ปฏิรูประบบลุ่มน้ำ กรอบชัดเจนของ 22 ลุ่มน้ำหลักใหม่

คณะกรรมการอุทกวิทยาแห่งชาติ แบ่งพื้นที่ลุ่มน้ำเป็น 25 ลุ่มน้ำหลัก ตั้งแต่ปี 2536 ต่อมาในปี 2550 แม้กรมทรัพยากรน้ำทบทวนและจัดทำมาตรฐานลุ่มน้ำใหม่ แต่ไม่มีผลในทางกฎหมายแต่อย่างใด

               แน่นอน มันส่งผลให้เกิดปัญหาเชิงบริหารจัดการที่ขาดเอกภาพ ไม่ต่อเนื่อง  เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะในยามวิกฤติ

               แต่ พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 บัญญัติให้กำหนดลุ่มน้ำเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการน้ำ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) จึงร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศึกษาทบทวนการแบ่งพื้นที่ลุ่มน้ำใหม่ ผลการศึกษาสรุปให้ปรับปรุง 25 ลุ่มน้ำเดิมเหลือ 22 ลุ่มน้ำ ประกอบด้วย

               ลุ่มน้ำสาละวิน ลุ่มน้ำโขงเหนือ ลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ ลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำมูล ลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำวัง ลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำน่าน ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำสะแกกรัง ลุ่มน้ำป่าสัก ลุ่มน้ำท่าจีน ลุ่มน้ำแม่กลอง ลุ่มน้ำบางปะกง ลุ่มน้ำโตนเลสาบ ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก ลุ่มน้ำชายฝั่งอ่าวไทยตะวันตก ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน  ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ลุ่มน้ำภาคใต้ตะวันออกตอนล่าง และลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก

               จาก 25 ลุ่มน้ำหลักเดิม เหลือ 22 ลุ่มน้ำหลักใหม่ แล้วหายไปไหน 3 ลุ่มน้ำ

               อันที่จริง ไม่หายไปไหน แต่เมื่อจัดระบบใหม่ มีการควบรวมบ้าง ดังกรณีลุ่มน้ำเพชรบุรีกับลุ่มน้ำประจวบคีรีขันธ์ก็กลายเป็นลุ่มน้ำเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ หรือลุ่มน้ำปราจีนบุรีก็รวมกับลุ่มน้ำบางปะกง เป็นลุ่มน้ำบางปะกง เพราะเป็นสายน้ำเดียวกัน ต่างกันตรงเป็นพื้นที่ต้นน้ำกับปลายน้ำ  และลุ่มน้ำโขง (เหนือ) กับลุ่มน้ำกกก็ผนวกเป็นลุ่มน้ำโขงเหนือ

               การตั้งชื่อลุ่มน้ำก็ผ่านความเห็นจากประชาคมในท้องถิ่นเช่นกัน ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่จะตั้งเป็นชื่ออื่น แต่ประชาชนขอให้คงชื่อนี้ไว้เป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่น หรือเดิมคิดจะรวมลุ่มน้ำท่าจีนเข้ากับลุ่มน้ำเจ้าพระยา แต่ท่าจีนมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน จึงขอยกเว้นเป็นเอกเทศตามเดิม

               ทำไมต้องทบทวนปรับการจัดแบ่งขอบเขตลุ่มน้ำหลักใหม่?

               “จริง ๆ ก็เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำหลักเดิม 25 ลุ่มน้ำนั่นแหละ ของเดิมอาจกำหนดตามลักษณะทางกายภาพอย่างเดียว แต่ของใหม่เราคำนึงถึงสภาพอุทกวิทยา สภาพภูมิศาสตร์ ระบบนิเวศ การตั้งถิ่นฐาน การจัดผังเมือง ผังน้ำ และเขตการปกครองประกอบกันด้วย นอกเหนือจากลักษณะทางกายภาพ” ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการ สทนช. กล่าวถึงที่มาที่ไป

               อีกอย่างคือการบริหารจัดการน้ำจะมีความยืดหยุ่น และคล่องตัว สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์น้ำที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

               “อีกทั้งเพื่อให้คณะกรรมการลุ่มน้ำ สามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างเป็นเอกภาพ และมีประสิทธิภาพ ทันต่อสถานการณ์” เป็นการมองขาดถึงอนาคตที่จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการลุ่มน้ำตามมา

               “ส่วนหนึ่งเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่า และความละเอียดของข้อมูล สามารถนำมาใช้วิเคราะห์การแบ่งลุ่มน้ำได้มากขึ้นกว่าในอดีต  เช่นแผนที่ชั้นความสูงมาตราส่วน 1:4,000 ละเอียดกว่าของเดิมที่ใช้มาตราส่วน 1:50,000 หรือกระทั่งวัฒนธรรม องค์กร ที่คล้ายกันหรือต่างกันในการจัดลุ่มน้ำร่วมกันหรือต่างลุ่มน้ำกัน” เลขาธิการ สทนช. กล่าว

               พร้อมทั้งย้ำว่า ใช้หลายปัจจัยมากในการจัดทำลุ่มน้ำหลักใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ปกครองที่เป็นหน่วยเล็กที่สุดที่เส้นแบ่งขอบเขตระดับตำบลนั้น มักมีปัญหาหลายๆ ตำบลมีพื้นที่เล็ก ๆ ไปอยู่ในอีกลุ่มน้ำหลักที่อยู่ใกล้เคียงกัน  ทั้งที่ควรอยู่ในลุ่มน้ำหลักฝั่งใดฝั่งหนึ่งตามสภาพเป็นจริง

               “เพื่อให้การควบคุมดูแล โครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือที่วางแผนพัฒนาในอนาคตเป็นไปทั่วถึง ไม่ตกหล่นขาดหายอันเนื่องจากเป็นพื้นที่ส่วนน้อยของตำบล สทนช. จึงกำหนดพื้นที่ดูแลของคณะกรรมการลุ่มน้ำหลัก โดยกำหนดให้ตำบลใดตำบลหนึ่งที่มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในลุ่มน้ำหลักไหน ก็ให้ลุ่มน้ำหลักนั้นดูแลพื้นที่นั้นทั้งตำบล”

               เป็นการดูแลอย่างทั่วถึง ไม่มีตกหล่นจากแผนที่ลุ่มน้ำ ประชาชนเองอุ่นใจได้ว่าได้รับการดูแลเรื่องน้ำจากรัฐอย่างทั่วถึง

               เป็นบทบาทใหม่ของหน่วยงานกลางเรื่องน้ำอย่างสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ที่ “ทุกเรื่องต้องมีคำตอบ”

แสดงความคิดเห็น

บทความล่าสุด

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,16…

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หว…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำ…

บทความแนะนำ

VIEW ALL

กรมชลทุ่มงบ1.16พันล้านผุดอ่างห้วยคะนานแก้น้ำแล้งหนองบัวลำภู

กรมชลฯ มุ่งเดินหน้าพัฒนาแหล่งน้ำ ลุยปัจฉิมนิเทศโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยคะนาน ใช้งบลงทุน 1,160 ล้านบาท …

กรมชลชู 10 แผนแก้น้ำแล้งจ.หนองคาย

กรมชลฯ ได้ข้อสรุปปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง จ.หนองคาย ชู 10 กิจกรรม หวังเพิ่มประ…

กรมชลเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพอ่างลำปาวเพิ่มรายได้เกษตรกร

กรมชลประทานประชุมปัจฉิมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว จังหวั…