช้าง อ.แม่สาย โดยให้กรมชลประทาน สำนักงานกปร.และหน่วยงานเกี่ยวข้องพิจารณาจัดหาน้ำให้เกษตรกรในพื้นที่

จะเป็นไทยนิยม ยั่งยืน หรือไม่ ก็ล้วนเกิดประโยชน์แก่เกษตรกรลุ่มน้ำสายทั้งสิ้น แม้จะชื่อน้ำสาย แต่ก็ไม่สายที่จะแก้ไขนำพาความสุขกลับมาให้เกษตรกรไทย

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำ…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว จังหวั…