อาลีบาบาจีบสหกรณ์ผลไม้ภาคตะวันออก

อาลีบาบาส่งทีมจัดซื้อเจรจาธุรกิจซื้อขายทุเรียนกับสหกรณ์ใน 3 จังหวัด ระยอง จันทบุรีและตราด อีก 2 สัปดาห์ จะบินจากจีนมาลงพื้นที่บุกสวนผลไม้เพื่อดูกระบวนการผลิตทุเรียนคุณภาพตามมาตรฐาน GAP ไปจนถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยว รวบรวมการผลิตและขนส่งจำหน่ายสู่ตลาด


นายเชิดชัย พรหมแก้ว รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในช่วงที่นายแจ๊ค หม่า ผู้บริหาร Alibaba Group เดินทางมาเยือนประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการค้าสินค้าเกษตรไทยไปประจีน มีความสนใจจะสั่งซื้อทุเรียนไทยส่งไปขายผ่านออนไลน์ในประเทศจีน จึงได้ให้บริษัท Shanghai Win Chin Supply Management ซึ่งเป็นบริษัทจัดซื้อในเครือของอาลีบาบาเจรจาการค้ากับตัวแทนสหกรณ์ 3 แห่ง ในภาคตะวันออก ได้แก่ สหกรณ์นิคมชุมแสงจันทร์ จำกัด จังหวัดระยอง สหกรณ์การเกษตรมะขาม จำกัด จังหวัดจันทบุรี และสหกรณ์การเกษตรเขาสมิง จำกัด จังหวัดตราด โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานเพื่อให้เกิดการพบปะพูดคุยระหว่างกัน ซึ่งทางตัวแทนของอาลีบาบาได้แสวงหาความร่วมมือในการทำธุรกิจซื้อขายทุเรียนกับสหกรณ์โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง และคาดหวังที่จะได้ผลไม้ที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน ซึ่งทางฝ่ายไทยได้ยืนยันว่าขณะนี้สหกรณ์ชาวสวนผลไม้ได้ส่งเสริมให้สมาชิกปลูกทุเรียนและผลไม้ตามฤดูกาลโดยยึดตามมาตรฐาน GAP ตั้งแต่ในสวน การเก็บเกี่ยวไปจนถึงการ   คัดคุณภาพก่อนส่งจำหน่ายให้กับคู่ค้า
ฤดูกาลผลิตปี 2561 สหกรณ์ในภาคตะวันออกได้วางแผนในการรวบรวมทุเรียนจากสมาชิกประมาณ 5,170 ตัน มูลค่า 309.49      ล้านบาท แบ่งเป็นทุเรียนสด 4,670 ตัน มูลค่า 219.490 ล้านบาท และทุเรียนแช่แข็ง 500 ตัน มูลค่า 90 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ทางสหกรณ์ได้จัดทำแผนการจำหน่ายผลผลิตล่วงหน้าไว้หมดแล้ว แต่ก็อาจจะมีสหกรณ์บางแห่งในจังหวัดตราดกับระยอง ที่พอจะมีผลผลิตทุเรียนส่งขายให้ทางบริษัทและพร้อมพูดคุยที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจกับทางอาลีบาบาได้ทันฤดูกาลปีนี้ ในส่วนสหกรณ์ในจังหวัดจันทบุรี จะเริ่มการค้าได้ภายในฤดูกาลผลิตปี 2562 โดยทางบริษัทฯ แจ้งว่ามีความต้องซื้อทุเรียนระยะเวลา 3 ปี ประมาณ 3,000 ล้านหยวน ซึ่งในช่วงเริ่มต้น สหกรณ์อาจมีผลผลิตส่งขายให้ทางบริษัทฯ ได้ไม่มากนัก แต่ไม่ได้ห่วงเรื่องปริมาณ แต่จะเน้นเรื่องคุณภาพของทุเรียนเป็นอันดับแรก


“ปีนี้อาจจะเป็นการทดลองเรื่องระบบการเจรจาซื้อขายและการขนส่งทุเรียนในภาคตะวันออกจะออกผลผลิตมากในเดือนพฤษภาคม ซึ่งสหกรณ์สามารถผลิตทุเรียนคุณภาพได้ไม่เกิน 5 พันตันต่อฤดูกาล และแนวโน้มราคาจำหน่ายในปีนี้สูงขึ้นกว่าปีที่ผ่าน ๆ มาเนื่องจากคาดว่าผลผลิตจะออกมาไม่มาก ซึ่งการผลิตทุเรียนคุณภาพต้นทุนต่อไร่ค่อนข้างสูง แต่คุณภาพเนื้อทุเรียนจะมีความอร่อย ซึ่งต้องอาศัยการดูแลอย่างดีและต้องได้มาตรฐาน และหากคู่ค้ายังไม่สามารถวางแผนการตลาดได้ชัดเจน เราก็ไม่กล้าแนะนำให้เกษตรกรลงทุนขยายพื้นที่ปลูกทุเรียนเพิ่ม เผื่อราคาไม่ได้ตามที่คาดหวังไว้มันจะไม่คุ้มทุน แต่ถ้าอาลีบาบาต้องการทุเรียนคุณภาพดีและมีตลาดที่ชัดเจน พร้อมที่จะซื้อของดีมีคุณภาพในราคาที่สูงกว่าทุเรียนทั่ว ๆ ไป สหกรณ์ก็สามารถส่งเสริมให้สมาชิกขยายพื้นที่ปลูกทุเรียนคุณภาพเพื่อรองรับตลาดที่เปิดกว้างขึ้นได้ ซึ่งกรมฯ พร้อมจะผลักดันให้สหกรณ์ทำการค้าร่วมกับบริษัทอาลีบาบา กรุ๊ป และการสนับสนุนเพื่อให้เกิดความร่วมมือทางการค้าตามนโยบายการตลาดนำการผลิต ซึ่งขณะนี้ทั้งสองฝ่ายต้องพูดคุยเพื่อให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับเงื่อนไขในการสั่งซื้อทุเรียนและการกำหนดราคา ก่อนจะมีการลงนามในข้อตกลงของอาลีบาบากับผู้แทนของสหกรณ์ต่อไป”

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ …

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลเดินหน้าปรับปรุงแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย

กรมชลฯ ขับเคลื่อนโครงการศึกษาความเหมาะสมปรับปรุงระบบชลประทานแม่กลองใหญ่ฝั่งซ้าย 8 โครงการ พื้นที่กว่…

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…